Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/67091
Full metadata record
DC Field | Value | Language |
---|---|---|
dc.contributor.advisor | สมฤทัย วัชราวิวัฒน์ | - |
dc.contributor.advisor | จิตต์ธิดา ชูแสงเลิศวิจิตร | - |
dc.contributor.author | สุวลี เมฆาพิมานชัย | - |
dc.contributor.other | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะเภสัชศาสตร์ | - |
dc.date.accessioned | 2020-07-16T03:52:08Z | - |
dc.date.available | 2020-07-16T03:52:08Z | - |
dc.date.issued | 2548 | - |
dc.identifier.isbn | 9741751648 | - |
dc.identifier.uri | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/67091 | - |
dc.description | วิทยานิพนธ์ (ภ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2548 | en_US |
dc.description.abstract | การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) เปรียบเทียบความรู้ของผู้ป่วยก่อนและหลัง ได้รับคำปรึกษาแนะนำจากทีมเภสัชกร (2) ประเมินคุณภาพชีวิตหลังปลูกถ่ายไตทันทีและหลังปลูกถ่ายไตประมาณ 6 เดือน (3) ประเมินความพึงพอใจของผู้ป่วยที่มีต่อเภสัชกรในทีมดูแลผู้ป่วย (4) ติดตามผลทางคลินิกของผู้ป่วยที่มารับ บริการในคลินิกผู้ป่วยถ่ายไต โดยเป็นการประเมินผลรวมของผู้ป่วยที่มารับบริการในคลินิกตั้งแต่เดือนมกราคม พ.ศ. 2543 ถึงเดือน ธันวาคม พ.ศ. 2548 และได้รับคำปรึกษาแนะนำจากทีมเภสัชกรจนครบขั้นตอนแล้ว มีผู้ ป่วยที่เข้าร่วมการศึกษาครั้งนี้จำนวน 77 ราย หลังจากปลูกถ่ายไตผู้ป่วยจะได้รับแบบสอบถามประเมินความรู้ และแบบสอบถามคุณภาพชีวิตด้านสุขภาพ (SF – 36) จากนั้นเภสัชกรจะเริ่มให้คำปรึกษาแนะนำแก่ผู้ป่วย จน เมื่อการให้คำปรึกษาแนะนำครบขั้นตอน (ประมาณ 6 เดือนหลังปลูกถ่ายไต) ผู้ป่วยจะได้รับแบบสอบถามเพื่อ ประเมินความรู้ คุณภาพชีวิต และความพึงพอใจตลอดจนผลลัพธ์ทางคลินิก ผลการศึกษาพบว่า คะแนนความ รู้หลังจากได้รับคำปรึกษาแนะนำ (ร้อยละ 79.6) เพิ่มขึ้นจากก่อนได้รับคำปรึกษาแนะนำ (ร้อยละ 62.2) อย่างมี นัยสำคัญทางสถิติ คะแนนคุณภาพชีวิตในมิติความสามารถทางกายในการประกอบกิจกรรมต่าง ๆ และมิติผลกระทบต่อการทำกิจกรรมทางสังคมเนื่องจากปัญหาทางด้านร่างกายและอารมณ์หลังปลูกถ่ายไตประมาณ 6 เดือนมากกว่าหลังปลูกถ่ายไตทันทีอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ คะแนนความพึงพอใจของผู้ป่วยที่มีต่อเภสัชกร เฉลี่ยเท่ากับ 4.5 พบการติดเชื้อหลังปลูกถ่ายไตมากที่สุดในช่วง 3 เดือนแรกหลังผ่าตัด โดยเป็นการติดเชื้อที่ ทางเดินปัสสาวะมากที่สุด (ร้อยละ 41.5) อุบัติการณ์ของความดันเลือดสูง ไขมันในเลือดสูง และน้ำตาลในเลือดสูงเท่ากับร้อยละ 19.5 72.7 และ 11.7 ตามลำดับ อัตราการเกิด acute rejection เท่ากับร้อยละ 18.2 และมีอัตราการกลับมานอนโรงพยาบาลซ้ำเนื่องจากอาการไม่พึงประสงค์ที่รุนแรงหรือเกิดพิษจากยากดภูมิคุ้ม กันร้อยละ 3.9 | en_US |
dc.description.abstractalternative | The purposes of this study were to (1) compare patient knowledge between before and after receiving pharmacy counseling. (2) evaluate quality of life immediately after renal transplantation and 6 months after transplantation. (3) evaluate patient satisfaction to pharmacist team service. (4) explore clinical outcomes after transplantation. These outcomes of 77 patients who came to kidney transplant clinic between January 2000 to December 2005 were evaluated. after transplantation, patient knowledge and quality of life were evaluated. SF – 36 was used to evaluate Then pharmacists started and continued the counseling process. After the process was completed (about 6 months after transplantation), patient knowledge, quality of life, patient satisfaction and clinical outcomes were evaluated. It was found that knowledge score significantly increased from 62.2% before receiving counseling to 79.6% after completing program. Quality of life score in physical functioning (PF) and social functioning (SF) scales 6 months after transplantation was significant higher than immediately after transplantation. Average satisfaction score was 4.5 Infections mostly occurred in 0 – 3 months post- transplantation. Urinary tract infection was the most found (41.5%) Incidence of hypertension, dyslipidemia, and hyperglycemia after transplantation were 19.5%, 72.7%, and 11.7%, respectively. Acute rejection rate was 18.2%. Re-hospitalization rate from either severe adverse drug reaction or CNI intoxication was 3.9% | en_US |
dc.language.iso | th | en_US |
dc.publisher | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en_US |
dc.rights | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en_US |
dc.subject | ไต -- การปลูกถ่าย | en_US |
dc.subject | ผู้ป่วย -- การดูแล | en_US |
dc.subject | การดูแลหลังศัลยกรรม | en_US |
dc.subject | การบริบาลทางเภสัชกรรม | en_US |
dc.title | ผลลัพธ์ของการดูแลผู้ป่วยปลูกถ่ายไตโดยทีมเภสัชกร ณ โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ | en_US |
dc.title.alternative | Outcomes of renal transplant patient care provided by pharmacist team at King Chulalongkorn Memorial Hospital | en_US |
dc.type | Thesis | en_US |
dc.degree.name | เภสัชศาสตรมหาบัณฑิต | en_US |
dc.degree.level | ปริญญาโท | en_US |
dc.degree.discipline | เภสัชกรรมคลินิก | en_US |
dc.degree.grantor | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en_US |
dc.email.advisor | Somratai.R@Chula.ac.th | - |
dc.email.advisor | ไม่มีข้อมูล | - |
Appears in Collections: | Pharm - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Suvalee_ma_front_p.pdf | 1.01 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Suvalee_ma_ch1_p.pdf | 801.8 kB | Adobe PDF | View/Open | |
Suvalee_ma_ch2_p.pdf | 1.76 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Suvalee_ma_ch3_p.pdf | 828.73 kB | Adobe PDF | View/Open | |
Suvalee_ma_ch4_p.pdf | 2.8 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Suvalee_ma_ch5_p.pdf | 728.12 kB | Adobe PDF | View/Open | |
Suvalee_ma_back_p.pdf | 1.9 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.