Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/67644
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorปิยะชาติ แสงอรุณ-
dc.contributor.authorจิรนันท์ อิ่มสกุล-
dc.date.accessioned2020-08-20T08:33:50Z-
dc.date.available2020-08-20T08:33:50Z-
dc.date.issued2548-
dc.identifier.isbn9745323101-
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/67644-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2548en_US
dc.description.abstractการวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความคิดเห็นของครูศิลปะ (ทัศนศิลป์) ระดับชั้นประถมศึกษาเกี่ยวกับการเรียนการสอนศิลปะ (ทัศนศิลป์) ตามแนวทางการเรียนรู้อย่างมีความสุข โรงเรียนสังกัดกรุงเทพมหานครซึ่งประกอบด้วย 1. (ด้านวัตถุประสงค์การสอน 2.) ด้านสาระการเรียนรู้ 3 .) ด้านการจัดการเรียนการสอน 4.) ด้านสิ่งแวดล้อมและสิ่งเกื้อกูลการเรียนการสอน 5.) ด้านการประเมินผลการ เรียน กลุ่มตัวอย่างประชากรในการวิจัยคือครูหัวหน้าหมวดวิชาศิลปศึกษา (ทัศนศิลป์) ระดับชั้นประถมศึกษา โรงเรียนสังกัด กรุงเทพมหานครจาก 6 กลุ่มเขตของสำนักงานการศึกษากรุงเทพมหานคร จำนวน 108 คน ซึ่งใด้จากการสุมอย่างง่าย เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถามที่ผู้วิจัยสร้างขึ้น วิเคราะห์ข้อมูลโดยการหาค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิรัยพบว่าศิลปศึกษามีความคิดเห็นเกี่ยวกับการเรียนการสอนศิลปะ (ทัศนศิลป์) ตามแนวทางการเรียนรู้อย่างมีความสุข ในแต่ละด้าน ดังนี้ 1. ด้านวัตถุประสงค์การสอนครูศิลปะมีความคิดเห็นในระดับเห็นด้วยอย่างยิ่งในเรื่องการเรียนรู้อย่างมีความสุข โดยการให้ความอิสระในการแสดงออกอย่างสร้างสรรค์ตามความถนัดของตนเอง 2. ด้านการเรียนรู้ ครูศิลปะมีความคิดเห็นในระดับเห็นด้วยในเรื่องการเรียนรู้อย่างมีความสุขด้วยการจัดกิจกรรมเพื่อขยายประสบการณ์ในการเรียนรู้และพัฒนาความคิดสร้างสรรค์โดยส่งเสริมให้ผู้เรียนได้ค้นคว้าและแสวงหาความรู้เพิ่มเติมจากแหล่งการเรียนรู้ทั้งในและนอกห้องเรียน 3. ด้านการจัดการเรียนการสอน ครูศิลปะมีความคิดเห็นในระดับเห็นด้วยอย่างยิ่งในเรื่องให้ผู้เรียนได้ทำงานอย่างมีความสุข โดยเปิดโอกาสการเรียนศิลปะ (ทัศนศิลป์) จากสิ่งแวดล้อมธรรมชาตินอกห้องเรียนเพื่อให้ผู้เรียนเกิดความรักธรรมชาติ 4. ด้านสิ่งแวดล้อมและสิ่งเกื้อกูลการเรียนการสอน ครูศิลปะมีความคิด เห็นในระดับ เห็นด้วยในเรื่องการสร้างบรรยากาศในการเรียนรู้ให้เกิดความสุข เกิดความรู้สึกที่ดี จิตใจที่สงบผ่อนคลาย 5. ด้านการประเมินผลการเรียน ครูศิลปะมีความคิดเห็น ในระดับเห็นด้วยอย่างยิ่งในเรื่องการประเมินพฤติกรรมทางสังคมของผู้เรียนในบทบาทและความร่วมมือกับผู้อื่น อย่างมีน้ำใจในการทำกิจกรรมศิลปะ(ทัศนศิลป์) อย่างมีความสุข ครูผู้สอนวิชาศิลปศึกษาให้ข้อเสนอแนะเพิ่มเติมเกี่ยวกับการให้ผู้เรียนเกิดความสนุกสนานในการทำงาน การให้ผู้เรียนใด้ค้นคว้าข้อมูลจากแหล่งการเรียนรู้ที่หลากหลาย ครูควรเปิดโอกาสให้ผู้เรียนใด้เรียนรู้นอกห้องเรียนได้มากขึ้น สร้างบรรยากาศในการเรียนให้ผ่อนคลายและเป็นไปอย่างสนุกสนาน และควรประเมินผลทางสังคมในการทำงานร่วมกับผู้อื่นเป็นสำคัญ-
dc.description.abstractalternativeThe objective of this research was to study opinions of art teacher in elementary schools under the jurisdiction of Bangkok Metropolitan Administration concerning on Art Education instruction with pleasant learning way involving 1) Instruction objectives 2) Subject contents 3) Instruction process 4) Instruction facilities and environment 5) Learning evaluation. 