Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/68802
Title: การเตรียมและสมบัติของพอลิโพรพิลีน/เอทิลีนออกทีนโคพอลิเมอร์/คาร์บอนนาโนทิวบ์นาโนคอมพอสิต
Other Titles: Preparation and properties of polypropylene/ethylene octene copolymer/carbon nanotubes nanocomposites
Authors: ฐิติมา รุพันธ์
Advisors: เสาวรจน์ ช่วยจุลจิตร์
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิทยาศาสตร์
Advisor's Email: Saowaroj.c@Chula.ac.th
Subjects: พอลิโพรพิลีน
Polypropylene
Issue Date: 2554
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: ในงานวิจัยนี้ เอทิลีนออกทีนโคพอลิเมอร์ และ/หรือคาร์บอนนาโนทิวบ์ถูกใช้ในการดัดแปร พอลิโพรพิลีน ด้วยเหตุนี้ พอลิเมอร์ผสมพอลิโพรพิลีน/เอทิลีนออกทีนโคพอลิเมอร์ (อัตราส่วน 80/20 และ 70/30) ที่เติมด้วยคาร์บอนนาโนทิวบ์ (0.5-2.0 ส่วนโดยน้ำหนักต่อพอลิเมอร์ผสม 100 ส่วน) ถูกเตรียมโดยการผสมแบบหลอมเหลวด้วยเครื่องอัดรีดแบบเกลียวคู่ และขึ้นรูปเป็นชิ้นทดสอบด้วยกระบวนการฉีดแบบ จากนั้นทำการตรวจสอบผลของเอทิลีนออกทีนโคพอลิเมอร์และคาร์บอนนาโนทิวบ์ต่อความทนแรงกระแทก สมบัติด้านความทนแรงดึง ความทนแรงดัดโค้ง สมบัติเชิงกลพลวัต สมบัติทางความร้อน และสัณฐานวิทยาของนาโนคอมพอสิตที่เตรียมได้ ผลการทดลองแสดงให้เห็นว่า ความทนแรงกระแทก การยืดตัว ณ จุดขาด อุณหภูมิการเกิดผลึก และเสถียรภาพทางความร้อนมีค่าเพิ่มขึ้น ในขณะที่ความทนแรงดึง ยังส์มอดุลัส ความทนแรงดัดโค้ง มอดุลัสสะสม อุณหภูมิเปลี่ยนสภาพแก้ว และดีกรีของความเป็นผลึกมีค่าลดลงตามปริมาณของเอทิลีนออกทีนโคพอลิเมอร์ในพอลิเมอร์ผสม พอลิโพรพิลีน/เอทิลีนออกทีนโคพอลิเมอร์ที่เพิ่มขึ้น เนื่องจากเอทิลีนออกทีนโคพอลิเมอร์มีความยืดหยุ่นสูง นอกจากนี้ ความทนแรงดึง ยังส์มอดุลัส การยืดตัว ณ จุดขาด ความทนแรงดัดโค้ง อุณหภูมิการเกิดผลึก และเสถียรภาพทางความร้อนได้รับการปรับปรุงเมื่อเติมคาร์บอนนาโนทิวบ์ปริมาณที่เหมาะสมในพอลิโพรพิลีน/เอทิลีนออกทีนโคพอลิเมอร์/คาร์บอนนาโนทิวบ์นาโนคอมพอสิต ทั้งนี้เนื่องจากคาร์บอนนาโนทิวบ์มีความแข็งตึง อัตราส่วนความยาวต่อความกว้าง และเสถียรภาพทางความร้อนที่สูงมาก จึงอาจกล่าวได้ว่าเอทิลีนออกทีนโคพอลิเมอร์และคาร์บอนนาโนทิวบ์แสดงผลที่เสริมกันในการเพิ่มความทนแรงดึง การยืดตัว ณ จุดขาด และเสถียรภาพทางความร้อนของ นาโนคอมพอสิต
Other Abstract: In this research, ethylene octene copolymer (EOC) and/or carbon nanotube (CNT) were employed to modify polypropylene (PP). With regard to this, PP/EOC blends (80/20 and 70/30) containing different loadings of CNT (0.5-2.0 phr) were prepared by means of melt blending on a twin screw extruder and then injection molded into specimens. The effects of EOC and CNT on the impact strength, tensile properties, flexural strength, dynamic mechanical properties, thermal properties and morphology of the resulting nanocomposites were investigated. The results showed that the impact strength, elongation at break, crystallization temperature and thermal stability increased, whilst the tensile strength, Young’s modulus, flexural strength, storage modulus, glass transition temperature and degree of crystallinity decreased with increasing EOC loadings in the PP/EOC blends because of the high flexibility of EOC. Moreover, the improvement of the impact strength, Young’s modulus, elongation at break, flexural strength, crystallization temperature and thermal stability was obtained by the appropriate amount of CNT in the PP/EOC/CNT nanocomposites. This is due to the great stiffness, aspect ratio and thermal stability of the CNT. It can be concluded that EOC and CNT exhibit synergistic effects with impact strength, elongation at break and thermal stability of the nanocomposites.
Description: วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2554
Degree Name: วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: วิทยาศาสตร์พอลิเมอร์ประยุกต์และเทคโนโลยีสิ่งทอ
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/68802
Type: Thesis
Appears in Collections:Sci - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
5372428523.pdf4.5 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.