Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/6761
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorปาริชาต สถาปิตานนท์ สโรบล-
dc.contributor.authorจารุณี พัชรพิมานสกุล-
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะนิเทศศาสตร์-
dc.date.accessioned2008-05-01T03:36:55Z-
dc.date.available2008-05-01T03:36:55Z-
dc.date.issued2542-
dc.identifier.isbn9743343385-
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/6761-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (นศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2542en
dc.description.abstractการวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาลักษณะเครือข่ายการสื่อสารของกลุ่มชีวจิต และปัจจัยสื่อสารที่ส่งผลต่อพัฒนาการของเครือข่ายกลุ่มชีวจิต โดยใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงคุณภาพ ดำเนินการเก็บรวบรวมข้อมูลด้วยการสังเกตแบบมีส่วนร่วม และการสัมภาษณ์แบบเจาะลึกกับกลุ่มแกนนำ กลุ่มผู้บริโภคชีวจิต และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ผลการวิจัยพบว่า ลักษณะเครือข่ายการสื่อสารของกลุ่มชีวจิตเป็นเครือข่ายการสื่อสารแบบแนวระนาบ มี ดร.สาทิส อินทรกำแหง เป็นศูนย์กลาง และเครือข่ายประกอบด้วย 3 กลุ่มหลัก ได้แก่ มูลนิธิชีวจิตกลุ่มแกนนำภายนอก และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง สำหรับรูปแบบการติดต่อสื่อสารแบ่งออกเป็น 2 ส่วน คือ รูปแบบการติดต่อสื่อสารภายในกลุ่ม และรูปแบบการติดต่อสื่อสารระหว่างเครือข่ายของกลุ่ม โดยรูปแบบการติดต่อสื่อสารภายในกลุ่มแบ่งออกเป็น 3 ลักษณะ คือ การติดต่อสื่อสารแบบทางเดียว การติดต่อสื่อสารแบบสองทางกึ่งทางการ การติดต่อสื่อสารแบบไม่เป็นทางการ ส่วนรูปแบบการติดต่อสื่อสารระหว่างเครือข่ายของกลุ่มแบ่งออกเป็น 4 ลักษณะ คือ การติดต่อสื่อสารสองทางแบบไม่เป็นทางการ การติดต่อสื่อสารสองทางแบบเป็นทางการ การติดต่อสื่อสารสองทางไม่เป็นทางการและมีปฏิกิริยากันน้อย การติดต่อสื่อสารแบบทางเดียวไม่เป็นทางการ ปัจจัยสื่อสารที่ส่งผลต่อพัฒนาการของเครือข่ายกลุ่มชีวจิต ประกอบด้วย 5 ปัจจัย คือ ปัจจัยด้านผู้ส่งสาร ปัจจัยด้านคุณสมบัติของแนวคิดชีวจิต ปัจจัยด้านช่องทางการสื่อสาร ปัจจัยด้านผู้รับสาร ปัจจัยด้านบริบทสังคมen
dc.description.abstractalternativeThe objective of this research is to study the characteristics of communication network among Chevajit group and communication factors which affect the development of Clevajit group by means of qualitative research. Participation observation and indepth interview with leading group, Chivajit consumers and related sectors, were used to complete this study. The research shows that the characteristic of communication network of Chevajit group is horizontal communication in which Dr. Sathit Inthrarakhamhang act as the center actor. The network consists of three groups, which are Chevajit foundation, outside leaders, and related sectors. The communication style is differentiated into two parts: communication within the group and communication between groups. According to the communication styles, the internal communication within the group consists of three characteristics: (1) One-way communication, (2) Informal two-way communication, (3) Informal communication. Moreover, the communication between groups reveals four characteristics: (1) Informal two-way communication, (2) Formal two-way communication, (3) Informal two-way communication with little interaction, (4) Informal one-way communication. There are five communication factors, which influence the development of Chevajit's network. Those are sender, qualification of Chevajit concept, communication channel, receiver, and social factorsen
dc.format.extent12321335 bytes-
dc.format.mimetypeapplication/pdf-
dc.language.isothes
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.relation.urihttp://doi.org/10.14457/CU.the.1999.303-
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.subjectการดูแลสุขภาพด้วยตนเองen
dc.subjectการสื่อสารen
dc.subjectชีวจิตen
dc.titleการศึกษาเครือข่ายการสื่อสารของกลุ่มชีวจิตen
dc.title.alternativeThe communication network of Chevajit groupen
dc.typeThesises
dc.degree.nameนิเทศศาสตรมหาบัณฑิตes
dc.degree.levelปริญญาโทes
dc.degree.disciplineนิเทศศาสตรพัฒนาการes
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.email.advisorParichart.S@chula.ac.th-
dc.identifier.DOI10.14457/CU.the.1999.303-
Appears in Collections:Comm - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
jarunee.pdf12.03 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.