Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/68931
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorพร้อมพรรณ อุดมสิน-
dc.contributor.authorเพ็ญสุดา จันทร-
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย-
dc.date.accessioned2020-10-30T03:45:50Z-
dc.date.available2020-10-30T03:45:50Z-
dc.date.issued2541-
dc.identifier.isbn9743315519-
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/68931-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2541en_US
dc.description.abstractการวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ดังนี้ 1. เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนคณิตศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ที่มีแบบการเรียนต่างกัน 2. เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนคณิตศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ที่มีความวิตกกังวลในวิชาคณิตศาสตร์ต่างกัน 3. เพื่อวิเคราะห์ปฏิสัมพันธ์ระหว่างแบบการเรียนและความวิตกกังวลในวิชาคณิตศาสตร์ที่มีต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนคณิตศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ตัวอย่างประชากรเป็นนักเรียนในระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 จำนวน 594 คน ในแผนการเรียนภาษาอังกฤษ-คณิตศาสตร์ และแผนการเรียนวิทยาศาสตร์-คณิตศาสตร์ ในโรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัดกรมมัธยมศึกษา สังกัดกรมสามัญศึกษา เขตการศึกษา 5 เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถามแบบการเรียน แบบวัดความวิตกกังวลในวิชาคณิตศาสตร์ และแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนคณิตศาสตร์ วิเคราะห์ข้อมูลด้วยการวิเคราะห์ความแปรปรวนสองทาง และเปรียบเทียบความแตกต่างของมัชฌิมเลขคณิตของผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนคณิตศาสตร์เป็นรายคู่โดยใช้วิธีของตูกี ผลการวิจัยพบว่า 1. นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ที่มีแบบการเรียนแบบมีส่วนร่วม แบบร่วมมือ แบบอิสระ แบบพึ่งพา และแบบแข่งขัน มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนคณิตศาสตร์สูงกว่านักเรียนที่มีแบบการเรียนแบบหลีกเลี่ยง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 2. นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ที่มีความวิตกกังวลในวิชาคณิตศาสตร์ปานกลางและต่ำ มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนคณิตศาสตร์สูงกว่านักเรียนที่มีความวิตกกังวลในวิชาคณิตศาสตร์สูง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 3. มีปฏิสัมพันธ์ระหว่างแบบการเรียนและความวิตกกังวลในวิชาคณิตศาสตร์ต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนคณิตศาสตร์ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05-
dc.description.abstractalternativeThe purposes of this research were : 1. to compare mathematics learning achievement of mathayom suksa three students with different learning styles. 2. to compare mathematics learning achievement of mathayom suksa three students with different level of mathematics anxiety. 3. to analyze interaction of learning styles and mathematics anxiety on mathematics learning achievement of mathayom suksa three students. The subjects were 594 mathayom suksa three students in English-Mathematics program and Science-Mathematics program from the secondary schools under the jurisdiction of the Department of General Education, educational region five. The research instruments were the learning style questionnaire, the mathematics anxiety test and the mathematics learning achievement test. The data were analyzed by means of two-way analysis of variance and compared the difference between the mean of mathematics learning achievement by means of post hoc comparison, Tukey's Honestly Significant Difference. The results of this research revealed that: 1. Mathayom suksa three students with participation, collaborative, independent and competitive learning styles had higher mathematics learning achievement than the students with avoidant learning style at the .05 level of significance. 2. Mathayom suksa three students with mathematics anxiety at the medium and low levels had higher mathematics learning achievement than the students with mathematics anxiety at the high level at the .05 level of significance. 3. There was the interaction of learning styles and mathematics anxiety on mathematics learning achievement of mathayom suksa three students at the .05 level of significance.-
dc.language.isothen_US
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.subjectคณิตศาสตร์ -- การศึกษาและการสอน (มัธยมศึกษา)en_US
dc.subjectความวิตกกังวลen_US
dc.subjectผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนen_US
dc.titleปฏิสัมพันธ์ระหว่างแบบการเรียนและความวิตกกังวลในวิชาคณิตศาสตร์ที่มีต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนคณิตศาสตร์ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3en_US
dc.title.alternativeAn interaction of learning styles and mathematics anxiety on mathematics learning achievement of mathayom suksa three studentsen_US
dc.typeThesisen_US
dc.degree.nameครุศาสตรมหาบัณฑิตen_US
dc.degree.levelปริญญาโทen_US
dc.degree.disciplineการศึกษาคณิตศาสตร์en_US
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.email.advisorPrompan.U@Chula.ac.th-
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Pensuda_ju_front_p.pdf1.03 MBAdobe PDFView/Open
Pensuda_ju_ch1_p.pdf1.35 MBAdobe PDFView/Open
Pensuda_ju_ch2_p.pdf2.29 MBAdobe PDFView/Open
Pensuda_ju_ch3_p.pdf1.35 MBAdobe PDFView/Open
Pensuda_ju_ch4_p.pdf1.09 MBAdobe PDFView/Open
Pensuda_ju_ch5_p.pdf1 MBAdobe PDFView/Open
Pensuda_ju_back_p.pdf2.58 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.