Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/69997
Title: กลยุทธ์การบริหารงานวิชาการโรงเรียนการศึกษาสงเคราะห์ตามแนวคิดพหุปัญญาและอาชีพในอนาคต
Other Titles: Welfare school academic management strategies based on the concept of multiple intelligences and future careers
Authors: กษิฎิฏฏ์ มีพรหม
Advisors: สุกัญญา แช่มช้อย
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะครุศาสตร์
Issue Date: 2562
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อศึกษากรอบแนวคิดของการบริหารงานวิชาการ กรอบแนวคิดพหุปัญญาและอาชีพในอนาคต 2) เพื่อศึกษาสภาพปัจจุบันและสภาพที่พึงประสงค์ของการบริหารงานวิชาการโรงเรียนการศึกษาสงเคราะห์ตามแนวคิดพหุปัญญาและอาชีพในอนาคต 3) เพื่อพัฒนากลยุทธ์การบริหารงานวิชาการโรงเรียนการศึกษาสงเคราะห์ตามแนวคิดพหุปัญญาและอาชีพในอนาคต โดยใช้การวิจัยแบบผสมวิธีพหุระยะ ประชากรที่ศึกษาคือ โรงเรียนการศึกษาสงเคราะห์  โดยศึกษากลุ่มตัวอย่างจำนวน 49 โรงเรียน ผู้ให้ข้อมูลประกอบด้วยผู้อำนวยการโรงเรียน รองผู้อำนวยการ หัวหน้ากลุ่มสาระ และครูแนะแนว รวมทั้งสิ้น 363  คนจากทั้งหมด 490 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือ แบบสอบถาม ลักษณะเป็นแบบมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ สถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ยเลขคณิต ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์ความต้องการจำเป็น (PNIModified)  ผลการวิจัย พบว่า 1) กรอบแนวคิดของการบริหารงานวิชาการ ประกอบด้วย (1) การพัฒนาหลักสูตร (2) การจัดการเรียนรู้ (3) การวัดและประเมินผล กรอบแนวคิดพหุปัญญา ประกอบด้วย 9 ด้าน คือ (1) ความฉลาดทางปัญญาด้านภาษา (2) ความฉลาดทางปัญญาด้านตรรกะและคณิตศาสตร์ (3) ความฉลาดทางปัญญาด้านมิติสัมพันธ์ (4) ความฉลาดทางปัญญาด้านการเคลื่อนไหวทางร่างกาย (5) ความฉลาดทางปัญญาด้านดนตรี (6) ความฉลาดทางปัญญาด้านการปฏิสัมพันธ์ร่วมกับผู้อื่น (7) ความฉลาดทางปัญญาด้านความเข้าใจตนเอง (8) ความฉลาดทางปัญญาด้านธรรมชาติวิทยา (9) ความฉลาดทางปัญญาด้านการเข้าใจการมีชีวิต กรอบแนวคิดอาชีพในอนาคต ประกอบด้วย 6 กลุ่ม คือ (1) กลุ่มงานเกษตรกรรม และแหล่งทรัพยากรธรรมชาติ (2) กลุ่มงานศิลปะ การแสดง และเทคโนโลยีสารสนเทศ (3) กลุ่มงานอุตสาหกรรมและวิศวกรรม (4) กลุ่มงานการแพทย์และวิทยาศาสตร์สุขภาพ (5) กลุ่มงานพัฒนาและความมั่นคงของมนุษย์ (6) กลุ่มงานธุรกิจ การตลาดและการจัดการ 2) สภาพปัจจุบันและสภาพที่พึงประสงค์ของการบริหารงานวิชาการโรงเรียนการศึกษาสงเคราะห์ตามแนวคิดพหุปัญญาและอาชีพในอนาคต สภาพปัจจุบันในภาพรวมอยู่ในระดับปานกลาง ด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงที่สุด คือ ด้านการพัฒนาหลักสูตร ส่วนสภาพที่พึงประสงค์ในภาพรวมอยู่ในระดับมาก ด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงที่สุด คือ ด้านการพัฒนาหลักสูตร ส่วนความต้องการจำเป็นโดยภาพรวมตามแนวคิดพหุปัญญา พบว่า ความฉลาดทางปัญญาด้านตรรกะและคณิตศาสตร์มีความต้องการจำเป็นสูงสุด ตามแนวคิดอาชีพในอนาคต พบว่า กลุ่มงานการแพทย์และวิทยาศาสตร์สุขภาพมีค่าความต้องการจำเป็นสูงสุด 3) กลยุทธ์การบริหารงานวิชาการโรงเรียนการศึกษาสงเคราะห์ตามแนวคิดพหุปัญญาและอาชีพในอนาคต มี 6 กลยุทธ์หลัก 11 กลยุทธ์รอง 48 วิธีดำเนินการ กลยุทธ์หลัก  ได้แก่ (1) ปฏิรูปหลักสูตรสถานศึกษา เพื่อเสริมสร้างความสามารถการประกอบอาชีพในอนาคตของนักเรียน และยกระดับคุณภาพการดำเนินชีวิตให้ดีขึ้น (2) พัฒนาหลักสูตรสถานศึกษาเพื่อเสริมสร้างพหุปัญญาของนักเรียน (3) พลิกโฉมกิจกรรมการเรียนรู้และการแนะแนว เพื่อเสริมสร้างความสามารถประกอบอาชีพในอนาคตและยกระดับคุณภาพการดำเนินชีวิตให้ดีขึ้น (4) ขับเคลื่อนกิจกรรมการเรียนรู้และการแนะแนวเพื่อเสริมสร้างพหุปัญญาของนักเรียน (5) สร้างความเข้มแข็งในการวัดและประเมินตามสภาพจริงเพื่อเสริมสร้างความสามารถการประกอบอาชีพในอนาคตของนักเรียน และยกระดับคุณภาพการดำเนินชีวิตให้ดีขึ้น (6) พัฒนาประสิทธิผลในการวัดและประเมินสภาพจริงเพื่อเสริมสร้างพหุปัญญาของนักเรียนเป็นรายบุคคล.
