Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/68892
Full metadata record
DC Field | Value | Language |
---|---|---|
dc.contributor.advisor | เชาวเลิศ เลิศชโลฬาร | - |
dc.contributor.advisor | สุภางค์ จันทวานิช | - |
dc.contributor.author | ปราวีณยา สุวรรณณัฐโชติ | - |
dc.contributor.other | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย | - |
dc.date.accessioned | 2020-10-29T08:37:47Z | - |
dc.date.available | 2020-10-29T08:37:47Z | - |
dc.date.issued | 2541 | - |
dc.identifier.isbn | 9746395432 | - |
dc.identifier.uri | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/68892 | - |
dc.description | วิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2541 | en_US |
dc.description.abstract | การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาสภาพการเปลี่ยนแปลงในโรงเรียนจากการนำเทคโนโลยีสารสนเทศเข้ามาใช้ (2) ศึกษากระบวนการยอมรับเทคโนโลยีสารสนเทศในโรงเรียน และ (3) ศึกษาเงื่อนไขที่ทำให้เกิดการยอมรับเทคโนโลยีสารสนเทศของครูในโรงเรียน การวิจัยครั้งนี้ศึกษาในโรงเรียนเอกชนแห่งหนึ่ง การวิจัยใช้วิธีการศึกษาเชิงปริมาณและคุณภาพ สภาพของครูและนักเรียนได้จากแบบสอบถาม ข้อมูลเชิงคุณภาพได้จากการสังเกตการ สัมภาษณ์ และการวิเคราะห์เอกสาร ผลการวิจัยสรุปได้ว่า 1. สภาพการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นในโรงเรียนแบ่งออกได้เป็น 3 ด้าน คือ (1) การเปลี่ยนแปลงของโรงเรียน ซึ่งได้แก่ การเปลี่ยนแปลงด้านภาพลักษณ์และการเป็นที่ยอมรับของโรงเรียนต่อสังคม การขยายอัตรากำลังและคุณสมบัติของบุคลากร และการเปลี่ยนหลักสูตรคอมพิวเตอร์ (2) การเปลี่ยนแปลงของครู ได้แก่ การเปลี่ยนแปลงด้านบทบาทภาระหน้าที่ การติดต่อรับข้อมูลข่าวสารของครู (3) การเปลี่ยนแปลงของนักเรียน ได้แก่ การรู้จักสืบค้นข้อมูลจากแหล่งในโลกกว้าง สังคมส่วนตัวเป็นสังคมออนไลน์ หัวข้อสนทนาประจำวันว่าด้วยการใช้คอมพิวเตอร์ ความสามารถส่วนบุคคลด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ และความสามารถในการแก้ปัญหาเกี่ยวกับการใช้คอมพิวเตอร์ให้แก่ครู 2. กระบวนการยอมรับเทคโนโลยีสารสนเทศในโรงเรียน ผู้อำนวยการโรงเรียนเป็นผู้ริเริ่มและดำเนินการต่อเนื่อง มาจนถึงการสนับสนุนให้ครูเกิดการยอมรับเทคโนโลยีสารสนเทศ กระบวนการยอมรับสรุปได้เป็น 4 ขั้น คือขั้นความรู้ ขั้นการจูงใจ ขั้นการตัดสินใจ และขั้นการนำไปใช้ ส่วนครูจำแนกได้เป็น 5 กลุ่มระดับการใช้ ได้แก่ (1) กลุ่มใช้เพื่อเป็นประโยชน์ต่อนักเรียน เป็น "กลุ่มใจรัก” คือกลุ่มที่มีความชอบส่วนตัวเป็นหลัก (2) กลุ่มแบบแผนเฉพาะตน เป็น "กลุ่มจำเป็นตามภาระหน้าที่" คือกลุ่มที่ต้องใช้เป็นส่วนของงานประจำวัน (3) กลุ่มพอใช้งานเป็น ซึ่งรวมถึง “กลุ่มคนรุ่นใหม่" และ "กลุ่มกลัวเป็นไดโนเสาร์” คือกลุ่มที่พร้อมจะยอมรับและกลัวจะล้าหลัง (4) กลุ่มเตรียมพร้อมที่จะใช้ เหมือนคนอื่น ๆ เป็น "กลุ่มตาม ๆ เขาไป" และ (5) กลุ่มไม่ใช้ เป็น "กลุ่มเดินหนี” เทคโนโลยี 3. เงื่อนไขที่ทำให้เกิดการยอมรับเทคโนโลยีสารสนเทศของครูในโรงเรียนมีองค์ประกอบ 4 ด้านด้วยกันคือ ลักษณะของนวัตกรรม สภาพสังคม ตัวบุคคล และการสนับสนุนจากผู้บริหาร และพบว่าครูกลุ่มที่ใช้เพื่อประโยชน์ของนักเรียนได้รับเงื่อนไขด้านลักษณะของนวัตกรรมมากที่สุด กลุ่มแบบแผนเฉพาะตนและกลุ่มระดับเบื้องต้นได้รับเงื่อนไขด้าน การสนับสนุนจากผู้บริหารมากที่สุด กลุ่มเตรียมพร้อมที่จะใช้ได้รับเงื่อนไขด้านสภาพสังคม ด้านการสนับสนุนจากผู้บริหาร และด้านลักษณะของนวัตกรรมมากที่สุด และกลุ่มไม่ใช้ได้รับเงื่อนไขด้านตัวบุคคลมากที่สุด | - |
