Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/69919
Title: การเปลี่ยนแปลงเชิงสัณฐานชุมชนคลองโอ่งอ่างและชุมชนสะพานหัน
Other Titles: Morphological transformation of Klong Ong-Ang community and Saphan Han community
Authors: เทพพิทักษ์ นิลวรรณ์
Advisors: เทิดศักดิ์ เตชะกิจขจร
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์
Issue Date: 2562
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: ชุมชนคลองโอ่งอ่างและชุมชนสะพานหัน เป็นชุมชนที่มีความสำคัญและประวัติศาสตร์ยาวนานในพื้นที่กรุงรัตนโกสินทร์ชั้นนอก ซึ่งมีองค์ประกอบทางกายภาพที่สำคัญคือ คลองโอ่งอ่าง ประตูเมือง สะพานหัน บ้านเจ้านาย เรือนแถว และตรอกซอกซอย สะท้อนให้เห็นความสำคัญและความหลากหลายของการใช้พื้นที่ชุมชนเป็นอย่างมาก จากการสำรวจพื้นที่ในปัจจุบันพบว่า ชุมชนยังคงสภาพการตั้งถิ่นฐานและสถาปัตยกรรมแบบเดิมอยู่ ในขณะที่พื้นที่ใกล้เคียงในบริบทเดียวกันเกิดการพัฒนาเปลี่ยนแปลงเชิงพาณิชย์อย่างต่อเนื่อง ด้วยเหตุนี้การศึกษาการเปลี่ยนแปลงเชิงสัณฐานของชุมชนคลองโอ่งอ่างและชุมชนสะพานหันจึงเป็นการศึกษาที่สำคัญสะท้อนให้เห็นถึงเหตุและปัจจัยการยังคงสภาพการตั้งถิ่นฐานและสถาปัตยกรรมแบบเดิมอยู่ รวมถึงความหลากหลายของการใช้พื้นที่ตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน จากการศึกษาในพื้นที่ศึกษาพบว่า ปัจจัยเชิงพื้นที่ที่เป็นจุดเปลี่ยนสำคัญประกอบด้วย 2 ปัจจัยได้แก่ 1) การพัฒนาเครือข่ายเส้นทางสัญจรสมัยรัชกาลที่ 5  และ2) การพัฒนาแปลงที่ดินสมัยรัชกาลที่ 5  ส่งผลให้ค้นพบประเด็น 3 ข้อได้แก่ 1) ลักษณะการเปลี่ยนรูปแปลงที่ดินและการใช้งานที่ดินชุมชน 3 รูปแบบคือ รูปแปลงที่คงเดิม รูปแปลงที่ดินซอยแปลง และรูปแปลงที่ดินผสม 2) พัฒนาการเส้นทางสัญจร 3 ช่วงเวลาคือ ช่วงที่ 1 เป็นแรกเริ่มของเส้นทางตรอกหลักและตรอกรอง ช่วงที่ 2 เป็นการพัฒนาตรอกและตัดถนนใหม่ และช่วงที่ 3 เป็นการพัฒนาตรอกย่อยภายในแปลงที่ดิน ซึ่งปัจจัยที่ส่งผลต่อการเปลี่ยนแปลงคือ ลักษณะดั้งเดิม การพัฒนาภายนอกชุมชน การพัฒนาภายในชุมชน และการพัฒนาภายในแปลง และ 3) สัณฐานการใช้พื้นตรอกซอกซอยของชุมชน ทำให้เกิดเอกลักษณ์ที่สำคัญคือ ตรอกยาฉุน ตรอกขี้หมา และตรอกแคบ ซึ่งเกิดจากปัจจัยคือ แปลงที่ดินและการใช้งานมาก่อนกฎหมาย และการพัฒนาภายในแปลง  ซึ่งทั้งสามข้อค้นพบทำให้ชุมชนการยังคงสภาพการตั้งถิ่นฐานและสถาปัตยกรรมแบบเดิมอยู่ รวมถึงความหลากหลายของการใช้พื้นที่ตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน ตลอดจนปัจจัยด้านอื่นๆ ที่มีผลต่อการเปลี่ยนแปลงซึ่งอาจมีการศึกษาในอนาคตต่อไป 
Other Abstract: Khlong Ong Ang Community and Sapan Han Community is an important community with a long history of the outer Rattanakosin area. There are important physical components such as canal, city gates, bridges, houses, lords, row houses and alleyways which substantially reflecting the importance and diversity of the use of community space. From the current survey of the area found that  the community still retains its original settlement and architecture. While nearby areas in the same context has continuously and commercially developed and changed. For this reason, the morphological study of Khlong Ong Ang and Saphan Han communities is an important study that reflects the cause and the factor of the community still retains its original settlement and architecture and the diversity of land utility from the past to the present. From the study in the study area, it was found that the spatial factors are the important turning points consist of 2 factors which are 1) the development of the road network during the reign of King Rama V and 2) the development of land parcels during the reign of King Rama V. These result in discovering 3 points, namely 1) the transformation of land parcel and utility of community land in 3 forms including the fixed land parcel, subdivide land parcel and the mixed land parcel 2) The development of the road network 3 periods including the first phase, the start point of the main alley and the sub alley. The second phase is the development of new alleyways and roads. The third phase is the development of sub alley in the land parcel. The factors that effect the changes are original features, community's external development, community's internal development, and 3) features of using community's alleys and alleyways resulting in creation of important characteristics such as drug alley (Trok ya choon), dogsled alley (Trok kee  ma) and narrow alleys. These are caused by factors that land parcel came before law and the development in the land parcel. In which all three discoveries lead to the community, preservation of the original settlements and architecture. Including a variety of uses from the past to the present As well as other factors Which affects the changes which may be studied in the future.
Description: วิทยานิพนธ์ (สถ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยม 2562
Degree Name: สถาปัตยกรรมศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: สถาปัตยกรรม
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/69919
URI: http://doi.org/10.58837/CHULA.THE.2019.1367
metadata.dc.identifier.DOI: 10.58837/CHULA.THE.2019.1367
Type: Thesis
Appears in Collections:Arch - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
6270013125.pdf6.69 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.