Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/68123
Full metadata record
DC Field | Value | Language |
---|---|---|
dc.contributor.advisor | อนุสรณ์ ลิ่มมณี | - |
dc.contributor.author | คนึงนิจ ดวงจิตร | - |
dc.contributor.other | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย | - |
dc.date.accessioned | 2020-09-24T02:05:59Z | - |
dc.date.available | 2020-09-24T02:05:59Z | - |
dc.date.issued | 2541 | - |
dc.identifier.isbn | 9746379631 | - |
dc.identifier.uri | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/68123 | - |
dc.description | วิทยานิพนธ์ (ร.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2541 | en_US |
dc.description.abstract | การวิจัยเรื่องนี้มุ่งศึกษาปัจจัยสำคัญที่ส่งผลกระทบต่อความสำเร็จของการนำนโยบายไปปฏิบัติในกรณีนโยบายกำลังคนภาครัฐ ในขอบข่ายของกระทรวงที่มีภารกิจเกี่ยวข้องกับประชาชนโดยตรง 4กระทรวง ได้แก่ กระทรวงศึกษาธิการ กระทรวงมหาดไทย กระทรวงสาธารณสุข และกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ โดยมีสมมติฐาน 3 ประการ คือ 1.ภายใต้โครงสร้างทางการเมืองระบบรัฐสภาและการรวมศูนย์อำนาจการบริหารเข้าสู่ส่วนกลาง ส่งผลให้ฝ่ายการเมืองต้องอาศัยกลไกของข้าราชการเป็นเครื่องมือในการขยายการปฏิบัติงานในภารกิจสำคัญที่เอื้อประโยชน์ต่อความชอบธรรมทางการเมืองและฐานคะแนนเสียง ทำให้ฝ่ายการเมืองขาดความจริงจังต่อนโยบายกำลังคน เป็นผลให้นโยบายขาดความชัดเจน 2.นโยบายกำลังคนส่งผลกระทบโดยตรงต่อองค์กรของระบบราชการ ส่งผลให้เกิดแรงต้านจาก หน่วยงานราชการ โดยเฉพาะหน่วยงานที่มีภารกิจเกี่ยวข้องกับประชาชนโดยตรง มักมีการอ้างภารกิจที่มีต่อประชาชนและสนองนโยบายของรัฐ เพื่อคงไว้ซึ่งกำลังคนในการปฏิบัติงาน ทั้งนี้มีผลประโยชน์ด้านตำแหน่ง อำนาจ และงบประมาณของหน่วยงานและข้าราชการอยู่เบื้องหลัง 3.จากปัจจัยของโครงสร้างทางการเมืองขององค์กรราชการที่มีผลประโยชน์และความต้องการที่ เกื้อกูลกัน ส่งผลให้ข้าราชการการเมืองและฝ่ายข้าราชการประจำร่วมมือกันไม่ผลักดันให้นโยบายกำลังคนบรรลุผลในทางปฏิบัติ ผลการศึกษาพบว่า ปัจจัยด้านความชัดเจนของนโยบายไม่เป็นอุปสรรคต่อการนำนโยบายกำลังคนไปปฏิบัติแต่อย่างใด แต่ปัจจัยที่มีผลต่อความสำเร็จของการนำนโยบายกำลังคนไปปฏิบัติคือ การนำนโยบายกำลังคนไปปฏิบัติเกิดแรงต้านจากหน่วยงานราชการทั้งสี่กระทรวง โดยอ้างภารกิจที่มีต่อประชาชนและการปฏิบัติตามนโยบายของรัฐบาล เป็นเหตุผลเพื่อคงไว้ซึ่งกำลังคนของหน่วยงานตน รวมทั้งการปฏิบัตินโยบายยังขาดความร่วมมือจากข้าราชการการเมืองและข้าราชการประจำ เพราะต่างมีผลประโยชน์ซึ่งกันและกันต่อการขยายตัวของกำลังคน จึงทำให้การนำนโยบายกำลังคนไปปฏิบัติยังไม่ประสบผลสำเร็จ | - |
dc.description.abstractalternative | Aimed at investigating factors affecting the success of manpower policy implementation, this study focuses on the cases of four ministries, which directly provide public services-Ministries of Education, Interior, Public Health and Agriculture. It is hypothesized that: 1)To raise their legitimacy and popularity under the parliamentary system and the bureaucratic centralization, politicians have to rely mainly on the government agencies in their policy implementation. This bureaucracy-downsizing policy, therefore, has not been fully supported by them and as a result lacking clear direction. 2)Impacts of the manpower policy bring about a strong resistance from the agencies. To protect interests in terms of position, authority and budget they use their public service duties as pretext for maintaining the status quo. 3)Collusion between politicians and government officials under the existing political and bureaucratic structures results in a successive failure to implement the policy. This study finds that the policy clarity is not a factor impeding the policy implementation. However the resistance of the government officials in the four ministries who base their excuses on performing public -service duties and implementing other policies and consequently lack of cooperation from not only them but also politicians have made the implementation of manpower policy ineffective. | - |
dc.language.iso | th | en_US |
dc.publisher | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en_US |
dc.rights | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en_US |
dc.subject | การนำนโยบายไปปฏิบัติ | en_US |
dc.subject | นโยบายสาธารณะ | en_US |
dc.subject | นโยบายกำลังคน | en_US |
dc.subject | ระบบราชการ -- ไทย | en_US |
dc.subject | Policy implementation | en_US |
dc.subject | Public policy | en_US |
dc.subject | Manpower policy | en_US |
dc.subject | Bureaucracy -- Thailand | en_US |
dc.title | การเมืองในการนำนโยบายสาธารณะไปปฏิบัติ : ศึกษาเฉพาะกรณี นโยบายกำลังคน | en_US |
dc.title.alternative | The politics of public policy implementation : a case study of manpower policy | en_US |
dc.type | Thesis | en_US |
dc.degree.name | รัฐศาสตรมหาบัณฑิต | en_US |
dc.degree.level | ปริญญาโท | en_US |
dc.degree.discipline | การปกครอง | en_US |
dc.degree.grantor | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en_US |
dc.email.advisor | Anusorn.L@Chula.ac.th | - |
Appears in Collections: | Grad - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Kanungnit_du_front_p.pdf | หน้าปก และบทคัดย่อ | 1.1 MB | Adobe PDF | View/Open |
Kanungnit_du_ch1_p.pdf | บทที่ 1 | 1.29 MB | Adobe PDF | View/Open |
Kanungnit_du_ch2_p.pdf | บทที่ 2 | 3.45 MB | Adobe PDF | View/Open |
Kanungnit_du_ch3_p.pdf | บทที่ 3 | 2.77 MB | Adobe PDF | View/Open |
Kanungnit_du_ch4_p.pdf | บทที่ 4 | 1.85 MB | Adobe PDF | View/Open |
Kanungnit_du_ch5_p.pdf | บทที่ 5 | 5.78 MB | Adobe PDF | View/Open |
Kanungnit_du_ch6_p.pdf | บทที่ 6 | 1.64 MB | Adobe PDF | View/Open |
Kanungnit_du_back_p.pdf | บรรณานุกรม และภาคผนวก | 2.96 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.