Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/70140
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorสมพงษ์ พุทธิวิสุทธิศักดิ์-
dc.contributor.authorสุจิตรา จำนงบุตร-
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย-
dc.date.accessioned2020-11-11T13:42:14Z-
dc.date.available2020-11-11T13:42:14Z-
dc.date.issued2562-
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/70140-
dc.descriptionสารนิพนธ์ (วท.ม.) --จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2562-
dc.description.abstractงานวิจัยนี้เป็นการวิเคราะห์ประสิทธิภาพการใช้พลังงานในกลุ่มโรงงานน้ำแข็งที่เป็นโรงงานควบคุม โดยศึกษาข้อมูลจากรายงานการจัดการพลังงานของโรงงานน้ำแข็งจำนวน 80 แห่ง ระหว่างปี พ.ศ. 2558 - 2561 ซึ่งมีการใช้พลังงานไฟฟ้ารวมมากกว่า 500 ล้านหน่วย (GWh) ต่อปี เฉลี่ยต่อแห่ง 6.25 ล้านหน่วยต่อปี และคัดเลือกกลุ่มโรงงานตัวอย่างจำนวน 20 แห่ง มาวิเคราะห์ค่าการใช้พลังงานจำเพาะ (SEC) โดยละเอียด พบว่าค่า SEC หรือประสิทธิภาพการใช้พลังงานของโรงงานน้ำแข็งมีค่าตั้งแต่ 59 -133 kWh/ตัน และมีค่าเฉลี่ยที่ 98 kWh/ตัน เมื่อวิเคราะห์รายประเภทโรงงานน้ำแข็งพบว่า โรงงานผลิตน้ำแข็งหลอดและโรงงานผลิตน้ำแข็งซองมีค่า SEC เฉลี่ยเท่ากันที่ 94 kWh/ตัน ในขณะที่โรงงานที่ผลิตทั้งน้ำแข็งซองและน้ำแข็งหลอดมีค่า SEC เฉลี่ยที่ 104 kWh/ตัน การศึกษายังพบว่าโรงงานน้ำแข็งที่ผลิตน้ำแข็งประเภทเดียวกัน มีปริมาณการผลิตใกล้เคียงกัน แต่มีค่า SEC ต่างกันมากถึง 31% โดยข้อมูลจากรายงานการจัดการพลังงานแสดงให้เห็นว่า โรงงานที่มีค่า SEC สูงกว่ามีชั่วโมงการทำงานต่อปีมากกว่าถึง 65% ส่งผลให้การใช้พลังงานไฟฟ้าสูงกว่าในขณะที่ผลิตน้ำแข็งได้ปริมาณใกล้เคียงกัน สะท้อนให้เห็นถึงประสิทธิภาพการใช้พลังงานในการผลิตที่ต่ำกว่าและศักยภาพในการอนุรักษ์พลังงานที่สูงกว่า โรงงานน้ำแข็งมีค่า SEC เฉลี่ยต่ำที่สุด 59 kWh/ตัน เมื่อวิเคราะห์สมการถดถอย การใช้พลังงานไฟฟ้าเพิ่มขึ้นตามปริมาณการผลิตและเป็นไปตามความสัมพันธ์เชิงเส้น ส่วนค่า SEC ลดลงเมื่อการผลิตน้ำแข็งมากขึ้น โดยพลังงานที่ใช้สามารถแยกได้เป็น 2 ส่วน คือ ส่วนที่คงที่ไม่ขึ้นกับปริมาณการผลิตและส่วนที่แปรผันตามปริมาณการผลิต โดยส่วนแรกคิดเป็น 11.86% ของพลังงานไฟฟ้าเฉลี่ยที่ใช้ในการผลิตน้ำแข็งในแต่ละเดือน การปรับเปลี่ยนเครื่องจักรอุปกรณ์ประสิทธิภาพสูงและการบำรุงรักษาทำความสะอาด เป็นมาตรการที่นิยมใช้ในโรงงานน้ำแข็ง ทำให้การใช้พลังงานมีประสิทธิภาพที่ดีขึ้น ลดต้นทุนการผลิตและเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขัน-
dc.description.abstractalternativeThis research is an analysis of energy efficiency in ice making factories which are among the designate factories according to Energy Conservation and Promotion Act B.E.2535, with the total energy consumption of more than 500 GWh/year (80 factories). Complete energy consumption and production data of 20 factories during the year 2015 – 2018 was analyzed. The specific energy consumptions (SEC) of the ice production process is between 59 -133 kWh/ton, with the average of 98 kWh/ton. Analysis shows that tube ice and block ice factory have the same average SEC (94 kWh/ton), while factory that made both has average SEC of 104 kWh/ton. Additionally, factories which produced the same type of ice and had similar level of production, see a difference in the SEC by up to 31%. That with higher SEC operates 65% longer, resulting in higher electricity consumption, reflecting lower efficiency in production. Factory with the lowest SEC is at 59 kWh/ton. Linear regression analysis was conducted, with electricity consumption increasing and SEC decreasing with higher level of production. The electricity consumption comes from 2 parts – constant consumption and varied consumption.  The former accounted for 11.86% of average monthly consumption. Equipment replacement and maintenance are among energy saving measures resulting in the reduction of SEC.-
dc.language.isoth-
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย-
dc.relation.urihttp://doi.org/10.58837/CHULA.IS.2019.100-
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย-
dc.subjectโรงน้ำแข็ง-
dc.subjectโรงงาน -- การใช้พลังงาน-
dc.subjectการใช้พลังงานไฟฟ้า-
dc.subjectFactories -- Energy consumption-
dc.subjectElectric power consumption-
dc.subject.classificationEnergy-
dc.titleการศึกษาประสิทธิภาพการใช้พลังงานของโรงน้ำแข็งในประเทศไทย-
dc.title.alternativeA study on energy efficiency of ice factories in Thailand-
dc.typeIndependent Study-
dc.degree.nameวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต-
dc.degree.levelปริญญาโท-
dc.degree.disciplineเทคโนโลยีและการจัดการพลังงาน-
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย-
dc.email.advisorSompong.Pu@Chula.ac.th-
dc.subject.keywordประสิทธิภาพการใช้พลังงาน-
dc.subject.keywordการใช้พลังงานจำเพาะ-
dc.subject.keywordโรงงานน้ำแข็ง-
dc.subject.keywordEnergy Efficiency-
dc.subject.keywordSpecific Energy Consumption-
dc.subject.keywordIce Factory-
dc.identifier.DOI10.58837/CHULA.IS.2019.100-
Appears in Collections:Grad - Independent Studies

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
6187558020.pdf1.9 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.