Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/69548
Title: ความหนาแน่นแร่ธาตุของรอยผุระยะแรกด้านประชิดภายหลังการใช้น้ำยาบ้วนปากโซเดียมฟลูออไรด์ร้อยละ 0.2 สัปดาห์ละครั้งและร้อยละ 0.05 วันละครั้ง
Other Titles: Mineral density of early proximal caries lesion after use of 0.2% weekly and 0.05% daily sodium fluoride mouthrinse
Authors: ณัฏฐา สุวัณณะศรี
Advisors: ชุติมา ไตรรัตน์วรกุล
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะทันตแพทยศาสตร์
Issue Date: 2559
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบความหนาแน่นแร่ธาตุของรอยผุระยะแรกด้านประชิด ภายหลังการใช้น้ำยาบ้วนปากโซเดียมฟลูออไรด์ร้อยละ 0.05 ทุกวันเปรียบเทียบกับน้ำยาบ้วนปากโซเดียมฟลูออไรด์ร้อยละ 0.2 สัปดาห์ละครั้ง การศึกษานี้เป็นการศึกษาแบบไขว้ อำพราง 2 ฝ่าย แบ่งการทดลองเป็น 3 ช่วง ช่วงละ 28 วัน ระยะพักระหว่างการทดลอง 14 วัน ทำการสร้างรอยผุจำลองบนชิ้นฟันที่ตัดจากด้านประชิดของฟันกรามน้อยจำนวน 18 ซี่ (ชิ้นฟัน 3 ชิ้นจากฟัน 1 ซี่) อาสาสมัครจำนวน 18 คน ใส่เครื่องมือจัดฟันติดแน่นที่มีชิ้นฟันตัวอย่างที่มาจากฟันซี่เดียวกันทั้ง 3 ช่วง แบ่งอาสาสมัครเข้ากลุ่มการทดลอง และใช้น้ำยาบ้วนปากดังต่อไปนี้ ปริมาณ 10 มิลลิลิตร นาน 1 นาที (1) น้ำยาบ้วนปากปราศจากฟลูออไรด์ (2) น้ำยาบ้วนปากโซเดียมฟลูออไรด์ร้อยละ 0.05 ทุกวัน (3) น้ำยาบ้วนปากโซเดียมฟลูออไรด์ร้อยละ 0.2 สัปดาห์ละครั้งร่วมกับน้ำยาบ้วนปรากปราศจากฟลูออไรด์ในวันที่เหลือ วัดความหนาแน่นแร่ธาตุของชิ้นฟันด้วยเครื่องไมโครคอมพิวเตดโทโมกราฟี พบว่าค่าความหนาแน่นแร่ธาตุเฉลี่ยทุกกลุ่มเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.001) โดยค่าร้อยละการเปลี่ยนแปลงความหนาแน่นแร่ธาตุเฉลี่ยของกลุ่มน้ำยาบ้วนปากโซเดียมฟลูออไรด์ทั้ง 2 ความเข้มข้นมากกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.001) แต่ไม่พบความแตกต่างระหว่างน้ำยาบ้วนปากทั้ง 2 ชนิด (p=0.205) การใช้น้ำยาบ้วนปากโซเดียมฟลูออไรด์ร้อยละ 0.2 สัปดาห์ละครั้ง จะเพิ่มค่าร้อยละการเปลี่ยนแปลงความหนาแน่นแร่ธาตุเฉลี่ยในบริเวณผิวนอก ระดับชั้น 0-40 ไมโครเมตร ในขณะที่การใช้น้ำยาบ้วนปากโซเดียมฟลูออไรด์ร้อยละ 0.05 ทุกวัน ช่วยเพิ่มค่าร้อยละการเปลี่ยนแปลงความหนาแน่นแร่ธาตุเฉลี่ยในระดับชั้นที่ลึกกว่า จากการศึกษานี้แสดงให้เห็นว่าการใช้น้ำยาบ้วนปากฟลูออไรด์ทั้ง 2 ความเข้มข้นที่มีความถี่การใช้แตกต่างกัน ทำให้เกิดการคืนกลับแร่ธาตุของรอยผุระยะแรกด้านประชิดไม่แตกต่างกัน แต่ความลึกของการคืนกลับแร่ธาตุแตกต่างกัน
Other Abstract: The aim of this research was to evaluate the mineral density of early proximal caries lesion after using 0.05% NaF mouthrinse daily compared to 0.2% NaF mouthrinse weekly. A crossover, double-blinded study comprised of 3 experimental phases, each phase was 28 days long, with 14 days wash-out period. Artificial caries were formed in the enamel of proximal surface of 18 premolars (3 enamel specimens per tooth). Eighteen volunteers wore orthodontic brackets containing an enamel specimen, which was from the same tooth in all 3 phases. The volunteers were randomly assigned into 3 groups and received a one-minute rinse of 10 ml of (1) placebo mouthrinse daily (2) 0.05% NaF mouthrinse daily (3) 0.2% NaF mouthrinse weekly + placebo mouthrinse on the other days. The mean mineral density (mean MD) of all specimens was measured by Micro-CT. After treatment, the mean MD in all groups was significantly increased from baseline caries (p<0.001). The percent mean MD change of the two NaF mouthrinse groups was significantly higher than the control group (p<0.001), but no significant difference between the two test groups (p=0.205). Weekly used of 0.2% NaF mouthrinse significantly increased percent MD change in the outer layer at 0-40 µm. whereas, daily used of 0.05% NaF increased percent MD change in the deeper layer.  In conclusion, using 0.05% daily or 0.2% weekly NaF mouthrinse, combined with twice daily brushing with fluoride toothpaste, similarly increased remineralization of early proximal caries lesion but with different depth.  
Description: วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2559
Degree Name: วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: ทันตกรรมสำหรับเด็ก
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/69548
URI: http://doi.org/10.58837/CHULA.THE.2016.374
metadata.dc.identifier.DOI: 10.58837/CHULA.THE.2016.374
Type: Thesis
Appears in Collections:Dent - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
5775806032.pdf3.66 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.