Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/67935
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorกาญจนา แก้วเทพ-
dc.contributor.authorนันดา วีรวิทยานุกูล-
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย-
dc.date.accessioned2020-09-17T03:59:50Z-
dc.date.available2020-09-17T03:59:50Z-
dc.date.issued2541-
dc.identifier.isbn9743316027-
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/67935-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (นศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2541en_US
dc.description.abstractการวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา (1) ภาพของผู้หญิงที่ปรากฎในเนื้อหาของเพลงลูกทุ่งระหว่างปี พ.ศ.2525-2540 (2) บทบาทที่สื่อเพลงลูกทุ่งแสดงต่อสังคมไทย จากการนำเสนอภาพของผู้หญิงผ่านเนื้อหาของบทเพลง และ (3) ปัจจัยที่อยู่เบื้องหลัง การนำเสนอภาพดังกล่าว โดยในการวิจัยนั้น ได้แบ่งเพลงลูกทุ่งออกเป็น 2 ช่วงเวลา ช่วงแรกคือ ปี พ.ศ.2525-2535 และช่วงหลังคือ ปี พ.ศ.2536-2540 ในการวิเคราะห์ภาพของผู้หญิงในเนื้อหาของบทเพลงนั้น ใช้วิธีวิเคราะห์เนื้อหาโดยใช้ทฤษฎีเฟมินิสต์เป็นกรอบในการวิเคราะห์ ส่วนการวิเคราะห์บทบาทของสื่อเพลงลูกทุ่งนั้น ใช้วิธีการวิเคราะห์เนื้อหาโดยใช้แนวคิดเรื่องบทบาทของสื่อ เป็นกรอบในการวิเคราะห์ สำหรับการวิเคราะห์ปัจจัยเบื้องหลังการนำเสนอภาพของผู้หญิงในเนื้อหาของบทเพลงนั้น ใช้วิธีการ สัมภาษณ์นักประพันธ์เพลงและผู้บริหารองค์กรผลิตเพลงลูกทุ่ง ประกอบกับการศึกษาเอกสารเกี่ยวกับเพลงลูกทุ่ง โดยใช้ทฤษฎีการ ทำงานขององค์กรสื่อท่ามกลางปัจจัยแวดล้อม ร่วมกับแนวคิดเรื่องเพลงลูกทุ่ง เป็นกรอบในการวิเคราะห์ ผลการวิจัยพบว่า เพลงลูกทุ่งช่วงแรก (ปี พ.ศ.2525-2535) และเพลงลูกทุ่งช่วงหลัง (ปี พ.ศ.2536-2540) มีการนำเสนอภาพของผู้หญิงครบทั้ง 3 ภาพ คือ ภาพของผู้หญิงหัวเก่า, ภาพของผู้หญิงที่ก้ำกึ่งระหว่างผู้หญิงหัวเก่าและผู้หญิงหัวสมัยใหม่ และภาพ ของผู้หญิงหัวสมัยใหม่ โดยบทเพลงช่วงหลัง จะมีการนำเสนอในทิศทางที่ดีกว่าช่วงแรกทั้งในเชิงปริมาณและในเชิงคุณลักษณะ กล่าวคือ เพลงลูกทุ่งช่วงหลังจะเสนอภาพของผู้หญิงหัวสมัยใหม่เพิ่มมากขึ้น และเสนอภาพของผู้หญิงหัวเก่าลดน้อยลง รวมทั้ง คุณลักษณะภาพของผู้หญิงในเพลงลูกทุ่งช่วงหลัง ยังมีความใกล้เคียงที่จะเสมอภาคกับผู้ชายมากขึ้นกว่าบทเพลงช่วงแรกอีกด้วย สำหรับบทบาทของสื่อเพลงลูกทุ่งนั้น เพลงลูกทุ่งช่วงหลังแสดงบทบาทดีกว่าเพลงลูกทุ่งช่วงแรกเช่นกัน กล่าวคือ ในขณะที่เพลงลูกทุ่งช่วงแรกแสดงบทบาทเป็นกลไกแห่งการเปลี่ยนแปลงสังคมเป็นปริมาณเท่ากับบทบาทเป็นตัวตอกย้ำ แต่บทเพลง ช่วงหลังจะแสดงบทบาทเป็นกลไกแห่งการเปลี่ยนแปลงสังคมมากกว่าบทบาทเป็นตัวตอกย้ำประมาณหนึ่งเท่าตัว สำหรับปัจจัยที่อยู่เบื้องหลังการนำเสนอภาพของผู้หญิงในเนื้อหาของบทเพลงนั้น พบว่า ปัจจัยที่ส่งผลต่อภาพของ ผู้หญิงมากที่สุดก็คือ ปัจจัยภายในองค์กรด้านผู้บริหารองค์กร รองลงมาคือปัจจัยด้านธรรมชาติของเพลงลูกทุ่ง และปัจจัยภายนอก องค์กรทั้ง 3 ปัจจัยได้แก่ สภาพสังคม คู่แข่ง และความนิยมของผู้รับสาร ส่วนปัจจัยที่มีผลน้อยที่สุดได้แก่ ปัจจัยภายในองค์กรด้านตัวนักประพันธ์เพลง ทั้งนี้เนื่องจากหลังปี พ.ศ.2520 เป็นต้นมา วงการเพลงลูกทุ่งมีการดำเนินธุรกิจในลักษณะอุตสาหกรรมทุนนิยม ส่งผลให้นักประพันธ์เพลง ซึ่งทำงานอยู่ในระบบธุรกิจสื่อ มักถูกผู้บริหารองค์กรเข้าแทรกแซงการทำงานทั้งทางตรงและทางอ้อม เพื่อให้ผลงานเพลงมีความเหมาะสมกับสภาพสังคม และถูกต้องตามความต้องการของตลาด เพื่อผลกำไรทางธุรกิจ-
