Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/69661
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorวิราภรณ์ โพธิศิริ-
dc.contributor.authorฤทธิเกียรติ งามสมศักดิ์-
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. วิทยาลัยประชากรศาสตร์-
dc.date.accessioned2020-11-11T11:50:13Z-
dc.date.available2020-11-11T11:50:13Z-
dc.date.issued2562-
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/69661-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (ศศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2562-
dc.description.abstractการศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) รายงานสถานการณ์ของการรายงานภาวะมีบุตรยาก และ 2) ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการรายงานภาวะมีบุตรยาก ด้วยปัจจัยทางประชากร ปัจจัยอนามัยเจริญพันธุ์ ปัจจัยทางเศรษฐกิจและสังคม ปัจจัยสุขภาพ และปัจจัยของคู่สมรส ของสตรีวัยเจริญพันธุ์ที่มีสถานภาพกำลังสมรสแต่ยังไม่เคยมีบุตรในประเทศไทย การศึกษาครั้งนี้ใช้ข้อมูลการสำรวจระดับประเทศซึ่งเป็นข้อมูลเชิงปริมาณจากการสำรวจของโครงการการเปลี่ยนแปลงทางประชากรและความอยู่ดีมีสุขในบริบทสังคมสูงวัย ของวิทยาลัยประชากรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ซึ่งดำเนินการจัดเก็บข้อมูลในเดือนมิถุนายนถึงกันยายม พ.ศ.2559 มีกลุ่มประชากรตัวอย่างเป็นสตรีวัยเจริญพันธุ์ที่มีอายุระหว่าง 15 ถึง 49 ปี โดยการศึกษาครั้งนี้คัดเลือกเฉพาะสตรีที่มีอายุระหว่าง 25 ถึง 49 ปี มีสถานภาพกำลังสมรสแต่ยังไม่เคยมีบุตร และมีข้อมูลสำหรับการวิเคราะห์ที่สมบูรณ์ทั้งหมด 548 ราย การวิเคราะห์ข้อมูลในการศึกษานี้ใช้การวิเคราะห์ถดถอยโลจิสติกทวิภาค (Binary Logistic Regression Analysis) โดยมีตัวแปรตามเป็นการรายงานภาวะมีบุตรยากของสตรี กำหนดให้ 0 แสดงถึงสตรีที่ไม่มีการรายงานภาวะมีบุตรยาก (กลุ่มอ้างอิง) 1 แสดงถึง สตรีที่รายงานภาวะมีบุตรยาก ผลการศึกษาพบว่า สตรีมากกว่าครึ่ง คิดเป็นร้อยละ 51.5 รายงานภาวะมีบุตรยาก ซึ่งส่วนใหญ่มีอายุระหว่าง 35 ถึง 39 ปี โดยร้อยละ 61 ของสตรีกลุ่มนี้รายงานว่าตนเองมีบุตรยาก ทั้งนี้เมื่อวิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรอิสระกับการรายงานภาวะมีบุตรยากพบว่า ปัจจัยทางประชากร ได้แก่ อายุของสตรี จำนวนบุตรที่ปรารถนา ปัจจัยอนามัยเจริญพันธุ์ ได้แก่ การใช้การคุมกำเนิด การแท้ง ปัจจัยทางเศรษฐกิจและสังคม ได้แก่ ระดับการศึกษาสตรี เขตที่อยู่อาศัย มีความสัมพันธ์กับการรายงายภาวะมีบุตรยากของสตรี-
dc.description.abstractalternativeThis study aims to explore the situation and determinants, consists of demographic, reprodutive health, socioeconomic, health and spouse of self-reported among reproductive women in Thailand. The study used quantitative data from Survey of Population Change and Well-being in the Context of Aging Society (PCWAS) conducted by College of Population Studies, Chulalongkorn University in 2016. The survey sample, comprising 9,457 women aged between 15 and 49 years old, is restricted to currently married women without any child. Finding the association between determinants and self-reported infertility, the sample is further limited to women aged between 25 and 49 years old, and who provided complete information to all variables used in the analysis. By these restrictions, women who aged 15 to 24 years old were excluded from the analysis and the size of final sample is 548 women. Results show that more than a half of women (51.5%) reported infertility. Most of all, who reported infertility, aged between 35 to 39 years old (61%). The result from Binary Logistic Regression Analysis with all other variables controlled indicate age, number of children wanted, contraceptive use, abortion,  education level and place of residence are significantly associated with self-reported infertility including both women and spouse reported. -
dc.language.isoth-
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย-
dc.relation.urihttp://doi.org/10.58837/CHULA.THE.2019.960-
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย-
dc.subjectการเป็นหมันในหญิง-
dc.subjectInfertility, Female-
dc.subject.classificationSocial Sciences-
dc.titleสถานการณ์และปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับภาวะมีบุตรยากของสตรีไทย : ข้อค้นพบจากการสำรวจระดับประเทศ-
dc.title.alternativeSituation and determinants of infertility among women in Thailand : finding from National Survey-
dc.typeThesis-
dc.degree.nameศิลปศาสตรมหาบัณฑิต-
dc.degree.levelปริญญาโท-
dc.degree.disciplineประชากรศาสตร์-
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย-
dc.email.advisorWiraporn.P@Chula.ac.th-
dc.subject.keywordภาวะมีบุตรยาก-
dc.subject.keywordปัจจัยทางประชากร-
dc.subject.keywordปัจจัยทางเศรษฐฏิจและสังคม-
dc.subject.keywordปัจจัยสุขภาพ-
dc.subject.keywordปัจจัยของคู่สมรส-
dc.subject.keywordปัจจัยอนามัยเจริญพันธุ์-
dc.subject.keywordInfertility-
dc.subject.keywordDemographic Determinants-
dc.subject.keywordSocioeconomic Determinants-
dc.subject.keywordHealth Status Determinants-
dc.subject.keywordSpouse Determinants-
dc.subject.keywordReproductive Heath Determinants-
dc.identifier.DOI10.58837/CHULA.THE.2019.960-
Appears in Collections:Pop - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
6186902051.pdf1.18 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.