Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/67104
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorวรรณี แกมเกตุ-
dc.contributor.authorวิสุทธิ วนาอินทรายุธ-
dc.contributor.otherจุฬาลProblem solvingงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะครุศาสตร์-
dc.date.accessioned2020-07-16T07:41:08Z-
dc.date.available2020-07-16T07:41:08Z-
dc.date.issued2548-
dc.identifier.isbn9741437536-
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/67104-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2548-
dc.description.abstractการวิจัยครั้งนี้เป็นการศึกษาความสัมพันธ์เชิงสาเหตุ มีวัตถุประสงค์เพื่อ1) พัฒนาโมเดลเชิงสาเหตุของความฉลาดทางเชาวน์ปัญญา ความฉลาดทางอารมณ์ ความฉลาดทางจริยธรรม และความฉบาดในการเผชิญและฟันฝ่าอุปสรรคที่มีต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียน และ 2) ตรวจสอบความสอดคล้องของโมเดลเชิงสาเหตุของความฉลาดทางเชาวน์ปัญญาความฉลาดทางอารมณ์ ความฉลาดทางจริยธรรม และความฉลาดในการเผชิญและฟันฝ่าอุปสรรคที่มีต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนที่สร้างขึ้นกับข้อมูลเชิงประจักษ์ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 ปีการศึกษา 2548 ในโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษานนทบุรี เขต 1 และเขต 2 จำนวน 576 คน ตัวแปรที่ศึกษาในการวิจัยประกอบด้วยตัวแปรแฝง 5 ตัวแปรคือ ความฉลาดทางเชาวน์ปัญญา ความฉลาดทางอารมณ์ความฉลาดทางจริยธรรม ความฉลาดในการเผชิญและฟันฝ่าอุปสรรค และผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนโดยตัวแปรดังกล่าววัดจากตัวแปรสังเกตได้รวมทั้งสิ้น 33 ตัวแปร เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบวัด วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติบรรยาย การวิเคราะห์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน การวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยัน และการวิเคราะห์โมเดลลิสเรล ผลการวิจัยที่สำคัญสรุปได้ดังนี้ 1. โมเดลเชิงสาเหตุของผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน พบว่าผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนได้รับอิทธิพลจากปัจจัยความฉลาดทางเชาวน์ปัญญา ปัจจัยความฉลาดทางอารมณ์ ปัจจัยความฉลาดทางจริยธรรม และปัจจัยความฉลาดในการเผชิญและฟันฝ่าอุปสรรค ดังนี้ 1.1 ปัจจัยความฉลาดทางจริยธรรมส่งผลโดยรวมในเชิงบวกต่อปัจจัยผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เท่ากับ 0.94 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 และส่งผลทางตรงในเชิงบวกต่อปัจจัยผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เท่ากับ 0.84 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 1.2 ปัจจัยความฉลาดทางเชาวน์ปัญญา ส่งผลโดยรวมในเชิงบวกต่อปัจจัยผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนเท่ากับ 0.61 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 และส่งผลทางตรงในเชิงบวกต่อปัจจัยผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เท่ากับ 0.55 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 1.3 ปัจจัยความฉลาดทางอารมณ์ ส่งผลทางตรงในเชิงลบต่อปัจจัยผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนเท่ากับ -0.72 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และส่งผลทางอ้อมในเชิงบวกต่อปัจจัยผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เท่ากับ 0.79 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 1.4 ปัจจัยความฉลาดในการเผชิญและฟันฝ่าอุปสรรค ไม่ส่งผลต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนอย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ .05 2. ผลการวิเคราะห์โมเดลเชิงสาเหตุของความฉลาดทางเชาวน์ปัญญา ความฉลาดทางอารมณ์ ความฉลาดทางจริยธรรม และความฉลาดในการเผชิญและฟันฝ่าอุปสรรคที่มีต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน พบว่า โมเดลมีความสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์ โดยมีค่าไค-สแควร์เท่ากับ58.43, df = 46, p = 0.10326, GFI = 0.99, AGFI = 0.93 และ RMSEA = 0.022 ทั้งนี้ปัจจัยความฉลาดทางเชาวน์ปัญญา ปัจจัยความฉลาดทางอารมณ์ ปัจจัยความฉลาดทางจริยธรรม และปัจจัยความฉลาดในการเผชิญและฟันฝ่าอุปสรรคสามารถร่วมกันอธิบายความแปรปรวนของปัจจัยผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนได้ร้อยละ 56-
