Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/68508
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorสุธาทิพย์ พิชญไพบูลย์-
dc.contributor.advisorสมเกียรติ แสงวัฒนาโรจน์-
dc.contributor.authorศิรินภา เลขะพันธ์รัตน์-
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะเภสัชศาสตร์-
dc.date.accessioned2020-10-09T09:19:06Z-
dc.date.available2020-10-09T09:19:06Z-
dc.date.issued2556-
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/68508-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (ภ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2556en_US
dc.description.abstractวัตถุประสงค์ เพื่อเปรียบเทียบผลการลดระดับคอเลสเทอรอลในเลือดของเรดยีสต์ไรซ์/โพลิโคซานอลกับยาหลอก ในผู้ป่วยนอกที่มีภาวะคอเลสเทอรอลในเลือดสูง วิธีการศึกษา เป็นการศึกษาแบบข้ามกลุ่มการรักษา เชิงสุ่มและปกปิดการรักษาทั้งสองข้าง ดำเนินการศึกษา ณ ห้องตรวจโรคผู้ป่วยนอก แผนกอายุรกรรมทั่วไป โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ ตั้งแต่เดือนเมษายนถึงสิงหาคม 2556 โดยผู้ป่วยที่เข้าร่วมการศึกษาจำนวน 14 คน หลังจากสมัครเข้าร่วมการศึกษาและหยุดยาลดไขมันเป็นเวลา 4 สัปดาห์ ถูกแบ่งกลุ่มการรักษาด้วยการสุ่มแบบปกปิด ให้กินเรดยีสต์ไรซ์/โพลิโคซานอล (แคปซูลละ 100/5 มิลลิกรัม) วันละครั้ง ๆ ละ 2 แคปซูล หรือยาหลอก นาน 4 สัปดาห์ จากนั้นหยุดการรักษา 4 สัปดาห์ แล้วสลับการรักษาในแต่ละกลุ่มอีก 4 สัปดาห์ มีการประเมินผลการเปลี่ยนแปลงระดับคอเลสเทอรอลในเลือด ระดับเอนไซม์ตับและกล้ามเนื้อในแต่ละช่วง ผลการรักษา ผู้ป่วยทั้งสองกลุ่มมีข้อมูลพื้นฐาน ผลการตรวจร่างกาย และระดับคอเลสเทอรอลในเลือดพื้นฐานไม่แตกต่างกัน (p>0.05) ผลการศึกษาพบว่าเมื่อได้กินเรดยีสต์ไรซ์/โพลิโคซานอลนาน 4 สัปดาห์ ระดับคอเลสเทอรอลรวมและระดับ LDL-C ลดลงอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติเมื่อเทียบกับค่าพื้นฐาน โดยระดับคอเลสเทอรอลรวม ลดลงจาก 235.14±37.77 เป็น 213.64±30.98 มิลลิกรัมต่อเดซิลิตร (p=0.007) และระดับ LDL-C ลดลงจาก 162.09±25.97 เป็น 139.84±22 มิลลิกรัม/เดซิลิตร (p=.001) ส่วนระดับไตรกลีเซอไรด์และ HDL-C มีค่าไม่แตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติจากค่าพื้นฐาน ไม่มีผู้เข้าร่วมการศึกษารายใดที่มีระดับเอนไซม์ตับและกล้ามเนื้อสูงขึ้นเกินสามเท่าของค่าปกติ นอกจากนั้นค่าความดันโลหิต ระดับน้ำตาลในเลือด และการทำงานของไตซึ่งประเมินจากระดับครีแอทินินในเลือดไม่มีการเปลี่ยนแปลงอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ สรุปการศึกษา การให้กินเรดยีสต์ไรซ์/โพลิโคซานอลในคนไทย เป็นเวลา 4 สัปดาห์สามารถลดระดับคอเลสเทอรอลรวมและ LDL-C ได้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ แต่ไม่มีผลต่อระดับไตรกลีเซอไรด์และ HDL-C ในด้านของความปลอดภัยการให้เรดยีสต์ไรซ์/โพลิโคซานอลในขนาดและระยะเวลาดังกล่าวไม่มีผลต่อการทำงานของตับและกล้ามเนื้อen_US
dc.description.abstractalternativeObjective: To compare the cholesterol lowering effects of red yeast rice/policosanol with placebo in hypercholesterolemic outpatients. Methods: This study was a prospective, randomized, double blind, two-way crossover study. After informed consent and 4 week washout period, fourteen hypercholesterolemic outpatients were randomly assigned with concealed allocation to receive either red yeast rice/policosanol (each capsule 100/5 mg) 2 capsules daily or placebo 2 capsules daily for 4 weeks. Then there was a 4-week washout period followed by a crossover to the other treatment for another 4 weeks. Cholesterol lowering effects (total cholesterol, LDL-C, triglyceride and HDL-C), liver and muscle enzymes were assessed at the end of each 4-week treatment period. Results: Baseline patients characteristics were similar between two groups. (p>0.05) Red yeast rice/policosanol significantly reduced total cholesterol and LDL-C from baseline. Total cholesterol significantly reduced from 235.14±37.77 to 213.64±30.98 mg/dL (p=0.007) and LDL-C significantly reduced from 162.09±25.97 to 139.84±22 mg/dL. (p=0.001) Triglyceride and HDL-C did not change significantly. Serial monitoring of serum hepatic transaminase and creatine kinase level revealed no significant increases in value after 4 weeks. There was also an insignificant change in blood pressure, fasting blood sugar or serum creatinine throughout the study period. Conclusion: Four-week dietary supplement with red yeast rice/policosanol at a fixed dose 200/10 mg per day significantly reduced total cholesterol and LDL-C from baseline. There was no significant difference in triglyceride and HDL-C levels compared with baseline. The dose and duration of a nutritional supplement with red yeast rice/policosanol used in this study appeared to be safe.en_US
dc.language.isothen_US
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.relation.urihttp://doi.org/10.14457/CU.the.2013.1902-
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.subjectLipoproteinen_US
dc.subjectCholesterolen_US
dc.subjectโคเลสเตอรอลในเลือดen_US
dc.subjectไขมันในเลือดen_US
dc.titleประสิทธิศักย์และความปลอดภัยของเรดยีสต์ไรซ์/โพลิโคซานอลในการลดระดับแอลดีแอลคอเลสเทอรอลในเลือดผู้ป่วยนอกที่มีภาวะคอเลสเทอรอลในเลือดสูงen_US
dc.title.alternativeEfficacy and safety of red yeast rice/policosanol on low density lipoprotein cholesterol reduction in hypercholesterolemic outpatientsen_US
dc.typeThesisen_US
dc.degree.nameเภสัชศาสตรมหาบัณฑิตen_US
dc.degree.levelปริญญาโทen_US
dc.degree.disciplineเภสัชกรรมคลินิกen_US
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.email.advisorsutathip.p@chula.ac.th,sutathip.p@pharm.chula.ac.th-
dc.email.advisorSomkiat.S@chula.ac.th,Somkiat.S@chula.ac.th-
dc.identifier.DOI10.14457/CU.the.2013.1902-
Appears in Collections:Pharm - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Sirinapa_Lekhaphanrat_p.pdf2.35 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.