Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/67167
Title: | สารกดการผลิตไนตริกออกไซด์ในการอักเสบจาก Streptomyces spp. |
Other Titles: | Nitric oxide production suppressants in inflammation from Streptomyces spp. |
Authors: | นันทวรรณ สินปราณี |
Advisors: | ธนาภัทร ปาลกะ |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิทยาศาสตร์ |
Subjects: | ไนตริกออกไซด์ สเตรปโตมัยซิส Nitric oxide Streptomyces |
Issue Date: | 2554 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | การอักเสบแบบเฉียบพลันเป็นการตอบสนองของระบบภูมิคุ้มกันของร่างกายเพื่อป้องกันอันตรายจากสิ่งเร้าภายนอกซึ่งอาจทำให้เกิดอันตราย เมื่อกระบวนการอักเสบเกิดต่อเนื่องเป็นเวลานานจะทำให้เกิดการพัฒนาไปเป็นการอักเสบแบบเรื้อรัง ซึ่งเป็นสาเหตุหลักของโรคที่เกี่ยวกับความผิดปกติของภูมิคุ้มกันต่างๆ ไนตริกออกไซด์เป็นสารสื่อชนิดหนึ่งที่เป็นตัวบ่งชี้ถึงการเกิดการอักเสบ ไนตริกออกไซด์สังเคราะห์ขึ้นจากการถอดรหัสของยีน iNOS การรักษาการอักเสบในปัจจุบัน มีการใช้ยาในกลุ่มของ Nonsteroidal Antiinflammatory Drugs (NSAIDs) แต่เนื่องจากการรักษาด้วยยาชนิดนี้ทำให้เกิดผลข้างเคียงอันไม่พึงประสงค์ เช่น การเกิดแผลในกระเพาะอาหาร และการเป็นพิษต่อไต จึงมีความพยายามที่จะพัฒนายาต้านการอักเสบชนิดใหม่ที่หลีกเลี่ยงผลข้างเคียงเหล่านี้ ในงานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อคัดแยกสารจากเมแทบอไลต์ที่มีฤทธิ์ในการต้านการอักเสบจาก Streptomyces spp. ที่คัดกรองได้จากตัวอย่างดิน ของจังหวัดน่าน งานวิจัยก่อนหน้านี้ได้คัดแยก Streptomyces spp. D230704 และ O245704 จาก 178 สายพันธุ์ มีฤทธิ์ในการต้านการอักเสบและเป็นพิษต่อเซลล์ต่ำ ในงานวิจัยนี้ได้พิสูจน์เอกลักษณ์ของ Streptomyces spp. ทั้ง 2 ไอโซเลต ด้วยการวิเคราะห์ลำดับนิวคลีโอไทด์ของ 16S rDNA พบว่า Streptomyces sp. D230704 และ Streptomyces sp. O245704 มีความคล้ายคลึงกับ Streptomyces lanatus และ Streptomyces yokosukanensis ที่ 99% เและ 100% ตามลำดับ และจากการทำให้สารที่มีฤทธิ์ทางชีวภาพบริสุทธิ์โดยวิธีทางเคมี สามารถแยกสารจาก Streptomyces sp. O245704 และจัดจำแนกพบว่าเป็น dihydroeponemycin เมื่อศึกษาฤทธิ์ของ dihydroeponemycin ต่อแมโครฟาจที่ถูกกระตุ้น พบว่าสารนี้มีฤทธิ์กดการแสดงออกของโปรตีน iNOS และกดการแสดงออกของยีน IL-6 นอกจากนี้ยังศึกษากลไกของสารต่อวิถีสัญญาณ TLR4 พบว่า dihydroeponemycin มีผลต่อการกระตุ้นของวิถีสัญญาณ NF-κB และวิถีสัญญาณ MAPK ในแมโครฟาจที่ถูกกระตุ้นให้เกิดการอักเสบ ผลจากงานวิจัยพบว่าสารที่แยกได้อาจมีศักยภาพในการนำไปพัฒนาไปเป็นยาต้านการอักเสบชนิดใหม่ที่ไม่มีผลข้างเคียงในการรักษา |
Other Abstract: | Acute inflammation is the simple bodily function of immune responses to protect tissue damages by stimuli. Acute inflammation can progress to chronic inflammation when it is properly controlled. Chronic inflammation is a major cause of autoimmune diseases. Nitric oxide is an important mediator in inflammation, and its production is modified by an enzyme nitric oxide synthase (NOS). Treatment of chronic inflammatory condition using Nonsteroidal Antiinflammatory Drugs (NSAIDs) may result in undesirable side effects such as gastrointestinal bleeding and renal toxicity, novel anti-inflammatory drugs are in need. In this study, I aimed to identify metabolite(s) with anti-inflammatory activity from Streptomyces spp. isolated from soil samples collected in Nan province. In previous study, more than 178 isolates were screened and was found that metabolites of Streptomyces spp. D230704 and O245704 showed strong anti-inflammatory activity with little effect on viability of macrophages. Identification of these strains by 16S rDNA sequence analysis indicated that Streptomyces spp. D230704 and O245704 are closely related to that of Streptomyces lanatus with 99% similarity and to that of Streptomyces yokosukanensis with 100% similarity. Purification of metabolite from Streptomyces sp. O245704 was conducted using chemical methods and it was identified as dihydroeponemycin. Dihydroeponemycin suppressed nitric oxide production and decreased mRNA expression and protein expression of iNOS gene in macrophage cell line RAW 264.7 and activated by LPS and IFN-γ .Dihydroeponemycin treatment decreased mRNA expression of IL-6 in macrophages. In addition, TLR4 signaling was affected by dihydroeponemycin such as NF-κB and SAPK/JNK in MAPK signaling. These results indicated that dihydroeponemycin has anti-inflammatory activity, which would be developed to be a novel anti-inflammatory drug. |
Description: | วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2554 |
Degree Name: | วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต |
Degree Level: | ปริญญาโท |
Degree Discipline: | จุลชีววิทยาทางอุตสาหกรรม |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/67167 |
Type: | Thesis |
Appears in Collections: | Sci - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Nuntawan_si_front_p.pdf | หน้าปก สารบัญ และบทคัดย่อ | 1.02 MB | Adobe PDF | View/Open |
Nuntawan_si_ch1_p.pdf | บทที่ 1 | 782.56 kB | Adobe PDF | View/Open |
Nuntawan_si_ch2_p.pdf | บทที่ 2 | 1.53 MB | Adobe PDF | View/Open |
Nuntawan_si_ch3_p.pdf | บทที่ 3 | 1.45 MB | Adobe PDF | View/Open |
Nuntawan_si_ch4_p.pdf | บทที่ 4 | 2.4 MB | Adobe PDF | View/Open |
Nuntawan_si_ch5_p.pdf | บทที่ 5 | 733.64 kB | Adobe PDF | View/Open |
Nuntawan_si_ch6_p.pdf | บทที่ 6 | 615.19 kB | Adobe PDF | View/Open |
Nuntawan_si_back_p.pdf | บรรณานุกรมและภาคผนวก | 1.52 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.