dc.description.abstractalternative | The purposes of this research were to study : (1) changes in school on adopting information technology, (2) the adoption process of information technology in school, and (3) conditions effecting adoption of information technology of teachers in school. The study was conducted in a private school. Quantitative and qualitative methods were used in this study. Questionnaires were used to obtain data on teachers and students. Empirical data were gathered through in-depth observation and interview, and document analysis. The findings summarized as the followings : 1. The changes in school could be categorized into 3 aspects : (1) changes at the school level were image of school, social acceptance, increasing the number of personnel and personnel qualification, and computer curriculums; (2) changes among teachers were additional job description on teaching role with the use of computer, communication and information access through computer; (3) changes among students were searching information in cybernet, personal communication through online system, computer as major issue of everyday conversation, increasing capacity on information technology, and capacity to solve computer technical problems for teachers. 2. The adoption process in school initiated by Director of school who constantly supported teachers to adopt information technology. The adoption process in school could be categorized into 4 stages : knowledge, persuasion, decision, and implementation. According to the level of use, teachers were classified into five groups : (1) those who used computer for the benefit of students, or "adorer" group with personal preference, (2) the self style, “obligation to tasks" who used computer as part of their work, (3) those who were starting to use computer (novice) which composed of "new generation" group or the ready to accept innovation and "fear to be dinosaur" group who were afraid of being left behind, (4) those who were ready to use or who followed "as the other do", and (5) the non-users, who "walked away" from technology. 3. The conditions effecting teachers' adoption of information technology in school were grouped as four components : the characteristics of innovation, the social issues, the personal matters, and the support of administrator. The characteristics of innovation had the most effect on teachers who use IT for the benefit of students. The support of administrator had the most effect on the self style and the novice. The social issues, the support of administrator, and the characteristics of innovation all had the most effect on the ready to use. The personal matters had the most effect on the non-users. | - |
dc.language.iso | th | en_US |
dc.publisher | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en_US |
dc.rights | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en_US |
dc.subject | เทคโนโลยีสารสนเทศ | en_US |
dc.subject | การยอมรับนวัตกรรม | en_US |
dc.subject | นวัตกรรมทางการศึกษา | en_US |
dc.title | กรณีศึกษากระบวนการยอมรับเทคโนโลยีสารสนเทศในโรงเรียน | en_US |
dc.title.alternative | A case study of adoption process of information technology in school | en_US |
dc.type | Thesis | en_US |
dc.degree.name | ครุศาสตรมหาบัณฑิต | en_US |
dc.degree.level | ปริญญาโท | en_US |
dc.degree.discipline | โสตทัศนศึกษา | en_US |
dc.degree.grantor | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en_US |
dc.email.advisor | Chawalert.L@Chula.ac.th | - |
dc.email.advisor | Supang.C@Chula.ac.th | - |
Appears in Collections: | Grad - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Praweenya_su_front_p.pdf | 1.04 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Praweenya_su_ch1_p.pdf | 963.29 kB | Adobe PDF | View/Open | |
Praweenya_su_ch2_p.pdf | 3.02 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Praweenya_su_ch3_p.pdf | 1.05 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Praweenya_su_ch4_p.pdf | 5.37 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Praweenya_su_ch5_p.pdf | 1.82 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Praweenya_su_back_p.pdf | 3.08 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.