Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/6780
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorศิริชัย ศิริกายะ-
dc.contributor.authorกุลชาติ ศรีโพธิ์-
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะนิเทศศาสตร์-
dc.date.accessioned2008-05-01T09:48:17Z-
dc.date.available2008-05-01T09:48:17Z-
dc.date.issued2548-
dc.identifier.isbn9741753977-
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/6780-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (นศ.ม.)-- จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2548en
dc.description.abstractการวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเข้าใจกระบวนการสื่อสารกับผู้ชม ผ่านการแปลคำสบถ และคำหยาบคาย ของผู้แปลบทภาพยนตร์ต่างประเทศทั้ง 5 ท่าน ได้แก่ คุณธนัชชา ศักดิ์สยามกุล, คุณจิระนันท์ พิตรปรีชา, หม่อมเจ้าทิพย์ฉัตร ฉัตรชัย, คุณศักดิ์สิทธิ์ แสงพราย และคุณอนิรุธ ณ สงขลา และมีปัจจัยทางประสบการณ์ ใดบ้างที่มีผลต่อการแปลคำสบถ และคำหยาบคายของผู้แปลบทภาพยนตร์ต่างประเทศ และเพื่อทราบ ลักษณะบทบรรยายใต้ภาพของผู้แปลบทภาพยนตร์ต่างประเทศที่ได้แปลคำสบถ และคำหยาบคายไว้ ตลอดจนเพื่อทราบถึงประสิทธิผลของการสื่อสารระหว่างผู้แปลบทภาพยนตร์กับผู้ชมภาพยนตร์ต่างประเทศ ผลการวิจัยที่ได้จากการสัมภาษณ์ผู้ให้ข้อมูลสำคัญพบว่า ผู้แปลบทภาพยนตร์ต่างประเทศแต่ละท่านมี กระบวนการสื่อสารผ่านการแปลคำสบถ และคำหยาบคายที่แตกต่างกัน ทั้งนี้เกิดจากปัจจัยทางประสบการณ์ ในเรื่องของพื้นฐานทางภาษาที่ดี ความมีใจรักในอาชีพ ความสนใจในสิ่งต่างๆรอบตัว และสามัญสำนึกประกอบกับปัจจัยที่มีอิทธิพลในด้านต่างๆ อาทิผู้ชม กองเซนเซอร์ เจ้าของภาพยนตร์ (บริษัทที่นำเข้า ภาพยนตร์) กระบวนการหลังการผลิต สภาพทางสังคม และวัฒนธรรม ตลอดจนความรู้สึก และวิจารณญาณ ของผู้แปล เหล่านี้ล้วนส่งผลต่อการถอดรหัส และการเข้ารหัสทางการสื่อสารผ่านการแปลคำสบถ และ คำหยาบคายของผู้แปลบทภาพยนตร์ต่างประเทศทั้งสิ้น และส่งผลถึงลักษณะของบทบรรยายใต้ภาพ ภาษาไทย หรือซับไตเติ้ลที่ผู้แปลได้ทำไว้นั้น สามารถทำหน้าที่ในการเชื่อมโยงความหมายจากตัวภาพและ เสียงให้กับผู้ชมได้เพียงบางส่วน ซึ่งขาดประสิทธิภาพ จนทำให้เสียอรรถรสในการชมภาพยนตร์ของผู้ชมไป เพราะผู้ชมไม่สามารถรับสาระ เรื่องราว และความหมายจากภาพยนตร์ได้อย่างครบถ้วน ถือได้ว่าการ สื่อสารผ่านการแปลคำสบถ และคำหยาบคายระหว่างผู้แปลบทภาพยนตร์กับผู้ชมภาพยนตร์ที่มีซับไตเติ้ล เป็นสื่อกลางนั้นไม่มีประสิทธิภาพเท่าที่ควร และเป็นความล้มเหลวทางการสื่อสารในระดับหนึ่งต่อผู้ชม บางกลุ่มen
dc.description.abstractalternativeThis research aims at studying the process of communication with film audience through the translation of swear and rude words in foreign movies by five leading translators, namely, Thanatcha Saksiamkul, Jiranan Phitpreecha, Mom Chao Thipayachat Chatchai, Saksit Sangpray and Anirut Na Songkla. It also examines the factors affecting the translation of swear and rude words by these translators in terms of their experiences, the characteristics of the subtitle, specifically swear and rude word, including the effectiveness of communication between the translators of foreign movies and the audience. The findings of the research are as follows. While each translator uses different techniques in translating swear and rude words, depending on his/her experience and background in language, attitude towards the career, worldview and common sense, other factors do exist which contribute, to a significant degree, to the decoding and encoding process of the translation of swear and rude words in foreign movies. These factors include movie audience, censorship, distributors, post-production process, socio-cultural situation as well as personal ideals and judgment of the translators themselves. The impact can further be felt in the characteristics of the Thai-language subtitle in that it can convey, only partially, the meaning of the images and sound to the audience. This results in an inefficiency in communication process since the audience cannot fully access to the content, theme and signification of the movies on the screen. The pleasure of viewing the movies is thus lost. Hence, it can be said that the communication between the translators and the audience through the translation of swear and rude words in the subtitles is not as efficient as it should be. There appears to be a communication breakdown with certain groups of audience.en
dc.format.extent3799268 bytes-
dc.format.mimetypeapplication/pdf-
dc.language.isothes
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.subjectการสื่อสารen
dc.subjectคำหยาบen
dc.subjectการพากย์ภาพยนตร์en
dc.titleการสื่อสารผ่านการแปลคำสบถ และคำหยาบคายในภาพยนตร์ต่างประเทศen
dc.title.alternativeCommunication through the translation of swear and rude words in foreign moviesen
dc.typeThesises
dc.degree.nameนิเทศศาสตรมหาบัณฑิตes
dc.degree.levelปริญญาโทes
dc.degree.disciplineการสื่อสารมวลชนes
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.email.advisorSirichai.S@chula.ac.th-
Appears in Collections:Comm - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Kunlachat.pdf3.71 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.