Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/66990
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorดำรงค์ ทวีแสงสกุลไทย-
dc.contributor.authorยุทธพงษ์ ชูประเสริฐ-
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิศวกรรมศาสตร์-
dc.date.accessioned2020-07-13T02:09:28Z-
dc.date.available2020-07-13T02:09:28Z-
dc.date.issued2548-
dc.identifier.isbn9741744366-
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/66990-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (วศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2548en_US
dc.description.abstractอุตสาหกรรมอาหารเป็นอุตสาหกรรมหนึ่งที่สำคัญและมีการเจริญเติบโตอย่างต่อเนื่องของประเทศจึงจำเป็นต้องมีการพัฒนาด้านคุณภาพของสินค้าและการลดต้นทุนเพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขัน ดังนั้นการปรับปรุงคุณภาพกระป๋องโลหะซึ่งเป็นบรรจุภัณฑ์ที่สำคัญของอุตสาหกรรมนี้เพื่อให้ได้สินค้าตรงตามความต้องการของลูกค้า จึงเป็นสิ่งจำเป็นโดยมีจำนวนของเสียที่เกิดขึ้นจากกระบวนการผลิตและข้อร้องเรียนจากลูกค้าเป็นตัวชี้วัดที่สำคัญที่บอกถึงขีดความสามารถของบริษัท ดังนั้นวัตถุประสงค์ของวิทยานิพนธ์ฉบับนี้จึงมุ่งทำการวิเคราะห์และลดของเสียโดยเริ่มจากการศึกษากระบวนการผลิตของโรงงานตัวอย่าง และค้นหาสาเหตุของปัญหาของกระบวนการผลิต ด้วยการใช้การระดมสมองและการใช้แผนแสดงเหตุและผล หลังจากนั้นทำการวิเคราะห์ปัญหาด้วยวิธีการ FMEA พบว่าของเสียที่เกิดขึ้นจากกระบวนการผลิตและข้อร้องเรียนจากลูกค้าส่วนใหญ่เกิดจากกระบวนการตัดแผ่นเหล็ก, การเชื่อม, การทำตะเข็บและวัตถุดิบที่ไม่ได้มาตรฐาน หลังจากนั้นมีการประเมินค่าความรุนแรง ค่าโอกาสการเกิดข้อบกพร่องและค่าโอกาสการตรวจพบข้อบกพร่องในกระบวนการผลิต เพื่อคำนวณหาค่าดัชนีความเสี่ยงชี้นำ(RPN) ซึ่งเป็นค่าที่บอกถึงความเสี่ยงที่จะเกิดข้อบกพร่องขึ้น โดยวิทยานิพนธ์ฉบับนี้จะทำการแก้ไขลักษณะข้อบกพร่องที่มีค่า RPN มากกว่า 100 คะแนน ซึ่งมีความเสี่ยงที่จะเกิดข้อบกพร่องสูงและข้อบกพร่องที่มีค่าความรุนแรงของปัญหา (Severity) ตั้งแต่ระดับ 7 ขึ้นไปเนื่องจากเป็นข้อบกพร่องที่ส่งผลกระทบโดยตรงต่อความปลอดภัยของอาหารที่บรรจุอยู่ภายในโดยการจัดทำวิธีป้องกันและปรับปรุงวิธีการตรวจสอบลักษณะข้อบกพร่องที่พบเพื่อลดจำนวนของเสียในกระบวนการผลิตให้น้อยลง จากการปรับปรุงและลดข้อบกพร่องตามขั้นตอนการวิจัย พบว่า 1.จำนวนชิ้นงานเสียเทียบกับยอดการผลิตลดลงจาก 3423 ชิ้นต่อล้านหน่วยเหลือ1450 ชิ้นต่อล้านหน่วย (PPM) 2.จำนวนข้อร้องเรียนจากลูกค้า ลดลงจากเฉลี่ยเดือนละ 11 เรื่องเหลือเดือนละ 7 เรื่อง 3.ค่าดัชนีความเสี่ยงชี้นำ (RPN) ลดลง 33 ถึง 76 เปอร์เซ็นต์ จากค่า RPNของกระบวนการผลิตก่อนการแก้ไข-
dc.description.abstractalternativeFood industry is one of the most important sector with rapid continuous growth in Thailand's industries and due to competitiveness, improvement for quality of product and cost reduction are required . The important packaging of food products, metal cans should be improved to meet the customer requirement. Defectives can be one of the indicators which reflects the ability and performance. This research is to study the processes and defectives by the use of Cause and Effect Diagram and Failure Mode and Effects Analysist (FMEA) . It is revealed that most of defectives occur for metal can in slitting, welding seaming processes and raw material . From the analysis and evaluation of quality severity, occurrence and detection the Risk Priority Number (RPN) which helps to specify risk of defectives are calculated. The meaning of high RPN is the risk of high defect occurrence . The research improves defectives which have RPN higher than 100 and have severity number higher than 7 which affects to the food safety of inner product. By setting corrective action and revised method of sampling of each defect for defectives reduction. The results of the improvement operation are 1.Reduce the scrap of product from 3423 PPM to 1450 PPM, 2.Reduce average complaint rate from 11 to 7 issues per month, 3. Reduction the RPN by reduced 33 to 76 percents form previous RPN.-
dc.language.isothen_US
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.subjectการควบคุมการผลิตen_US
dc.subjectการควบคุมกระบวนการผลิตen_US
dc.subjectอุตสาหกรรมภาชนะบรรจุอาหารen_US
dc.subjectProduction controlen_US
dc.subjectProcess controlen_US
dc.subjectFood container industryen_US
dc.titleการปรับปรุงคุณภาพการผลิตกระป๋องen_US
dc.title.alternativeQuality improvement for can manufacturingen_US
dc.typeThesisen_US
dc.degree.nameวิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิตen_US
dc.degree.levelปริญญาโทen_US
dc.degree.disciplineวิศวกรรมอุตสาหการen_US
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.email.advisorDamrong.T@chula.ac.th-
Appears in Collections:Eng - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Yuttapong_ch_front_p.pdfหน้าปก และบทคัดย่อ888.22 kBAdobe PDFView/Open
Yuttapong_ch_ch1_p.pdfบทที่ 1996.72 kBAdobe PDFView/Open
Yuttapong_ch_ch2_p.pdfบทที่ 22.58 MBAdobe PDFView/Open
Yuttapong_ch_ch3_p.pdfบทที่ 32.24 MBAdobe PDFView/Open
Yuttapong_ch_ch4_p.pdfบทที่ 41.31 MBAdobe PDFView/Open
Yuttapong_ch_ch5_p.pdfบทที่ 5909.8 kBAdobe PDFView/Open
Yuttapong_ch_ch6_p.pdfบทที่ 6791.86 kBAdobe PDFView/Open
Yuttapong_ch_back_p.pdfบรรณานุกรม และภาคผนวก4.07 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.