Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/70167
Full metadata record
DC Field | Value | Language |
---|---|---|
dc.contributor.advisor | สุทัศน์ รัตนเกื้อกังวาน | - |
dc.contributor.author | ธนวัฒน์ เมธีธัญญรัตน์ | - |
dc.contributor.other | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิศวกรรมศาสตร์ | - |
dc.date.accessioned | 2020-11-11T13:50:48Z | - |
dc.date.available | 2020-11-11T13:50:48Z | - |
dc.date.issued | 2557 | - |
dc.identifier.uri | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/70167 | - |
dc.description | วิทยานิพนธ์ (วศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2557 | - |
dc.description.abstract | จากโครงการประเมินผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมเพื่อจัดสร้างท่อขนส่งน้ำมัน ได้มีการวางแนวท่อขนส่งน้ำมันจากจังหวัดสระบุรีไปยังจังหวัดลำปางและจังหวัดขอนแก่น งานวิจัยนี้ศึกษาการเลือกที่ตั้งคลังน้ำมันใน 3 จังหวัดโดยคำนึงถึงหลักการด้านความเหมาะสมด้านสิ่งแวดล้อม วิศวกรรมศาสตร์ และการขนส่ง เพื่อให้ได้ทางเลือกในแต่ละจังหวัด คือ ตำบลหัวปลวก และตำบลตาลเดี่ยวในจังหวัดสระบุรี ตำบลศาลา ตำบลแม่ทะ และตำบลแม่กัวะในจังหวัดลำปาง ตำบลเมืองเก่า ตำบลพระลับ และตำบลหินตั้งในจังหวัดขอนแก่น จากนั้นใช้วิธีลำดับชั้นเชิงวิเคราะห์ ( The Analytic Hierarchy Process หรือ AHP ) ในการเลือกทำเลที่ตั้งที่เหมาะสมในแต่ละจังหวัด งานวิจัยในวิธีการลำดับชั้นเชิงวิเคราะห์โดยเริ่มจากการรวบรวมกฎระเบียบข้อบังคับที่เกี่ยวข้องและสาธารณูปโภคพื้นฐาน จากนั้นจึงกำหนดปัจจัยที่ใช้ในการพิจารณาโดยปัจจัยเชิงปริมาณคือ ค่าก่อสร้างท่อน้ำมันส่วนต่อเข้าคลังน้ำมัน ปัจจัยเชิงคุณภาพคือความเหมาะสมด้านสิ่งแวดล้อม ความพร้อมของระบบสาธารณูปโภค ความสามารถในการขยายพื้นที่คลังน้ำมัน ความปลอดภัยจากปัญหาน้ำท่วม และความสะดวกในการขนส่ง โดยมีผู้เชี่ยวชาญทั้งหมด 6 ท่านที่มาจากด้านสิ่งแวดล้อม ด้านวิศวกรรม และด้านการขนส่งมาประเมินแล้วนำผลประเมินมาเข้ากระบวนการลำดับชั้นเชิงวิเคราะห์เพื่อหาน้ำหนักความสำคัญของแต่ละปัจจัยและน้ำหนักความสำคัญของทำเลที่ตั้งทางเลือกทางเลือก จากนั้นจะได้ทำเลที่ตั้งที่เหมาะสมที่สุดของแต่ละจังหวัดออกมา และสุดท้ายการกำหนดปริมาณกักเก็บน้ำมันในแต่ละคลังน้ำมันคำนวณได้จากปริมาณความต้องการใช้น้ำมันในพื้นที่โดยรอบคลังน้ำมันรัศมี 200 กิโลเมตร ผลจากการศึกษาจะได้ว่าทำเลที่ตั้งคลังน้ำมันในจังหวัดสระบุรีคือทำเลที่ตั้งในตำบลหัวปลวก อำเภอเสาไห้ โดยมีค่าน้ำหนักความสำคัญเท่ากับ 0.51 สูงที่สุดในทางเลือกทำเลที่ตั้งคลังน้ำมันจังหวัดสระบุรี ทำเลที่ตั้งคลังน้ำมันในจังหวัดลำปางคือทำเลที่ตั้งในตำบลแม่กัวะ อำเภอสบปราบ โดยมีค่าน้ำหนักความสำคัญเท่ากับ 0.428 สูงที่สุดในทางเลือกทำเลที่ตั้งคลังน้ำมันจังหวัดลำปาง ทำเลที่ตั้งคลังน้ำมันในจังหวัดขอนแก่นคือทำเลที่ตั้งในตำบลหินตั้ง อำเภอบ้านไผ่ โดยมีค่าน้ำหนักความสำคัญเท่ากับ 0.395 สูงที่สุดในทางเลือกทำเลที่ตั้งคลังน้ำมันจังหวัดขอนแก่น และปริมาณกักเก็บน้ำมันคลังน้ำมันสระบุรีเท่ากับ 12,408 ล้านลิตรต่อปี คลังน้ำมันลำปางเท่ากับ 4,676 ล้านลิตรต่อปี คลังน้ำมันขอนแก่นเท่ากับ 8,023 ล้านลิตรต่อปี | - |
dc.description.abstractalternative | The Environmental Impact Assessment for Oil Pipeline Construction Project by Department of Energy Business developed pipeline from Saraburi to Lampang and Khonkaen. Studying the site selection of oil tank farm in three provinces based on environmental, engineering and transportation factor. Then, such factors will lead to selected sites in each province, which are Saraburi (Hua-pluak and Tan-diao subdistrict), Lampang (Sala, Mae-ta and Mae-kua subdistrict) as well as Khonkaen (Muang-kao, Phra-lap and Hin-tang subdistrict). The suitable site in each province will be selected by using the Analytic Hierachy Process (AHP) The study of AHP begins with gathering relevant information such as legal, regulation, and geography factor. After determining the quantitative factor: invesment for the location of each area and the qualitative factor: environmental suitability, public utility, the possibility to expand the depot, safety zone and transportation. The six experts in environmental, engineering, and transportation were met and weigh each factor and each potential site. The rated and weight of factors were analyzed by using AHP for selecting the suitable site. The capacity of each oil site was calculated by the demand of 200 kilomaeters radius surrounding area. The result of the study shows that oil tank farm in Saraburi should be located in Hua-pluak subdistrict, with weight of 0.51 and the capacity of oil storage is 12,408 million liters per year. Oil tank farm in Lampang should be located in Mae-kua subdistrict, with weight of 0.428 and the capacity of oil storage is 4,676 million liters per year. Oil tank farm in Khonkaen should be located in Hin-tang subdistrict, with weight of 0.395 and the capacity of oil storage is 8,023 million liters per year. | - |
dc.language.iso | th | - |
dc.publisher | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | - |
dc.rights | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | - |
dc.subject.classification | Engineering | - |
dc.title | การเลือกที่ตั้งคลังน้ำมันในประเทศไทย | - |
dc.title.alternative | Oil tank farm site selection in Thailand | - |
dc.type | Thesis | - |
dc.degree.name | วิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต | - |
dc.degree.level | ปริญญาโท | - |
dc.degree.discipline | วิศวกรรมอุตสาหการ | - |
dc.degree.grantor | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | - |
dc.email.advisor | Suthas.R@Chula.ac.th | - |
Appears in Collections: | Eng - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
5670216721.pdf | 6.69 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.