Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/70027
Title: การวิจัยและพัฒนาโมบายแอปพลิเคชันเพื่อสนับสนุนการใช้การวิเคราะห์วาทกรรมพลเมืองของครูในการส่งเสริมความเป็นพลเมืองของนักเรียน
Other Titles: Research and development of mobile application for supporting teachers to use civic discourse analysis in enhancing students’ citizenship
Authors: กัมปนาท ไชยรัตน์
Advisors: สุวิมล ว่องวาณิช
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะครุศาสตร์
Issue Date: 2562
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: วาทกรรมพลเมืองมีความสำคัญอย่างมากต่อการจัดการศึกษาเพื่อสร้างความเป็นพลเมืองเพราะเป็นการแสดงการให้ความสนใจในประเด็นของสังคมรอบตัวผ่านกระบวนการแสดงความคิดเห็นที่ต้องใช้วาทศิลป์บนพื้นฐานของเหตุผลและหาข้อสรุปในประเด็นนั้น ๆ ร่วมกัน การวิจัยในครั้งนี้จึงมีวัตถุประสงค์คือ 1) เพื่อพัฒนาเครื่องมือสังเกตชั้นเรียนเพื่อวิเคราะห์ลักษณะของวาทกรรมพลเมืองในชั้นเรียน 2) เพื่อวิเคราะห์บทบาทของครูในการส่งเสริมวาทกรรมพลเมืองและพฤติกรรมที่สะท้อนความเป็นพลเมืองของนักเรียนในชั้นเรียน 3) เพื่อออกแบบและพัฒนาโมบายแอปพลิเคชันที่ส่งเสริมให้ครูใช้วาทกรรมพลเมืองในการพัฒนาความเป็นพลเมืองของนักเรียน และ 4) เพื่อประเมินผลการใช้งานโมบายแอปพลิเคชันที่พัฒนาขึ้นในมุมมองของผู้ใช้ การวิจัยแบ่งออกเป็น 3 ระยะ คือ ระยะที่ 1 เป็นการวิเคราะห์วาทกรรมพลเมืองในชั้นเรียน ผู้วิจัยพัฒนาและตรวจสอบคุณภาพเครื่องมือสังเกตชั้นเรียนโดยผู้เชี่ยวชาญ 3 คน เพื่อนำใช้บันทึกข้อมูลพฤติกรรมของครูและนักเรียน จำนวน 8 ชั้นเรียนและบันทึกเสียงระหว่างการอภิปรายในชั้นเรียน โดยตัวอย่างวิจัยคือครูสังคมศึกษา จำนวน 6 คน และนักเรียนระดับมัธยมศึกษาจำนวน 232 คน จากนั้นจึงนำข้อมูลเชิงคุณภาพที่ได้มาวิเคราะห์ตามกรอบวาทกรรมพลเมืองของ Habermas เพื่อศึกษาบทบาทของครูในการส่งเสริมวาทกรรมพลเมืองและวิเคราะห์พฤติกรรมที่แสดงออกถึงคุณลักษณะความเป็นพลเมืองของนักเรียนในชั้นเรียน ระยะที่ 2 เป็นการพัฒนาฟังก์ชันการทำงานหลักของโมบายแอปพลิเคชัน คือ ชุดคำถามแบบสถานการณ์จำลองเพื่อใช้ประเมินทักษะการวิเคราะห์วาทกรรมพลเมืองของครู และชุดคำถามสำหรับวิเคราะห์คุณลักษณะความเป็นพลเมืองของนักเรียน และระยะที่ 3 เป็นการพัฒนาโครงสร้างและฟังก์ชันการทำงานของโมบายแอปพลิเคชันอื่นเพิ่มเติมและนำโมบายแอปพลิเคชันไปทดลองใช้กับครูสังคมศึกษาจำนวน 10 คน และประเมินผลการใช้งานด้วยแบบสอบถามมาตรประมาณค่า 7 ระดับ ผลการวิจัยพบว่า 1. เครื่องมือสังเกตชั้นเรียนที่พัฒนาขึ้นมีความเหมาะสมที่จะนำไปใช้ในการสังเกตชั้นเรียนเพื่อให้ได้ข้อมูลสำหรับการวิเคราะห์วาทกรรมในชั้นเรียน 2. บทบาทของครูในการส่งเสริมวาทกรรมพลเมืองที่พบในแต่ละชั้นเรียนมีความแตกต่างกัน ในภาพรวมของทุกชั้นเรียน พบว่า ครูมีบทบาทในการอำนวยการเข้าถึงการอภิปรายและการสร้างความเท่าเทียมในชั้นเรียนในระดับมาก การสนับสนุนการใช้เหตุผลและวิจารณญาณในระดับปานกลาง และการร่วมสร้างข้อสรุปในชั้นเรียนในระดับน้อย และพบว่านักเรียนมีพฤติกรรมที่บ่งชี้ถึงความเป็นพลเมืองในด้านต่าง ๆ ในระดับที่แตกต่างกัน ได้แก่ การเปิดใจรับฟังและการคิดอย่างมีเหตุผลและวิจารณญาณอยู่ในระดับมาก การมีส่วนร่วมตัดสินใจเพื่อส่วนรวมอยู่ในระดับปานกลาง และการเข้าถึงข้อมูลข่าวสารที่ถูกต้องอยู่ในระดับน้อย 3. โมบายแอปพลิเคชันที่พัฒนาขึ้นประกอบด้วยฟังก์ชันการทำงานหลัก 2 ด้าน ได้แก่ 1) สถานการณ์จำลองสำหรับครูเพื่อประเมินทักษะการวิเคราะห์วาทกรรมพลเมือง 2 ประเภท ได้แก่ สถานการณ์แบบคำอธิบายและสถานการณ์แบบบทสนทนา รวมจำนวน 20 สถานการณ์ 2) ชุดคำถามสำหรับวิเคราะห์คุณลักษณะความเป็นพลเมืองของนักเรียนและคำแนะนำสำหรับครูในการปรับปรุงการสอน จำนวน 12 ข้อ และมีฟังก์ชันการทำงานที่พัฒนาเพิ่มเติม ได้แก่ การให้ความรู้และแนวทางการจัดอภิปรายในชั้นเรียนเพื่อสร้างเป็นวาทกรรมพลเมือง และการแนะนำแนวทางการจัดการเรียนรู้ที่ได้จาการสังเคราะห์งานวิจัยที่ครูสามารถนำไปปรับใช้ในห้องเรียนเพื่อสร้างความเป็นพลเมือง 4. โมบายแอปพลิเคชันมีความง่ายในการใช้งาน มีประโยชน์จากการใช้งาน และมีคุณค่าของการใช้งานในระดับค่อนข้างสูง
