Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/70069
Title: | นวัตกรรมเครื่องสำอางไวท์เทนนิ่งครีมที่มีโกลด์นาโนและสารสกัดธรรมชาติโคจิกแอซิด |
Other Titles: | Innovation whitening cream containing kojic-acid/gold nanoparticles |
Authors: | เกษม พยุหเดชาพิพัฒน์ |
Advisors: | นาตยา งามโรจนวณิชย์ ชูพรรณ โกวานิชย์ |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย |
Advisor's Email: | Nattaya.N@Chula.ac.th ไม่มีข้อมูล |
Subjects: | เครื่องสำอาง ครีมถนอมผิว Cosmetics Barrier creams |
Issue Date: | 2560 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | งานวิจัยนี้เป็นการศึกษาพัฒนานวัตกรรมเครื่องสำอางไวท์เทนนิ่งครีมที่มีโกลด์นาโนและสารสกัดธรรมชาติโคจิกแอซิด เพื่อพัฒนาเป็นผลิตภัณฑ์ที่มีคุณสมบัติในการลดเมลานิน และทำให้ผิวหน้าขาว เป็นสารที่มาจากธรรมชาติ จากการสำรวจความต้องการของผู้บริโภค พบว่ากลุ่มผู้ใช้ในประเทศไทยมักเลือกใช้เครื่องสำอางที่มีสารเคมี ที่ช่วยให้ผิวหน้าขาวอย่างรวดเร็ว จึงทำให้มีผลข้างเคียงตามมา เช่น เกิดผดผื่น ผิวแพ้ แดงอักเสบ และดำหมองคล้ำในที่สุด จากนั้นคณะวิจัยพัฒนาต้นแบบผลิตภัณฑ์เครื่องสำอางไวท์เทนนิ่งครีมที่มีโกลด์นาโนและสารสกัดธรรมชาติ โคจิกแอซิด เนื่องจากสารสกัดโคจิกแอซิด เป็นสารสกัดจากธรรมชาติมีความสามารถในการลดเมลานินบนผิวหนัง แต่มักสูญเสียประสิทธิภาพเมื่อสัมผัสอากาศและความร้อนในกระบวนการผลิต ดังนั้นผู้ผลิตจึงใช้สารสกัด โคจิกแอซิด ในปริมาณ 3-5% บางครั้งสูงเกินกว่าค่าที่กำหนด ทำให้เกิดอาการระคายเคืองกับผู้ที่มีผิวบอบบางแพ้ง่าย ในการนี้ผู้วิจัยได้นำโกลด์นาโนพาร์ติเคิลมาช่วยในการนำสารสกัดโคจิกแอซิดซึมผ่านชั้นผิวหนัง จากการวิจัยพบว่าใช้สารสกัดโคจิกแอซิดในปริมาณที่น้อยลง เมื่อจากทดสอบที่ปริมาณ 1% 2% และ 3 % และพบว่าที่ปริมาณสารสกัดโคจิกแอซิด 2% ให้ผลเป็นที่น่าพอใจและมีประสิทธิภาพมากที่สุดในการลดค่าเมลานินบนผิวหนัง จากอาสาสมัครจำนวน 5 ท่าน ที่ใช้ครีมที่มีโกลด์นาโนพาร์ติเคิลและสารสกัดโคจิก 2% บริเวณแขนซ้ายและขวา ในระยะเวลา 2 สัปดาห์ งานวิจัยเครื่องสำอางไวท์เทนนิ่งครีมที่มีโกลด์นาโนและสารสกัดธรรมชาติโคจิกแอซิดนี้ สามารถนำผลิตภัณฑ์ออกสู่เชิงพาณิชย์ได้ จึงควรนำออกสู่เชิงพาณิชย์ในรูปแบบการขายเทคโนโลยีด้วยการให้อนุญาตใช้สิทธิ์ หรือ ด้วยการขายโกลด์นาโนพาร์ติเคิล (Raw material) ทั้งนี้ยังสามารถนำไปใช้ร่วมกับสารสกัดจากธรรมชาติชนิดอื่นๆได้ ทำให้โอกาสที่จะเกิดการพัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่ๆในตลาดเครื่องสำอางและตลาดยารักษาโรค ด้วยผลิตภัณฑ์ที่มีโกลด์นาโนพาร์ติเคิลนั้นยังสามารถเกิดขึ้นได้ในอนาคต ตามความต้องการของตลาดโลก |
Other Abstract: | The purpose of this study was to evaluate the efficacy of whitening skin cream containing kojic acid and goldnanoparticles business feasibility and their relation. Kojic acid is a natural extract plays an important but the FDA restrict the limitation of the applied amount because of their kojic acid is decomposed when expose to light heat and air during production process. Therefore manufactures often apply high amount of up to 3-5% (w/w). The higher amount of kojic acid the brighter of skinly. However ,when use for a long time a the skin will become sensitive and irritated. In this study, I used gold nanoparticle to help skin better absorb Kojic acid. The smaller amount of Kojic acid was put in skin care product which is 1 percent, 2 percent and 3 percent per 100g of skin care product. The method is to have 5 participants apply such product on left and right arm for 2 weeks. The result shows that 2 percent of Kojic acid along with gold nanoparticles gives best outcome which means that user can still see better skin in a short period of time while has zero skin irritation. The finding from this study indicates that Gold nanoparticles can and should be used commercially in cosmetic or even medical industry. It can be patented and sold as one of nanotechnology breakthrough. Besides Kojic Acid, Gold nanoparticles can essentially be used with other natural extract which will result in a number of effective skin care product for consumer in the near future. |
Description: | วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2560 |
Degree Name: | วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต |
Degree Level: | ปริญญาโท |
Degree Discipline: | ธุรกิจเทคโนโลยีและการจัดการนวัตกรรม |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/70069 |
URI: | http://doi.org/10.58837/CHULA.THE.2017.875 |
metadata.dc.identifier.DOI: | 10.58837/CHULA.THE.2017.875 |
Type: | Thesis |
Appears in Collections: | Grad - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
5887110920.pdf | 6.38 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.