Other Abstract: The research objectives were 1) to study the conceptual framework of Welfare School Academic Management Strategies Based On the Concept of Multiple Intelligences and Future Careers 2) to study the current conditions and desirable conditions of Welfare School Academic Management Strategies Based On the Concept of Multiple Intelligences and Future Careers 3) To develop academic management strategies of Welfare School Academic Management Strategies Based On the Concept of Multiple Intelligences and Future Careers By The research applied a multiphase mixed method research through quantitative data collection and qualitative date collection. The population studied was Welfare School.  The samples were 49 schools. The study informants consisted of 363 out of 490 directors, deputy directors, head of teaching group, and guidance teacher from welfare school. The research instruments were conceptual framework evaluation form, questionnaires and strategic evaluation form to testify feasibility and appropriateness of the strategies. The data were analyzed by frequency, percentage, mean, standard deviation PNIModified and content analysis. The results were as follows: 1) Conceptual framework of academic administration consists of (1) Curriculum development (2) Instructure (3) Measurement and evaluation Conceptual framework of Multiple Intelligence consists of (1) Linguistic Intelligence (2) Logical/Mathematical Intelligence (3) Spatial Intelligence  (4) Bodily/Kinesthetic Intelligence (5) Musical Intelligence (6) Interpersonal Intelligence (7) Intrapersonal Intelligence (8) Natural Intelligence (9) Intelligence of Existentialism Conceptual framework of Future Career consists of (1) Agriculture, Food and Natural Resources (2) Communications and Information systems (3) Engineering Manufacturing and Technology (4) Medical and Health Science (5) Human Services (6) Business Management and Administration 2) The current state as a whole was at the moderate level. The highest average value was curriculum development. While the desirable state as a whole was at the high level. The highest average value was curriculum development. The needs of Welfare School Academic Management Strategies Based on the Concept of Multiple Intelligences Logical/Mathematical Intelligence ranked first. While the Concept of Future Careers Medical and Health Science ranked first. 3) Welfare School Academic Management Strategies Based on the Concept of Multiple Intelligences and Future Careers consisted of 6 main strategies 11 sub strategies 48 procedures. Main strategies: (1) School curriculum reform to strengthen the future career capacity of student and improve the quality of life (2) Develop the school curriculum to strengthen the student's Multiple Intelligences. (3) Transform learning activities and guidance In order to strengthen the future career abilities and improve the quality of life (4) Drive learning activities and guidance to strengthen student's Multiple Intelligences (5) Strengthen authentic assessment in order to enhance the future career abilities of student and improve the quality of life (6) Developing the effectiveness of authentic assessment in order to strengthen Multiple Intelligences of each student individually.
Description: วิทยานิพนธ์ (ค.ด.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2562
Degree Name: ครุศาสตรดุษฎีบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาเอก
Degree Discipline: บริหารการศึกษา
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/69997
URI: http://doi.org/10.58837/CHULA.THE.2019.936
metadata.dc.identifier.DOI: 10.58837/CHULA.THE.2019.936
Type: Thesis
Appears in Collections:Edu - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
5984251227.pdf17.56 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.