Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/67141
Full metadata record
DC Field | Value | Language |
---|---|---|
dc.contributor.advisor | สมเกียรติ ปิยะธีรธิติวรกุล | - |
dc.contributor.advisor | อรพร หมื่นพล | - |
dc.contributor.author | เสาวลักษณ์ เอี่ยมไผ่ | - |
dc.contributor.other | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิทยาศาสตร์ | - |
dc.date.accessioned | 2020-07-20T08:46:31Z | - |
dc.date.available | 2020-07-20T08:46:31Z | - |
dc.date.issued | 2548 | - |
dc.identifier.isbn | 9741758995 | - |
dc.identifier.uri | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/67141 | - |
dc.description | วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2548 | en_US |
dc.description.abstract | วิเคราะห์ความเข้มข้นฮอร์โมนโพรเจสเทอโรน (P4) และ17แอลฟา-ไฮดรอกซีโพรเจสเทอโรน (17α-OHP4) จากแม่เพรียงทรายธรรมชาติและแม่เพรียงทรายฟาร์มเพาะเลี้ยง (Perinereis sp.) อายุ 2 4 6 และ 8 เดือน และศึกษาฮอร์โมนทั้ง 2 ชนิดนี้ในรังไข่ เลือด และกล้ามเนื้อของแม่กุ้งกุลาดำ (Penaeus monodon) ที่รังไข่ ระยะต่างๆกัน ด้วยวิธีRadioimmunoassay (RIA) และ Reversed Phase High Performance Liquid Chromatography (RP-HPLC) แม่เพรียงทรายธรรมชาติ อายุ 2 เดือน มีปริมาณฮอร์โมนP4 และ17α-OHP4 มากที่สุด (47.48±6.70 ngP4/mg protein และ 143.74±28.70 ng 17α-OHP4/mg protein) และลดลงจนต่ำสุดในแม่เพรียงอายุ 8 เดือน (3.86±0.37 ng P4/mg protein และ 16.22±8.55 ng 17α-OHP4/mg protein) ในทางตรงข้ามแม่เพรียงทรายจากฟาร์มเพาะเลี้ยง อายุ 2 เดือน มีปริมาณฮอร์โมน P4 และ 17α-OHP4 น้อยที่สุด (39.79±16.64 ng P4/mg protein และ 100.29±31.70 ng 17α-OHP4/mg protein) และเพิ่มขึ้นจนสูงสุดในแม่เพรียงทรายเลี้ยง อายุ 6 เดือน (640.76±54.10 ng P4/mg protein และ 449.07±35.48 ng 17α-OHP4/mg protein) ความแตกต่างของปริมาณฮอร์โมนP4 และ17α-OHP4 ในแม่เพรียงธรรมชาติ และแม่เพรียงเลี้ยง แสดงว่าฮอร์โมนทั้งสองอาจไม่มีความสัมพันธ์กับความสมบูรณ์ของแม่เพรียง แต่อาจเกิดจากปัจจัยอื่นๆ เช่น ชนิดของแม่เพรียง สถานที่เลี้ยง ฤดูกาลในการเก็บรวบรวมเพรียง และอาหารที่แม่เพรียงได้รับ ในรังไข่แม่กุ้งกุลาดำ พบว่าฮอร์โมน P4 และ17α-OHP4 มีความสัมพันธ์กับการพัฒนาของรังไข่ โดยฮอร์โมนทั้งสองเพิ่มจากรังไข่ระยะที่ 1 (14.84±1.87 ng/mg protein และ33.17±5.75 ng 17α-OHP4/mg protein) จนสูงสุดในรังไข่ระยะที่ 4 (67.55±5.70 ng P4/mg protein และ 163.65±4.59 ng 17α-OHP4/mg protein) เช่นเดียวกับในเลือด ที่ฮอร์โมนทั้งสองมีระดับคงที่ จนสูงสุดในรังไข่ระยะที่ 4 (13.28±2.31 ng P4/mg protein และ 30.18±2.83 ng 17α-OHP4/mg protein) โดยที่พบการเปลี่ยนแปลงของระดับฮอร์โมนทั้งสองในกล้ามเนื้อแม่กุ้งกุลาดำ จากการทดลองบ่มเลี้ยงเซลล์ไข่ระยะแรกของกุ้งกุลาดำ (Previtellogenic oocytes) ในห้องปฏิบัติการ (in vitro incubaton) เป็นเวลา 24 ชั่วโมง ด้วยสารสกัดฮอร์โมนจากแม่เพรียงและฮอร์โมนสังเคราะห์ พบว่าฮอร์โมนทั้งสองสามารถทำให้ไข่ระยะพรีไวเทลโลเจนิคพัฒนาจนถึงไข่ระยะที่มีคอร์ติคอลรอดได้ทั้งคู่ โดยมีความเข้มข้นสูงสุดเท่ากับ 1.0 ng/ml แต่ฮอร์โมนสังเคราะห์ P4 ทำให้เปอร์เซ็นต์ไข่ระยะที่มีคอร์ติคอลรอดสูงกว่าสารสกัด P4 จากแม่เพรียง (48.55±8.48 เปรียบเทียบกับ 24.31±.13 เปอร์เซ็นต์) เมื่อทดลองบ่มไข่อ่อนของแม่กุ้งกุลาดำกับ 17α-OHP4 พบว่าต้องใช้ความเข้มข้นของฮอร์โมนสูงกว่าฮอร์โมน P4 โดยความเข้มข้นต่ำสุดที่ให้เปอร์เซ็นต์ไข่ระยะคอร์ติคอลรอดสูงสุด คือ 2.0 ng/ml จากฮอร์โมน 17α-OHP4 สังเคราะห์ (29.16±2.21 เปอร์เซ็นต์) ในขณะที่ถ้าใช้ฮอร์โมนสกัด 17α-OHP4 ต้องใช้ความเข้มข้นถึง 3.0 ng/ml จึงจะทำให้ไข่พัฒนาจนได้เปอร์เซ็นต์ไข่ระยะคอร์ติคอลรอดสูงสุด (21.76±10.17 เปอร์เซ็นต์) | en_US |
