Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/70037
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorดนีญา อุทัยสุข-
dc.contributor.authorภัทรวดี สุวรรณศร-
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะครุศาสตร์-
dc.date.accessioned2020-11-11T13:35:03Z-
dc.date.available2020-11-11T13:35:03Z-
dc.date.issued2562-
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/70037-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2562-
dc.description.abstractการวิจัยครั้งนี้ใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงวิจัยและพัฒนาโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อศึกษาและวิเคราะห์วิชาดนตรีหลักสูตรอังกฤษในโรงเรียนนานาชาติ 2) เพื่อนำเสนอแนวทางการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ดนตรีไทยตามแนวคิดพหุวัฒนธรรมในโรงเรียนนานาชาติ ประกอบไปด้วย (1) วัตถุประสงค์การเรียนรู้ (2) กิจกรรมที่เหมาะสม (3) บทเพลงที่คัดสรร (4) การประเมินผล กลุ่มผู้ให้ข้อมูลสำคัญ ได้แก่ กลุ่มที่ 1 ผู้สอนดนตรีไทยในต่างประเทศ 3 ท่าน กลุ่มที่ 2 ผู้สอนดนตรีไทยในโรงเรียนนานาชาติ 3 ท่าน กลุ่มที่ 3 ผู้สอนดนตรีในโรงเรียนนานาชาติที่ดำเนินการสอนตามหลักสูตรอังกฤษ 3 ท่าน รวมทั้งหมด 9 ท่าน เครื่องมือที่ใช้ในงานวิจัยคือแบบสัมภาษณ์ และวิเคราะห์ข้อมูลด้วยการวิเคราะห์เชิงเนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า 1) เนื้อหาและทักษะดนตรีปรากฏในแต่ละช่วงชั้น สรุปได้ดังนี้ ช่วงชั้นที่ 1 ได้แก่ ทักษะการขับร้อง  ทักษะการเล่น และทักษะการฟัง ช่วงชั้นที่ 2 ได้แก่ ทักษะการขับร้อง ทักษะการเล่น ทักษะการฟัง การประพันธ์เพลง การด้นสด การอ่านโน้ตดนตรี และประวัติศาสตร์ดนตรี ช่วงชั้นที่ 3 ได้แก่ ทักษะการขับร้อง  ทักษะการเล่น และทักษะการฟัง การประพันธ์เพลง การด้นสด และ การอ่านโน้ตดนตรี ประวัติศาสตร์ดนตรี และ การประยุกต์ใช้องค์ประกอบดนตรี โดยการจัดเนื้อหาดนตรีในวิชาดนตรีของหลักสูตรอังกฤษนั้นเป็นแบบ Spiral Curriculum โดยเนื้อหาในการจัดเรียงนั้นมีความต่อเนื่อง เชื่อมโยงกัน โดยจะเพิ่มประสบการณ์เรียนรู้ให้ผู้เรียนให้ลึกซึ้งและกว้างขึ้นในแต่ละระดับชั้น 2) แนวทางการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ดนตรีไทยตามแนวคิดพหุวัฒนธรรมในโรงเรียนนานาชาติ สรุปได้ดังนี้ (1) วัตถุประสงค์การเรียนรู้ ควรคำนึงถึงผู้เรียนและบริบทสังคมเป็นศูนย์กลางและศึกษาความแตกต่างทางวัฒนธรรมของผู้เรียนเพื่อหาลักษณะร่วมเพื่อใช้เป็นพื้นฐานในการจัดการเรียนการสอน (2) กิจกรรมที่เหมาะสม ควรมุ่งเน้นการลงมือปฏิบัติผ่านทักษะดนตรีต่าง ๆ พร้อมทั้งมุ่งเน้นทั้งด้านทักษะทางดนตรีและสุนทรียทางดนตรี กิจกรรมและเนื้อหาควรมีความหลายหลายทางวัฒนธรรม พร้อมทั้งเปิดโอกาสให้ผู้เรียนได้แลกเปลี่ยนความคิดเห็น เพื่อส่งเสริมความสำคัญของการเคารพและยอมรับในความแตกต่าง (3) บทเพลงที่คัดสรร ควรมีความหลากหลายทางวัฒนธรรมโดยสอดแทรกเนื้อหาผ่านบทเพลงต่าง ๆ ทั้งนี้บทเพลงควรมีความง่ายและมีทำนองซ้ำเพื่อง่ายต่อผู้เรียนที่ไม่คุ้นชินกับเพลงไทย (4) การประเมินผล เป็นการประเมินผลตามสภาพจริงที่มีความยืดหยุ่นและสามารถประเมินผู้เรียนที่มีความแตกต่างกันได้อย่างเหมาะสม โดยประเมินระหว่างเรียน หลังเรียนและประเมินการแสดงผลงานดนตรี -
dc.description.abstractalternativeThe study result are as follows: 1) to study the National Curriculum for Music in England 2) to propose guideline of Thai music learning activities based on multicultural music approach in international schools. The key informants are (1) Thai music teacher in abroad (2) Thai music teachers in international schools (3) music teachers in international schools which following the National Curriculum in England.  The instrument used is questions for interviewing. The data was analyzed by content analysis. The research result are as follows: 1)  music content found in each key stages are as follows: (1) Key stage 1: singing, playing, and listening (2) Key stage 2: singing, playing, listening, composing, improvising, music notation, and music history (3) Key stage 3: singing, playing, listening, composing, improvising, music notation, music history, and application of element of music. The content was designed as spiral curriculum to connect and broaden the students’ music experience in each step. 2) guideline of Thai music learning activities based on multicultural music approach in international schools has four areas: (1) learning objectives – students’ background and cultural dimension should be considered and studied for lesson preparation. (2) activities – hands on activities should be embraced with variety of activities from diverse cultures in lessons as well as musical skill and appreciations should be strongly encouraged in classroom. Additional to this, expressing/exchanging ideas should be emboldened to emphasize the respect for diversity. (3) songs – it should be easy which repetitive pattern for those who are not familiar with Thai sounds and the songs used should be diverse from different cultures. (4) assessment – authentic assessment which is adjustable for students from different background. It can be assessed during lessons, after lessons, and stage performance.           -
dc.language.isoth-
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย-
dc.relation.urihttp://doi.org/10.58837/CHULA.THE.2019.791-
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย-
dc.subject.classificationSocial Sciences-
dc.titleแนวทางการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ดนตรีไทยตามแนวคิดพหุวัฒนธรรมในโรงเรียนนานาชาติ-
dc.title.alternativeGuidelines of Thai music learning activities based on multicultural music approach in international schools-
dc.typeThesis-
dc.degree.nameครุศาสตรมหาบัณฑิต-
dc.degree.levelปริญญาโท-
dc.degree.disciplineดนตรีศึกษา-
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย-
dc.subject.keywordTHAI MUSIC-
dc.subject.keywordMULTICULTURAL MUSIC APPROACH-
dc.subject.keywordINTERNATIONAL SCHOOL-
dc.identifier.DOI10.58837/CHULA.THE.2019.791-
Appears in Collections:Edu - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
6183362627.pdf14.97 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.