Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/69165
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorพวงแก้ว ปุณยกนก-
dc.contributor.authorสุดา เรืองปราชญ์-
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย-
dc.date.accessioned2020-11-06T04:05:38Z-
dc.date.available2020-11-06T04:05:38Z-
dc.date.issued2541-
dc.identifier.isbn9743319816-
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/69165-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2541en_US
dc.description.abstractการวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบคุณภาพของแบบสอบผลสัมฤทธิ์การสะกดคำที่มีรูปแบบการเขียนตามคำบอกต่างกัน คือ อ่านให้ฟังแล้วเลือกคำตอบ 3 ตัวเลือก, อ่านให้ฟังแล้วเลือกคำตอบ 4 ตัวเลือก และแบบเขียนตามคำบอก กลุ่มตัวอย่างเป็นนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 สังกัดสำนักงานการประถมศึกษาจังหวัด พระนครศรีอยุธยา ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2541 จำนวน 460 คน แบ่งกลุ่มตัวอย่างออกเป็น 3 กลุ่ม โดยการสุ่มได้จำนวนนักเรียนในแต่ละกลุ่มที่ทำการวิเคราะห์ดังนี้ กลุ่มที่หนึ่ง 155 คน กลุ่มที่สอง 150 คน และกลุ่มที่สาม 155 คน โดยกลุ่มตัวอย่างที่หนึ่ง ทำแบบสอบอ่านให้ฟังแล้วเลือกคำตอบ 3 ตัวเลือก กลุ่มตัวอย่างที่สอง ทำแบบสอบอ่านให้ ฟังแล้วเลือกคำตอบ 4 ตัวเลือก และกลุ่มตัวอย่างที่สามทำแบบสอบเขียนตามคำบอก วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติดังนี้ 1) หาความเที่ยงแบบความทัดเทียมกันด้วยแบบสอบคู่ขนาน 2) หาความตรงตามสภาพของแบบสอบโดยสหสัมพันธ์ แบบเพียร์สันระหว่างแบบสอบที่ผู้วิจัยสร้างกับแบบสอบ มาตรฐานวิชาภาษาไทย จากสำนักทดสอบทางการศึกษาและ จิตวิทยา มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒประสานมิตร 3) หาความตรงตามสภาพโดยให้ครูผู้สอนวิชาภาษาไทยจัดอันดับความสามารถการสะกดคำของนักเรียน กับอันดับคะแนนจากการสอบแบบสอบสะกดคำตามคำบอกโดยหาความสัมพันธ์แบบสเปียร์แมน แรงค์ 4) ความเที่ยงและความตรงของแบบสอบทั้ง 3 รูปแบบเปลี่ยนเป็นสัมประสิทธิ์ซีของฟิชเชอร์ แล้วทดสอบความแตกต่างด้วยไคสแควร์เปรียบเทียบความแตกต่างรายคู่ด้วยสถิติทดสอบซี ผลการวิจัยพบว่า 1. ความเที่ยงของแบบสอบสะกดคำตามคำบอกโดยการเขียนตามคำบอกมีคำเท่ากับ .947 สูงกว่าแบบอ่านให้ฟังแล้วเลือกคำตอบ 3 ตัวเลือกซึ่งมีคำเท่ากับ .751 และอ่านให้ฟังแล้วเลือกคำตอบ 4 ตัวเลือกมีค่าเท่ากับ .751 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ส่วนค่าความเที่ยงของแบบอ่านให้ฟังแล้วเลือกคำตอบ 3 ตัวเลือก และแบบอ่านให้ฟังแล้วเลือกคำตอบ 4 ตัวเลือกไม่แตกต่างกัน 2. ความตรงตามสภาพของแบบสอบจากการหาความสัมพันธ์ระหว่างคะแนนแบบสอบสะกดคำกับคะแนน จากแบบสอบมาตรฐาน มีค่าดังต่อไปนี้ แบบอ่านให้ฟังแล้วเลือกคำตอบ 3 ตัวเลือกมีค่าเท่ากับ .518 แบบอ่านให้ฟัง แล้วเลือกคำตอบ 4 ตัวเลือกมีค่าเท่ากับ .436 และแบบเขียนตามคำบอกมีค่าเท่ากับ .538 และความตรงตามสภาพโดยให้ครูผู้สอนจัดอันดับความสามารถการสะกดคำของนักเรียน พบว่า แบบอ่านให้ฟังแล้วเลือกคำตอบ 3 ตัวเลือกมีค่าเท่ากับ .741 แบบอ่านให้ฟังแล้วเลือกคำตอบ 4 ตัวเลือกมีค่าเท่ากับ .649 และแบบเขียนตามคำบอกมีค่าเท่ากับ .829 และเมื่อ ทดสอบความแตกต่างความตรงทั้งสองรูปแบบ พบว่าไม่แตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ-
