Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/70031
Title: ผลของการจัดการเรียนรู้กีฬาว่ายน้ำโดยใช้เกมการ์ดที่มีต่อทักษะการว่ายน้ำท่ากบและท่าผีเสื้อของนิสิตนักศึกษาระดับปริญญาบัณฑิต
Other Titles: Effects of swimming learning management using game card to breast and butterfly strokes of undergraduate students
Authors: นิธิพร เชาว์สกุลวิริยะ
Advisors: รุ่งระวี สมะวรรธนะ
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะครุศาสตร์
Issue Date: 2562
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของการจัดการเรียนรู้กีฬาว่ายน้ำโดยใช้เกมการ์ดที่มีต่อทักษะการว่ายน้ำท่ากบและท่าผีเสื้อของนิสิตนักศึกษาระดับปริญญาบัณฑิต โดยศึกษาค่าเฉลี่ยคะแนนทักษะการว่ายน้ำท่ากบและท่าผีเสื้อกับการจัดการเรียนรู้กีฬาว่ายน้ำตามปกติ กลุ่มตัวอย่างคือนิสิตนักศึกษาระดับปริญญาตรี จำนวน 60 คน โดยเลือกแบบเฉพาะเจาะจง แบ่งออกเป็นสองกลุ่ม กลุ่มควบคุมจำนวน 30 คน กลุ่มทดลองจำนวน 30 คน ระยะเวลาในการดำเนินการวิจัย 8 สัปดาห์ สัปดาห์ละ 1 ครั้ง ครั้งละ 120 นาทีเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ 1) แผนการจัดการเรียนรู้กีฬาว่ายน้ำโดยใช้เกมการ์ดที่มีต่อทักษะการว่ายน้ำท่ากบและท่าผีเสื้อ 2) แบบประเมินทักษะการว่ายน้ำท่ากบและท่าผีเสื้อ โดยมีการตรวจสอบคุณภาพโดยผู้ทรงคุณวุฒิ 5 ท่าน ค่าความตรงเชิงเนื้อหาเท่ากับ 1.00 และค่าเที่ยงระหว่างผู้ประเมินเท่ากับ 0.99 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าเฉลี่ย (Mean), ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (SD) เปรียบเทียบค่าเฉลี่ยของคะแนนทักษะการว่ายน้ำท่ากบและท่าผีเสื้อ โดยการทดสอบค่าที (t-test) ผลการทดลองพบว่า หลังการทดลองกลุ่มทดลองที่ได้รับการจัดการเรียนรู้กีฬาว่ายน้ำโดยใช้เกมการ์ด มีค่าเฉลี่ยของคะแนนทักษะการว่ายน้ำท่ากบและท่าผีเสื้อ เท่ากับ 10.73 ± 1.41, 9.87 ± 1.74 ตามลำดับ สูงกว่ากลุ่มควบคุมที่ได้รับการจัดการเรียนรู้กีฬาว่ายน้ำตามปกติเท่ากับ 7.90 ± 2.56, 7.30 ± 3.01ตามลำดับ (t = 5.30,4.50 ตามลำดับ)
Other Abstract: This research aimed to study the effect of swimming learning management using game card to breast and butterfly strokes of undergraduate students and to study the effect the average score breast and butterfly stroked regular learning management. The sample comprised 60 and equally divided into two group. The first group was the control group with 30 students and the seconds group was the experimental group with 30 students. This research was conducted for 8 weeks: one period a week for 120 minutes, The research instruments were 1) lesson plans using game card to breast and butterfly stokes 2) breast and butterfly skill assessment form. The instruments have been qualified and validated by 5 experts (IOC=1.00,IRR=0.99).  The data were analyzed by mean, standard deviation and t-test. The experimental group learning though using game card had average breast and butterfly stokes score after the experiment 10.73 ± 1.41,9.87 ± 1.74 respectively different with higher score than the control group regular learning management 7.90 ± 2.56,7.30 ± 3.01 respectively.(t = 5.30,4.50 respectively)
Description: วิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2562
Degree Name: ครุศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: สุขศึกษาและพลศึกษา
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/70031
URI: http://doi.org/10.58837/CHULA.THE.2019.1426
metadata.dc.identifier.DOI: 10.58837/CHULA.THE.2019.1426
Type: Thesis
Appears in Collections:Edu - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
6183343727.pdf7.23 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.