108 research samples were heads of art department (elementary level) from schools in 6 education zoning of Bangkok Metropolitan area. Questionnaires were used as the research tool and data analyzing was done with percentage, mean and standard deviation. Research result has found that art teachers opinions on art instruction are as followed. 1. Instruction objective : art teachers are highest degree of agreed in giving pleasant learning aspect of their students freedom and creation as they are skilled. 2. Subject contents : art teachers are high degree of agreed in pleasant learning with activities that enhance student learning and creative thinking by encouraging them to learn and acquire knowledge both from inside and outside classroom. 3. Instruction process: art teachers are highest degree of agreed in supporting learners to learn happily with their natural environment outside classroom. 4. Instruction facilities and environment: art teachers are high degree of agreed in creation pleasant learning atmosphere which will be able to create relax and peaceful moment for their student. 5. Learning evaluation : art teachers are highest degree of agreed in conducting societal behavior evaluation of students in their society behaviors and cooperative skills while pleasant working with others. There are also thoughts from art teachers in addition to the research. They are rather enthusiastic to create relax and joyful art learning from varieties of sources and places. As the end result of learning, it should also be focused on the societal evaluation to see whether students are able to enhance their abilities to work with others.-
dc.language.isothen_US
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.relation.urihttp://doi.org/10.14457/CU.the.2005.1405-
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.subjectครูศิลปศึกษา -- ไทยen_US
dc.subjectศิลปกรรม -- การศึกษาและการสอน (ประถมศึกษา) -- ไทยen_US
dc.subjectการเรียนรู้ (จิตวิทยา)en_US
dc.subjectArt teachers -- Thailanden_US
dc.subjectArt -- Study and teaching (Elementary) -- Thailanden_US
dc.subjectLearning, Psychology ofen_US
dc.titleความคิดเห็นของครูศิลปะระดับชั้นประถมศึกษาเกี่ยวกับการเรียนการสอนศิลปะ ตามแนวทางการเรียนรู้อย่างมีความสุข โรงเรียนสังกัดกรุงเทพมหานครen_US
dc.title.alternativeThe opinions of elementary art teachers concerning on art education instruction with pleasant learning way in schools under the jurisdiction of the Bangkok Metropolitan Administrationen_US
dc.typeThesisen_US
dc.degree.nameครุศาสตรมหาบัณฑิตen_US
dc.degree.levelปริญญาโทen_US
dc.degree.disciplineศิลปศึกษาen_US
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.email.advisorPiyacharti.s@chula.ac.th-
dc.identifier.DOI10.14457/CU.the.2005.1405-
Appears in Collections:Edu - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Jiranun_im_front_p.pdfหน้าปก บทคัดย่อ และสารบัญ931.22 kBAdobe PDFView/Open
Jiranun_im_ch1_p.pdfบทที่ 1998.94 kBAdobe PDFView/Open
Jiranun_im_ch2_p.pdfบทที่ 28.09 MBAdobe PDFView/Open
Jiranun_im_ch3_p.pdfบทที่ 3832.83 kBAdobe PDFView/Open
Jiranun_im_ch4_p.pdfบทที่ 41.25 MBAdobe PDFView/Open
Jiranun_im_ch5_p.pdfบทที่ 52.69 MBAdobe PDFView/Open
Jiranun_im_back_p.pdfรายการอ้างอิงและภาคผนวก1.74 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.