Other Abstract: Civic discourse plays a crucial role in citizenship education since it encourages students to have discussions about their interests on public issues. Through developing civic discourses in classrooms, students use rhetoric in arguing and debating rationally on controversial issues, and build consensus to reach an agreement. This research aims to 1) develop a classroom observation tool to analyze civic discourses in classrooms, 2) analyze teachers’ roles in developing civic discourses and students’ citizenship characteristics in classrooms, 3) design and develop a mobile application that supports teachers to use civic discourse in developing students’ citizenship and, 4) evaluate the app from users’ perspective. The research process consisted of three phases. In phase 1, a classroom observation tool was developed and validated by experts to collect teachers’ and students’ behaviors in 8 classes with 6 social studies teacher and 232 secondary school students. Classroom conversations were also recorded during this phase.  All qualitative data were analyzed in accordance with the Habermasean civic discourse framework to identify teachers’ roles in developing civic discourses and students’ citizenship characteristics in classrooms. Phase 2 was the development of two main functions of the mobile application: 1) simulation-based questions to evaluate teachers’ civic discourse analytical skills and 2) a set of questions to evaluate students’ citizenship. Phase 3 was the development of additional mobile application functions and the tryout and evaluation by 10 social studies teachers using a 7-point semantic differential scale questionnaire. The findings revealed that 1. The classroom observation tool was appropriate for conducting classroom observation to obtain data for civic discourse analysis. 2. Overall, teachers’ roles in ensuring accessibility and equality of student’s participation were at a high level, encouraging rationality and criticality during discussions was at a moderate level, and supporting consensus-building was at a low level. Meanwhile, students’ citizenship characteristics observed in each class were distinct in the following aspects; the levels of open-mindedness and rational and critical thinking were high, decision-making participation was moderate, and ability of accessing facts and truth was low. 3. The mobile app was developed with two main functions: 1) two types of simulation-based questions for teachers including descriptive and conversation questions to evaluate their civic discourse analytical skills and learn how to deliver effective strategies and 2) twelve questions to analyze students’ citizenship characteristics with suggestions for teachers to improve their instruction. Additional functions of the app included guidelines for creating classroom civic discourses, and suggested teaching methods synthesized from research for civic classes. 4. The app was validated to possess moderately high effectiveness in terms of its ease of use, usefulness and value.
Description: วิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2562
Degree Name: ครุศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: วิธีวิทยาการวิจัยการศึกษา
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/70027
URI: http://doi.org/10.58837/CHULA.THE.2019.1170
metadata.dc.identifier.DOI: 10.58837/CHULA.THE.2019.1170
Type: Thesis
Appears in Collections:Edu - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
6183304227.pdf10.24 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.