dc.description.abstractalternativeThe purposes of this study were to compare the reliabilities and validities of different dictation formats of spelling achievement test ; dictation with three choice test , dictation with four choice test and dictation test. Four hundred and sixty Pratom Suksa six students from twelve schools in Ayutthaya were subjects of this study. They were divided into three groups of 155,150 and 155 students respectively by simple random sampling. The first group took dictation with three choice test, the second group took dictation with four choice test and the third group took dictation test. Statistics used in data analyzing were : 1) The Pearson's product moment correlation coefficient of two paralleled tests reliability. 2) The Pearson's product moment correlation coefficient of dictation test and standardized test to determine the concurrent validity of each test. 3) The Speaman’s Ranks correlation coefficient of scores ranked from spelling achievement test and ranks of spelling ability evaluated by teachers to determine the concurrent validity. 4) The reliability and validity of all tests were then transformed to the Fisher’s z coefficient and then tested by X2 The results of study were : 1. The reliability of dictation test was .947 which significantly higher than dictation with three choice test (r=.751) and dictation with four choice test (r=.751) at .05 level. There was no significantly difference between dictation with three choice test and dictation with four choice test. 2. The concurrent validities of dictation with three choice test, dictation with four choice test and dictation test using standardized test as criteria were .518, .436 and .538 respectively but when the spelling abilities ranked by teachers were used as criteria, the concurrent validities were .741, .649, and .829 respectively. There were no significantly difference among the validities of the three types of spelling achievement tests.-
dc.language.isothen_US
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.subjectภาษาไทย -- การศึกษาและการสอนen_US
dc.subjectข้อสอบ -- ความเที่ยงen_US
dc.subjectภาษาไทย -- ตัวสะกดen_US
dc.subjectภาษาไทย -- แบบทดสอบen_US
dc.titleการเปรียบเทียบคุณภาพของแบบสอบผลสัมฤทธิ์การสะกดคำที่มีรูปแบบการเขียนตามคำบอกต่างกันen_US
dc.title.alternativeA comparison of the qualities of spelling achievement test with different dictation formatsen_US
dc.typeThesisen_US
dc.degree.nameครุศาสตรมหาบัณฑิตen_US
dc.degree.levelปริญญาโทen_US
dc.degree.disciplineการวัดและประเมินผลการศึกษาen_US
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.email.advisorPuangkaew.P@Chula.ac.th-
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Suda_ru_front_p.pdf937.87 kBAdobe PDFView/Open
Suda_ru_ch1_p.pdf1.11 MBAdobe PDFView/Open
Suda_ru_ch2_p.pdf1.81 MBAdobe PDFView/Open
Suda_ru_ch3_p.pdf1.46 MBAdobe PDFView/Open
Suda_ru_ch4_p.pdf935.61 kBAdobe PDFView/Open
Suda_ru_ch5_p.pdf955.21 kBAdobe PDFView/Open
Suda_ru_back_p.pdf1.63 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.