dc.description.abstractalternativeThis research was the causal relationship model which aims: 1) to develop the causal model of intelligence quotient, emotional quotient, moral quotient, and adversity quotient on students' learning achievement and 2) to examine the goodness of fitting of the causal model of intelligence quotient, emotional quotient, moral quotient, and adversity quotient on students' learning achievement of the model to the empirical data. The research sample consisted of 576 Mathayom Saksa six students of academic year 2005 from the schools in Nonthaburi Education Service Area Office 1 and 2. Variables consisted of 5 latent variables: intelligence quotient, emotional quotient, moral quotient, adversity quotient and students' learning achievement. These latent variables were measured by 33 observed variables. Data were collected by tests and analyzed by descriptive statistics, Pearson's product moment correlation, confirmatory factor analysis and LISREL analysis. The research findings were as follows 1. According to the causal model of students' learning achievement were effected by intelligence quotient, emotional quotient, moral quotient and adversity quotient as follows : 1.1 Moral quotient has positive total effect to students' learning achievement was 0.94 at 0.01level of significance and has positive direct effect was 0.84 at 0.01 level of significance. 1.2 Intelligence quotient has positive total effect to students' learning achievement was 0.61 at 0.01 level of significance and has positive direct effect was 0.55 at 0.01 level of significance. 1.3 Emotional quotient has negative direct effect to students' learning achievement was -0.72 at 0.05 level of significance and has positive indirect effect was 0.79 at 0.01 level of significance. 1.4 Adversity quotient has no effect to students' learning achievement at 0.05 level of significance. 2. The overview of the causal model of intelligence quotient, emotional quotient, moral quotient and adversity quotient on students' learning achievement was fitted with the empirical data having Chi-square goodness of fit test was 58.43, df = 46, p = 0.10326, GFI = 0.99, AGFI =0.93 and RMSEA = 0.022. The variables in the model accounted for 56% of variance in students' learning achievement.-
dc.language.isoth-
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย-
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย-
dc.subjectความฉลาดทางอารมณ์-
dc.subjectผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน-
dc.subjectการแก้ปัญหา-
dc.subjectEmotional intelligence-
dc.subjectAcademic achievement-
dc.subjectProblem solving-
dc.titleการพัฒนาโมเดลเชิงสาเหตุของความฉลาดทางเชาวน์ปัญญา ความฉลาดทางอารมณ์ ความฉลาดทางจริยธรรม และความฉลาดในการเผชิญและฟันฝ่าอุปสรรคที่มีต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียน-
dc.title.alternativeDevelopment a causal model of intelligence quotient, emotional quotient, moral quotient, and adversity quotient on student's learning achievement-
dc.typeThesis-
dc.degree.nameครุศาสตรมหาบัณฑิต-
dc.degree.levelปริญญาโท-
dc.degree.disciplineวิจัยการศึกษา-
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย-
dc.email.advisorWannee.K@Gmail.com-
Appears in Collections:Edu - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Wisutti_wa_front_p.pdf1 MBAdobe PDFView/Open
Wisutti_wa_ch1_p.pdf2.01 MBAdobe PDFView/Open
Wisutti_wa_ch2_p.pdf5.47 MBAdobe PDFView/Open
Wisutti_wa_ch3_p.pdf2.06 MBAdobe PDFView/Open
Wisutti_wa_ch4_p.pdf2.25 MBAdobe PDFView/Open
Wisutti_wa_ch5_p.pdf1.16 MBAdobe PDFView/Open
Wisutti_wa_back_p.pdf6.94 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.