Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/6705
Full metadata record
DC Field | Value | Language |
---|---|---|
dc.contributor.advisor | อุบลวรรณ เปรมศรีรัตน์ | - |
dc.contributor.author | นันทพร เจริญวนิชชากร | - |
dc.contributor.other | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะนิเทศศาสตร์ | - |
dc.date.accessioned | 2008-04-25T03:59:18Z | - |
dc.date.available | 2008-04-25T03:59:18Z | - |
dc.date.issued | 2548 | - |
dc.identifier.isbn | 9741438168 | - |
dc.identifier.uri | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/6705 | - |
dc.description | วิทยานิพนธ์ (นศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2548 | en |
dc.description.abstract | ศึกษารูปแบบการสื่อสารของครูที่นำไปใช้ในการสื่อสารแก่เยาวชน และศึกษาประสิทธิผลของการสื่อสารของครูที่ได้รับการอบรมหลักสูตร "ทักษะชีวิตสำหรับเยาวชน" จากวิทยากร สามารถนำความรู้ทีได้รับจากการอบรมไปสอนนักเรียนได้ การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ ดำเนินการเก็บข้อมูลด้วยการวิเคราะห์เอกสาร การสังเกตแบบมีส่วนร่วม การสัมภาษณ์เจาะลึกประธานโครงการ วิทยากรของโครงการ และครูที่ผ่านการอบรมจากวิทยากร และการจัดกลุ่มสนทนานักเรียน ผลการวิจัยพบว่า 1. รูปแบบการสื่อสารของครูที่นำไปใช้ในการสื่อสารแก่เยาวชน พบว่า มีทิศทางการสื่อสารสองทาง ลักษณะการสื่อสารมีทั้งที่เป็นทางการและไม่เป็นทางการ สัญลักษณ์ที่ใช้ในการสื่อสารมีทั้งเชิงวัจนภาษาและเชิงอวัจนภาษา มีทิศทางการไหลของข่าวสารจากบนลงล่าง จากล่างขึ้นบนและในแนวราบ ประเภทของสื่อที่ใช้คือ 1. การใช้สื่อบุคคลในการเผยแพร่ความรู้ให้คำปรึกษาแนะนำ และให้ข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับหลักสูตรทักษะชีวิตสำหรับเยาวชน ได้แก่ ครู ผู้บริหารโรงเรียนและเจ้าหน้าที่ตำรวจ 2. การใช้สื่อเฉพาะกิจในการเผยแพร่ความรู้ และให้ข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับหลักสูตรทักษะชีวิตสำหรับเยาวชน ได้แก่ โปสเตอร์ ใบงาน เสียงตามสายและวิซีดี 3. การใช้สื่อกิจกรรม ได้แก่ กิจกรรมในชั่วโมงเรียน เพื่อให้นักเรียนทุกคนได้ปฏิบัติร่วมกัน ฝึกทักษะให้นักเรียนมีความสามัคคี กลมเกลียว ช่วยเหลือซึ่งกันและกัน กล้าแสดงความคิดเห็นและกล้าแสดงออก 4. การใช้สื่ออินเตอร์เนต เป็นสื่อที่ให้นักเรียนใช้ค้นคว้าหาข้อมูลต่างๆ ซึ่งเป็นสื่อการเรียนรู้ที่นอกเหนือจากการเรียนในห้องเรียน 2. ประสิทธิผลของการสื่อสารของครูที่ได้รับการอบรมหลักสูตร "ทักษะชีวิตสำหรับเยาวชน" จากวิทยากร สามารถนำความรู้ที่ได้รับจากการอบรมไปสอนนักเรียนได้ พบว่า ครูที่สามารถนำความรู้ที่ได้จากการอบรมแล้วนำไปสอนแก่นักเรียนได้อย่างเต็มที่ จะเป็นครูที่สอนวิชาแนะแนวและครูที่สอนวิชาโฮมรูม นักเรียนได้รับการสอนจากหลักสูตร "ทักษะชีวิตสำหรับเยาวชน" ด้วยครูที่ได้รับการอบรมสามารถนำความรู้จากครูไปประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวัน ทำให้นักเรียนมีพฤติกรรมที่เปลี่ยนแปลงไปในทางที่ดีขึ้น ลักษณะของครูที่นักเรียนชอบจะมีผลต่อพฤติกรรมของนักเรียน ครูจึงเป็นผู้มีอิทธิพลต่อความคิดและพฤติกรรมของนักเรียน ลักษณะของครูที่จะสอนหลักสูตรทักษะชีวิตสำหรับเยาวชนได้ประสิทธิผลสูงสุดนั้น จะต้องเป็นครูที่นักเรียนชอบ ครูที่รัก ห่วงใย สนใจในชีวิตของนักเรียน | en |
dc.description.abstractalternative | To study the communication pattem of teachers in their communicating with adolescence and to study the communication effectiveness of the teachers who attended the training in the "Skills for Adolescence" in their using the knowledge received with their students. To collect the data, a documentary analysis, participatory observation, and an in-depth interview with the head of project and teachers who attended the training, and a focused group interview conducted with the students were used. The findings were as follows 1. The communication pattern was two-way communication. It was formal and informal communication. Symbols used for communication were verbal and non-verbal. Flow of information was from top-down, bottom-up, and horizontal communication. Types of media in reaching out the knowledge, counseling, and information on the Skills for Adolescence were 1) mediated persons, (teachers, school administrators, and police officers), 2) specialized media (posters, assignment, public address system), 3) activities (games, role play), 4) intemet; 2. The teachers who could use the knowledge effectively were the teachers who were counselor and home room teachers. The students who attended the project from their teachers could apply the knowledge received to their daily life which resulted in their better behavior. The favorite characteristics of teachers effected the students' behavior, therefore, the teachers were influential to the opinion and behavior of the students. The most effectiveness of communication of teachers to their students was to be the teachers the students liked, and the teachers who loved, cared for, and paid attention to their students. | en |
dc.format.extent | 1733076 bytes | - |
dc.format.mimetype | application/pdf | - |
dc.language.iso | th | es |
dc.publisher | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en |
dc.rights | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en |
dc.subject | จิตวิทยาวัยรุ่น | en |
dc.subject | การสื่อสาร | en |
dc.subject | การสื่อสารระหว่างบุคคล | en |
dc.subject | การสอนแบบผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง | en |
dc.title | ประสิทธิผลของการสื่อสารในหลักสูตร "ทักษะชีวิตสำหรับเยาวชน" ของโครงการไลออนส์ เควสต์ | en |
dc.title.alternative | Effectiveness of communication in the Lions-Quest Project "Skills for Adolescence" | en |
dc.type | Thesis | es |
dc.degree.name | นิเทศศาสตรมหาบัณฑิต | es |
dc.degree.level | ปริญญาโท | es |
dc.degree.discipline | นิเทศศาสตรพัฒนาการ | es |
dc.degree.grantor | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en |
dc.email.advisor | Ubolwan.P@chula.ac.th | - |
Appears in Collections: | Comm - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Nantaporn_Ch.pdf | 1.69 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.