Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/6960
Full metadata record
DC Field | Value | Language |
---|---|---|
dc.contributor.advisor | กิตติ อินทรานนท์ | - |
dc.contributor.author | โรสมารินทร์ สุขเกษม | - |
dc.contributor.other | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิศวกรรมศาสตร์ | - |
dc.date.accessioned | 2008-05-21T09:12:16Z | - |
dc.date.available | 2008-05-21T09:12:16Z | - |
dc.date.issued | 2546 | - |
dc.identifier.isbn | 9741734433 | - |
dc.identifier.uri | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/6960 | - |
dc.description | วิทยานิพนธ์ (วศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2546 | en |
dc.description.abstract | ศึกษาปัญหาและยืนยันสาเหตุของการปวดหลังของพยาบาล โดยใช้แนวทางชีวกลศาสตร์เปรียบเทียบข้อดีข้อด้อย ในการยกเคลื่อนย้ายผู้ป่วยตามเงื่อนไขในการทดลอง เพื่อสร้างสมการทำนายค่าแรงกดอัดสูงสุด และทำนายน้ำหนักตัวผู้ป่วยสำหรับงานการยกผู้ป่วย ค่าแรงกดอัดบริเวณหลังส่วนล่าง (L5/S1 disc) คำนวณโดยใช้แนวทางชีวกลศาสตร์ภาวะพลวัตและสถิต เพื่อนำไปเปรียบเทียบผลการทดลอง กับเกณฑ์ความปลอดภัยในการรับแรงของกระดูกสันหลังส่วนล่าง ของ NIOSH (1981) ตัวแปรอิสระคือ วิธีการยก (การยกเข้าหาตัวและออกจากตัวผู้ยก) อุปกรณ์ช่วยยก (ผ้าขวางและชุดผู้ป่วย) และน้ำหนักตัวของผู้ป่วย (น้อยกว่า 45 กก., 45-55 กก. และมากกว่า 55 กก.) ผลการทดลองพบว่า ค่าแรงกดอัดสูงสุดโดยเฉลี่ยจากการทดลองทั้ง 3 กลุ่ม มีค่าสูงกว่าเกณฑ์มาตรฐานของ NIOSH แสดงให้เห็นว่า งานการยกเคลื่อนย้ายผู้ป่วยเป็นงานที่เสี่ยงต่อการเกิดอันตราย และสามารถก่อให้เกิดอาการปวดและบาดเจ็บที่หลังได้อย่างแน่นอน สำหรับปัจจัยวิธีการยก อุปกรณ์ช่วยยกและน้ำหนักผู้ป่วยมีผลต่อค่าแรงกดอัดสูงสุด ที่เกิดขึ้นบริเวณหลังส่วนล่างอย่างมีนัยสำคัญที่ 95% โดยที่ปัจจัยน้ำหนักผู้ป่วยมีผลต่อค่าแรงกดอัดมากที่สุด ส่วนปัจจัยวิธีการยกมีผลต่อค่าแรงกดอัดสูงสุด มากกว่าปัจจัยอุปกรณ์ช่วยยกเพียงเล็กน้อย การยกผู้ป่วยออกจากตัวผู้ยกมีแนวโน้มจะเกิดค่าแรงกดอัดสูงสุด โดยเฉลี่ยมากกว่าการยกผู้ป่วยเข้าหาตัวผู้ยก การยกผู้ป่วยโดยใช้ผ้าขวางมีแนวโน้มจะเกิดค่าแรงกดอัดสูงสุด โดยเฉลี่ยมากกว่าการยกผู้ป่วยโดยใช้ชุดผู้ป่วย สมการทำนายค่าแรงกดอัดสูงสุดประกอบด้วย ตัวแปรน้ำหนักตัวผู้ป่วย น้ำหนักตัวผู้ยก และค่ากำลังสถิตของกล้ามเนื้อแขน การยกเข้าหาตัวโดยใช้ชุดผู้ป่วยให้ค่าทำนายน้ำหนักการยกที่ยอมรับได้สูงสุด จึงควรใช้รูปแบบการยกดังกล่าวสำหรับงานการยกผู้ป่วย การคำนวณแบบภาวะพลวัตและภาวะสถิต ให้ค่าแรงกดอัดสูงสุดที่หลังส่วนล่างที่ไม่แตกต่างกัน ซึ่งอาจเป็นได้ว่าความเร็วที่ใช้ในการยกผู้ป่วยไม่สูงมากนัก | en |
dc.description.abstractalternative | To prove the patient lifting task resulting in low back pain by using a biomechanical approach, to compare the different compressive forces between experimental factors, to construct predictive models for maximum compressive forces, and to estimate maximum acceptable patient weights for patient lifting task. The compressive forces on L5/S1 disc were calculated using dynamic and static models. They were also compared with NIOSH Standard (1981). The experimental factors were lifting methods (inside and outside lifting), lifting equipment (draw sheet and patient gown) and patient weights (less than 45 kg, 45-55 kg and more than 55 kg) The result showed that the average maximum compressive forces were greater than NIOSH Standard (1981) in all cases, It was confirmed that the risk of patient lifting task causing low back pain was high. Lifting methods, lifting equipment and patient weights were significant factors affecting higher compressive forces (p<0.05). Heavier patients caused higher compressive forces. Outside lifting method showed a tendency to cause more compressive forces than inside lifting method. Using draw sheet also tended to cause higher compressive forces than using patient gown. Predictive compressive force models were developed from patient weight, subject weight and arm strength. Inside lifting by patient gown could lift a heavier patient. It was recommended that this lifting method should be used for patient lifting task. It was found that the estimated compressive forces using dynamic and static models were not significantly different. This could be because the lifting speed was not too high. | en |
dc.format.extent | 5909860 bytes | - |
dc.format.mimetype | application/pdf | - |
dc.language.iso | th | es |
dc.publisher | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en |
dc.rights | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en |
dc.subject | ชีวกลศาสตร์ | en |
dc.subject | ผู้ป่วย -- การดูแล | en |
dc.subject | การทำงาน -- แง่สรีรวิทยา | en |
dc.subject | ปวดหลัง | en |
dc.subject | เออร์โกโนมิกส์ | en |
dc.title | การวิเคราะห์ชีวกลศาสตร์ของงานยกผู้ป่วยในโรงพยาบาล | en |
dc.title.alternative | Biomechanical analysis of patient-lifting tasks in a hospital | en |
dc.type | Thesis | es |
dc.degree.name | วิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต | es |
dc.degree.level | ปริญญาโท | es |
dc.degree.discipline | วิศวกรรมอุตสาหการ | es |
dc.degree.grantor | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en |
dc.email.advisor | Kitti.I@Chula.ac.th | - |
Appears in Collections: | Eng - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Rosemarin.pdf | 5.77 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.