dc.description.abstractalternativeThe objective of this research is to study: (1) the portrayal of women in lyrics of Thai country songs [during] 1982-1997, (2) the roles of Thai country songs in Thai society following the portrayal of women in their lyrics and (3) the factors affecting portrayal of women in lyrics of Thai country songs. In this research, the songs are divided into 2 groups according to the period of time: the songs of 1982-1992 and the songs of 1993 - 1997. To study the portrayal of women in lyrics of Thai country songs and roles of Thai country songs, data analysis was undertaken through content analysis, based on the feminist theory and the concept of media roles. To study the factors affecting the portrayal of women in lyrics of Thai country songs, data analysis was undertaken through some interviews with composers and organization executives and a study of documents relating to Thai country songs, based on the theory of the media organization in its context and the concepts of Thai country songs. The results of the research reveal that Thai country songs in both periods portrayed 3 kinds of women: traditional women, modem women and mixed-type women. The portrayal of women improved in the songs during the second period both in terms of quantity and quality. The modem women portrayal was presented at a higher percentage whereas traditional women was presented at a lower percentage in the songs during the second period. In addition, the portrayal of women in the songs during the second period was more nearly equal to men than portrayal of women in the songs during the first period. The research, moreover, indicates that the roles of Thai country songs also improved in the songs during the second period. The songs during the second period acted as a social change mechanism more than the reinforcer while the songs during the first period acted as a social change mechanism in the same quantity as the reinforcer. About the factors affecting the portrayal of women in lyrics of Thai country songs, the most crucial factor that affects the portrayal of women is the internal factor involved with organization executives, followed by the factor involved with attributes of Thai country songs and the external factors which include social context, competitors and audience’s preference. Tire least crucial factor is the internal factor involved with composers. From 1977, the Thai country song business has been dominated by capitalism. As a result, the composers working in the business circle are always interfered with by the organization executives both directly and indirectly. They are influenced to compose suitable songs for the social context and the direction of the market.-
dc.language.isothen_US
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.subjectสตรี -- ไทยen_US
dc.subjectเพลงลูกทุ่งen_US
dc.subjectการวิเคราะห์เนื้อหาen_US
dc.subjectWomen -- Thailand-
dc.subjectContent analysis (Communication)-
dc.titleการวิเคราะห์ภาพของผู้หญิงที่ปรากฎในเนื้อหาของเพลงลูกทุ่งระหว่างปี พ.ศ.2525-2540en_US
dc.title.alternativeAnalysis of portrayal of women in lyrics of Thai country songs during 1982-1997en_US
dc.typeThesisen_US
dc.degree.nameนิเทศศาสตรมหาบัณฑิตen_US
dc.degree.levelปริญญาโทen_US
dc.degree.disciplineการสื่อสารมวลชนen_US
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.email.authorไม่มีข้อมูล-
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Nanda_we_front_p.pdfหน้าปก สารบัญ และบทคัดย่อ932.64 kBAdobe PDFView/Open
Nanda_we_ch1_p.pdfบทที่ 11.06 MBAdobe PDFView/Open
Nanda_we_ch2_p.pdfบทที่ 23.71 MBAdobe PDFView/Open
Nanda_we_ch3_p.pdfบทที่ 3995.07 kBAdobe PDFView/Open
Nanda_we_ch4_p.pdfบทที่ 46.86 MBAdobe PDFView/Open
Nanda_we_ch5_p.pdfบทที่ 53.53 MBAdobe PDFView/Open
Nanda_we_ch6_p.pdfบทที่ 61.23 MBAdobe PDFView/Open
Nanda_we_back_p.pdfบรรณานุกรมและภาคผนวก748.26 kBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.