Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/69639
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorเพ็ญพักตร์ อุทิศ-
dc.contributor.authorวราภรณ์ กันธิยะ-
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะพยาบาลศาสตร์-
dc.date.accessioned2020-11-11T11:46:00Z-
dc.date.available2020-11-11T11:46:00Z-
dc.date.issued2562-
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/69639-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (พย.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2562-
dc.description.abstractการวิจัยครั้งนี้เป็นการศึกษาเชิงพรรณนาหาความสัมพันธ์ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) ภาวะซึมเศร้าของผู้ต้องขังติดเมทแอมเฟตามีน และ 2) ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยคัดสรร ได้แก่ เพศ อายุ ประวัติเจ็บป่วยด้วยโรคเรื้อรัง ประวัติดื่มแอลกอฮอล์ ระยะเวลาการต้องโทษ การเห็นคุณค่าในตนเอง การตีตราตนเอง การเผชิญความเครียด และการสนับสนุนทางสังคม กับภาวะซึมเศร้าของผู้ต้องขังติดเมทแอมเฟตามีน กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้ต้องขังติดเมทแอมเฟตามีนเพศชายและหญิง อายุ 18 - 59 ปี ซึ่งถูกดำเนินคดีเข้ามาอยู่ในความควบคุมของเรือนจำ/ทัณฑสถาน เขตภาคเหนือตอนบน โดยวิธีการสุ่มกลุ่มตัวอย่างแบบชั้นภูมิ ได้กลุ่มตัวอย่าง จำนวน 165 ราย เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ 1) แบบคัดกรองสารเสพติด (V.2) 2) แบบประเมินอาการทางจิต (BPRS) 3) แบบสอบถามข้อมูลส่วนบุคคล 4) แบบสอบถามวัดการเผชิญความเครียด 5) แบบสอบถามวัดการเห็นคุณค่าในตนเอง 6) แบบสอบถามวัดการตีตราตนเอง 7) แบบสอบถามวัดการสนับสนุนทางสังคม และ 8) แบบประเมินภาวะซึมเศร้า (BDI-IA) เครื่องมือทุกชุดผ่านการตรวจความตรงเชิงเนื้อหาจากผู้ทรงคุณวุฒิ 5 ท่าน เครื่องมือชุดที่ 2 และ 4 - 8 มีค่าความเที่ยง สัมประสิทธิ์อัลฟาของครอนบาค เท่ากับ .82, .87, .86, .82, .83 และ .91 ตามลำดับ วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงบรรยาย และทดสอบความสัมพันธ์ด้วยสถิติไคสแควร์ สหสัมพันธ์พอยท์ไบซีเรียล และสหสัมพันธ์เพียร์สัน สรุปผลการวิจัยได้ ดังนี้ 1. ผู้ต้องขังติดเมทแอมเฟตามีนส่วนใหญ่ คิดเป็นร้อยละ 33.9 มีภาวะซึมเศร้าในระดับปานกลาง และเมื่อพิจารณาภาพรวมพบว่ามีภาวะซึมเศร้าระดับปานกลาง มาก และรุนแรง สูงถึงร้อยละ 52 2. การเผชิญความเครียด แบบมุ่งจัดการกับปัญหาโดยใช้ความสามารถของตนเอง แบบมุ่งจัดการกับปัญหาโดยอาศัยแหล่งสนับสนุนอื่น ๆ และแบบหลีกเลี่ยงปัญหา มีความสัมพันธ์กับภาวะซึมเศร้าของผู้ต้องขังติดเมทแอมเฟตามีน (c2= 94.23; p<.05) 3. ระยะเวลาการต้องโทษ และการตีตราตนเอง มีความสัมพันธ์ทางบวกกับภาวะซึมเศร้าของผู้ต้องขังติดเมทแอมเฟตามีน (r = .446 และ .340; p<.05 ตามลำดับ) 4. อายุ การเห็นคุณค่าในตนเอง และการสนับสนุนทางสังคม มีความสัมพันธ์ทางลบกับภาวะซึมเศร้าของผู้ต้องขังติดเมทแอมเฟตามีน (r = -.292, -.404 และ -.396; p<.05 ตามลำดับ) ส่วน เพศ ประวัติเจ็บป่วยด้วยโรคเรื้อรัง ประวัติดื่มแอลกอฮอล์ พบว่า ไม่มีความสัมพันธ์กับภาวะซึมเศร้าของผู้ต้องขังติดเมทแอมเฟตามีน-
dc.description.abstractalternativeThe purposes of this descriptive correlation research were: 1) to examine depression of prisoner with methamphetamine dependence, and 2) to study the relationships between selected factors including gender, age, history of illness with chronic disease, history of alcohol consumption, time of punishment, self-esteem, self-stigma, coping with stress, and social support with the depression of prisoners. A total sample of 165 prisoners, who met the inclusion criteria, was stratified random sampling from prisons/correctional located in upper north region. Research instruments consist of 1) The Addiction Scale (V.2), 2) The Psychiatric Assessment Scale (BPRS), 3) demographic data sheet, 4) The Coping Scale, 5) The Self-Esteem Scale, 6) The Self-Stigma Scale, 7) The Social support Scale, and 8) The Depression Scale (BDI-IA). All instruments were validated for content validity by 5 experts and tested for reliability. The Cronbach’s Alpha coefficient reliability of the 2nd, and 4th to 8th instrument was .82, .87, .86, .82, .83 and .91, respectively. Statistic techniques utilized in data analysis were percentage, mean, standard deviation, Chi-square, Point biserial correlation and Pearson’s Product Moment correlation. Findings were summarized as follow: 1. The margority of prisoners with methamphetamine dependence had moderate depression (33.9%). By overall most of them (52%) had depression in a moderate, high, and severe levels. 2. Coping by problem-solving with self-efficacy, by using other support resources, and avoidance coping were associated with depression among prisoners (c2= 94.23; p<.05). 3. Period of punishment and self-stigmatization was positively associated with depression among prisoners (r = .446 and .340; p<.05, respectively). 4. Age, self-esteem and social support had a negative correlation with depression among prisoners with methamphetamine dependence with (r = -.292, -.404 and -.396; p<.05, respectively). Gender, history of Illness, and history of alcohol consumption was not significantly correlated to depression among this population.-
dc.language.isoth-
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย-
dc.relation.urihttp://doi.org/10.58837/CHULA.THE.2019.1005-
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย-
dc.subjectเมทแอมฟิตะมิน-
dc.subjectความซึมเศร้า-
dc.subjectนักโทษ-
dc.subjectMethamphetamine-
dc.subjectDepression, Mental-
dc.subjectPrisoners-
dc.titleปัจจัยคัดสรรที่มีความสัมพันธ์กับภาวะซึมเศร้าของผู้ต้องขังติดเมทแอมเฟตามีน-
dc.title.alternativeSelected factors related to depression of prisoners with methamphetamine dependence-
dc.typeThesis-
dc.degree.nameพยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต-
dc.degree.levelปริญญาโท-
dc.degree.disciplineพยาบาลศาสตร์-
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย-
dc.identifier.DOI10.58837/CHULA.THE.2019.1005-
Appears in Collections:Nurse - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
6077309436.pdf4.89 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.