Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/70156
Title: การผลิตก๊าซชีวภาพจากใบกระถินด้วยระบบหมักไร้ออกซิเจนแบบสองขั้นตอน
Other Titles: Biogas production from acacia leaves by two-stage anaerobic digestion system
Authors: กรกนก ดุลยพัชร์
Advisors: อรทัย ชวาลภาฤทธิ์
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิศวกรรมศาสตร์
Advisor's Email: Orathai.C@Chula.ac.th
Issue Date: 2557
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาศักยภาพการผลิตก๊าซชีวภาพจากใบกระถินเทพณรงค์ด้วยระบบหมักไร้ออกซิเจนสองขั้นตอนประกอบด้วยถังปฏิกรณ์แบบลิชเบดเป็นถังผลิตกรด และตามด้วยถังปฏิกรณ์กวนสมบูรณ์เป็นถังผลิตก๊าซชีวภาพ การทดลองแบ่งออกเป็น 2 ส่วน โดยส่วนแรกทำการศึกษาผลของความเข้มข้นของสารละลายโซเดียมไฮดรอกไซด์และระยะเวลาการระเบิดด้วยไอน้ำที่อุณหภูมิ 121 ๐ซ ในการปรับสภาพเบื้องต้นใบกระถินเทพณรงค์เพื่อนำไปผลิตเป็นก๊าซชีวภาพ โดยใช้หลักการพื้นผิวตอบสนอง เพื่อหาสภาวะที่เหมาะสมที่สุดในการปรับสภาพเบื้องต้น ผลการศึกษาพบว่า ชุดการทดลองที่ปรับสภาพที่สภาวะความเข้มข้นของสารละลายโซเดียมไฮดรอกไซด์ร้อยละ 3 ระยะเวลา 30 นาที ให้ผลผลิตก๊าซชีวภาพในอัตราที่สูงที่สุด คือ 316.19 ลิตรต่อกิโลกรัมของแข็งระเหย โดยมีปริมาณก๊าซชีวภาพสูงกว่าชุดควบคุมร้อยละ 89.71 การทดลองที่สองเป็นการศึกษาเปรียบเทียบผลผลิตก๊าซชีวภาพจากใบกระถินสดและใบกระถินปรับสภาพในระบบถังหมักไร้ออกซิเจนแบบสองขั้นตอน โดยขั้นตอนแรกจะศึกษาระยะเวลาที่เหมาะสมในการเจือจางน้ำหมักที่ได้จากการหมักใบกระถินที่มีการเติมมูลโคเป็นหัวเชื้อในระบบถังปฏิกรณ์แบบลิชเบด ผลการทดลองพบว่าระยะเวลาที่เหมาะสมในการเจือจางน้ำหมักคือ ช่วงที่น้ำหมักกรดมีอัตราการผลิตกรดไขมันระเหยลดลง และเมื่อศึกษาประสิทธิภาพในการผลิตกรดในถังปฏิกรณ์ทั้งสองพบว่า ถังปฏิกรณ์ชุดใบกระถินสดมีประสิทธิภาพสูงกว่า ทั้งนี้เนื่องจากการปรับสภาพจะเป็นทำลายเชื้อจุลินทรีย์ประจำถิ่นในใบไม้ และเป็นการละลายสารอินทรีย์ที่ย่อยสลายง่ายในใบไม้ ทำให้สารอาหารและเชื้อจุลินทรีย์เริ่มต้นในถังปฏิกรณ์ลิชเบดชุดใบกระถินปรับสภาพต่ำว่าชุดใบกระถินสด และเมื่อนำน้ำหมักกรดของทั้งสองชุดการทดลองมาศึกษาประสิทธิภาพการผลิตก๊าซชีวภาพพบว่า ชุดใบกระถินปรับสภาพและใบกระถินสดมีปริมาณก๊าซชีวภาพเท่ากับ 100.39 และ 152.47 ลิตรต่อกิโลกรัมของของแข็งระเหย ตามลำดับ
Other Abstract: The objective of the research was to evaluate the performance of methane production from Acacia leaves in two-stage anaerobic digestion in a Leach Bed reactor (acidification tank) followed by a continuously stirred tank reactor (methane tank). The experiment was divided into 2 parts. The first part was to investigate the effect of Sodium Hydroxide (NaOH) concentration and reaction time of steam explosion (121 ๐C) for enhancing biogas production from Acacia leaves. Response surface methodology (RSM) was used for optimizing pretreatment condition. The result of studying on RSM showed that The best pretreatment condition for acacia leaves was at 121 ๐C for 30 minute with 3%NaOH (w/v) which can enhance the biogas production up to 89.71% (316.19  L/kg VS ) that compared to the untreated sample. The second part was a comparative study of biogas production from fresh acacia leaves and acacia leaves pretreatment in two-stage anaerobic digestion. The first step would be the optimum time to dilute the leachate from each Leach Bed reactor. The results showed that acid production, enhanced when the digester was recirculation of the leachate. After the rate of volatile fatty acids decrease, the leachate was diluted. This might be due to product (VFAs) inhibition. The reactor of fresh acacia leaves is more efficiency than the reactor of acacia leaves pretreatment. The results of the experimental scale study show that the two-stage anaerobic digestion system: LBR followed by CSTR can produce biogas production of 100.39 and 152.47 L/kg VS of acacia leaves pretreatment and acacia leaves, respectively.
Description: วิทยานิพนธ์ (วศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2557
Degree Name: วิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: วิศวกรรมสิ่งแวดล้อม
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/70156
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2014.1506
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2014.1506
Type: Thesis
Appears in Collections:Eng - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
5570109121.pdf7.68 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.