Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/70006
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorสลา สามิภักดิ์-
dc.contributor.authorพิณภัทรา เวทย์วิทยานุวัฒน์-
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะครุศาสตร์-
dc.date.accessioned2020-11-11T13:34:26Z-
dc.date.available2020-11-11T13:34:26Z-
dc.date.issued2562-
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/70006-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2562-
dc.description.abstractการวิจัยครั้งนี้เป็นการทดลองเบื้องต้น มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์พัฒนาการความสามารถในการคิดเชิงระบบ เรื่อง ระบบร่างกายมนุษย์ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้นหลังได้รับการจัดการเรียนรู้ด้วยวัฏจักรการเรียนรู้ 5E ร่วมกับการใช้ผังกราฟิกเชื่อมโยงความคิด กลุ่มที่ศึกษา คือ นักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ในโรงเรียนขนาดใหญ่ แห่งหนึ่งในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 2 กระทรวงศึกษาธิการ ในเขตกรุงเทพมหานคร จำนวน 1 ห้องเรียน (25 คน) การวิจัยดำเนินการเก็บรวบรวมข้อมูลในภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2562 โดยมีเครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวมข้อมูล คือ (1) แผนการจัดการเรียนรู้ด้วยวัฏจักรการเรียนรู้ 5E ร่วมกับผังกราฟิกเชื่อมโยงความคิด และ (2) แบบประเมินการคิดเชิงระบบ เรื่อง ระบบร่างกายมนุษย์ จำนวน 5 แบบประเมิน ที่ใช้ในการตรวจผังมโนทัศน์การคิดเชิงระบบของนักเรียนที่ตอบคำถามสำคัญเกี่ยวกับ ระบบหมุนเวียนเลือด ระบบหายใจ ระบบขับถ่าย ระบบประสาท และหัวข้อประยุกต์หลายระบบภายในร่างกาย ตามลำดับ วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน คะแนนที และร้อยละคะแนนพัฒนาการ ผลการวิจัยพบว่า นักเรียนส่วนใหญ่มีความสามารถในการคิดเชิงระบบเรื่อง การประยุกต์รวมระบบร่างกายมนุษย์ อยู่ในระดับปานกลาง ระบบร่างกายที่นักเรียนส่วนใหญ่มีการคิดเชิงระบบระดับสูง คือ ระบบหมุนเวียนเลือด ระบบร่างกายที่นักเรียนส่วนใหญ่มีการคิดเชิงระบบระดับปานกลาง คือ ระบบหายใจ และระบบขับถ่าย และระบบร่างกายที่นักเรียนส่วนใหญ่มีการคิดเชิงระบบระดับต่ำ คือ ระบบประสาท เมื่อพิจารณาพัฒนาการความสามารถในการคิดเชิงระบบที่คำนวณค่าพัฒนาการเปรียบเทียบระหว่างเรื่อง ระบบหายใจ และการประยุกต์รวมระบบร่างกายมนุษย์ พบว่า นักเรียนมีความสามารถในการคิดเชิงระบบสูงขึ้นจำนวน 14 คน คิดเป็นร้อยละ 56.00 และนักเรียนมีความสามารถในการคิดเชิงระบบลดลงจำนวน 11 คน คิดเป็นร้อยละ 44.00-
dc.description.abstractalternativeThis research was a pre-experimental design. The purpose of this study was to analyze the development of lower secondary school students' systems thinking abilities in human body systems after learning the topic with 5E learning cycle and concept-linking graphic organizer. The samples included 25 eighth grade students from a large sized school under the Secondary Educational Service Area Office 2, Ministry of Education, Bangkok. Data were collected during the first semester of 2019 academic year. The research data collection instruments included (1) the human systems lesson plans that incorporated 5E learning cycle and concept-linking graphic organizer; and (2) five assessment forms to evaluate systems thinking of the students based on their answers to the critical questions about the circulatory system, the respiratory system, the excretory system, the nervous system and the integration of multiple systems within the human body. The collected data were analyzed by arithmetic mean, mean percentage, standard deviation, T-score and percentage increase.              Overall, the results of the research showed that most of the students developed medium-level systems thinking abilities on the integration of multiple systems within the human body. Considering each of the lessons, the lesson on which most of the students had high-level systems thinking abilities was the circulatory system. The lessons on which most students had medium-level systems thinking abilities were the respiratory system and the excretory system. Additionally, the nervous system was the only lesson that most students showed low-level systems thinking abilities. Considering the students’ development of systems thinking abilities using the percentage increase of the scores  for the respiratory system and for the integration of multiple systems within the human body, fourteen students (55 percent of the total sample) improved their systems thinking abilities; while eleven students (44 percent of the total sample) showed a decrease in their systems thinking abilities.-
dc.language.isoth-
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย-
dc.relation.urihttp://doi.org/10.58837/CHULA.THE.2019.745-
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย-
dc.subject.classificationSocial Sciences-
dc.titleการพัฒนาความสามารถในการคิดเชิงระบบเรื่อง ระบบร่างกายมนุษย์ ของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนต้น โดยใช้วัฏจักรการเรียนรู้ 5E ร่วมกับผังกราฟิกเชื่อมโยงความคิด-
dc.title.alternativeDevelopment of lower secondary school students' systems thinking abilities in human body systems using 5e learning cycle and concept-linking graphic organizer-
dc.typeThesis-
dc.degree.nameครุศาสตรมหาบัณฑิต-
dc.degree.levelปริญญาโท-
dc.degree.disciplineการศึกษาวิทยาศาสตร์-
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย-
dc.subject.keywordการคิดเชิงระบบ-
dc.subject.keywordระบบร่างกายมนุษย์-
dc.subject.keywordวัฏจักรการเรียนรู้ 5E-
dc.subject.keywordผังกราฟิกเชื่อมโยงความคิด-
dc.subject.keywordSystems thinking-
dc.subject.keywordHuman body systems-
dc.subject.keyword5E learning cycle-
dc.subject.keywordgraphic organization-
dc.identifier.DOI10.58837/CHULA.THE.2019.745-
Appears in Collections:Edu - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
6083340727.pdf3.71 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.