dc.description.abstractalternative | Progesterone (P4) and 17alpha-hydroxyprogesterone (17α-OHP4) were determined in polychaetes Perinereis sp. at various ages (2, 4, 6 and 8 month) and female Penaeus monodon broodstock tissues (ovary hemolymph and female Penaeus monodon broodstock tissues (ovary hemolymph and muscle) at different ovarian stages using Radioimmunoassay (RIA) and Reversed Phase High Performance liquid Chromatography.(RP-HPLC.). It was found that 2 month-old natural polychaetes contained highest levels of P4 (47.48±6.70 ng/mg protein) and 17α-OHP4 (143.74±28.70 ng/mg protein) which gradually decreased as they became matured (3.86± 0.37 ng/mg protein for P4 and 16.22±8.55 ng/mg protein for 17α-OHP4at 8 month old polychaetes.) In contrary, younger farmed polychaetes displayed lower concentration of both hormones than the older ones (39.79±16.64 ng/mg protein for P4 and 100.29±31.70 ng/mg protein for 17α-OHP4 at 2 month old polychaetes compared to 640.76±54.10 ng/mg protein for P4 and 449.07±35.48 ng/mg protein for 17α-OHP4 at 6 month old polychaetes). The results possibly indicated a non-maturational relationship of P4 and its derivative with polychaetes. Diverse concentrations of both hormones may be linked with other factors like types of polychaetes, habitats, seasons, and feed intake. Data from various tissues of Penaeus monodon female broodstock at different ovarian stages showed that P4 and 17α-OHP4 increased as the prawn became more matured. Both hormones are lowest at previtellogenic oocytes stage I (14.84±1.9 ng/mg protein for P4 and 33.17±5.8 ng/mg protein for 17α-OHP4) which progressively increased as it reached its maximum ovary stages IV (67.55±5.70 ng/mg protein for P4 and 163.7±4.5 ng/mg protein for 17α-OHP4). Both hormones in prawn hemolymph had highest concentrations at ovary stage IV (13.28±2.3 ng P4/mg protein and 30.18±2.8 ng 17α-OHP4/mg protein). No significant changes of each hormone were detected form prawn muscle. Twenty-four hours in vitro incubation of immature prawn oocytes (previtellogenic oocyte) with P4 and 17α-OHP4 extracted from polychaetes or with synthetic hormones significantly increased development of previtellogenic oocytes to oocytes with cortical rods. Synthetic hormones were more potent than extracted ones. At similar concentration (1 ng/ml), synthetic P4 yielded 48.55±8.5 percent of oocytes with cortical rods whereas extracted P4 resulted in 24.31±9.1 percent of oocytes with cortical rods.) | en_US |
dc.language.iso | th | en_US |
dc.publisher | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en_US |
dc.rights | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en_US |
dc.subject | กุ้งกุลาดำ | en_US |
dc.subject | โปรเจสเตอโรน | en_US |
dc.subject | รังไข่ | en_US |
dc.subject | เซลล์ไข่ -- การเจริญเติบโต | en_US |
dc.subject | Penaeus monodon | en_US |
dc.subject | Progesterone | en_US |
dc.subject | Ovaries | en_US |
dc.subject | Ovum -- Growth | en_US |
dc.title | ผลของสารสกัดโพรเจสเทอโรนและ 17 แอลฟา-ไฮดรอกซีโพรเจสเทอโรนจากแม่เพรียงทราย Perinereis sp. ต่อการเจริญของเซลล์ไข่กุ้งกุลาดำ Penaeus monodon | en_US |
dc.title.alternative | Effects of progesterone and 17α-hydroxyprogesterone extracted from polchaetes Perinereis sp. on Penaeus monodon oocyte development | en_US |
dc.type | Thesis | en_US |
dc.degree.name | วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต | en_US |
dc.degree.level | ปริญญาโท | en_US |
dc.degree.discipline | เทคโนโลยีชีวภาพ | en_US |
dc.degree.grantor | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en_US |
dc.email.advisor | Somkiat.P@Chula.ac.th | - |
dc.email.advisor | ไม่มีข้อมูล | - |
Appears in Collections: | Sci - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Saovaluk_ia_front_p.pdf | 1.03 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Saovaluk_ia_ch1_p.pdf | 662.12 kB | Adobe PDF | View/Open | |
Saovaluk_ia_ch2_p.pdf | 1.31 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Saovaluk_ia_ch3_p.pdf | 873.43 kB | Adobe PDF | View/Open | |
Saovaluk_ia_ch4_p.pdf | 2.34 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Saovaluk_ia_ch5_p.pdf | 988.06 kB | Adobe PDF | View/Open | |
Saovaluk_ia_back_p.pdf | 1.74 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.