Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/70247
Title: การตรวจสอบรอยแตกร้าวบนพื้นผิวคอนกรีตในรูปแบบมัลติสเกลโดยการประมวลผลภาพ
Other Titles: Inspection of multi scale crack on concrete surface by image processing
Authors: ปิยวัฒน์ ตันติ์ศรีสกุล
Advisors: วิทิต ปานสุข
อมรเทพ สมราช
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิศวกรรมศาสตร์
Advisor's Email: Withit.P@Chula.ac.th
ไม่มีข้อมูล
Issue Date: 2562
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: รอยร้าวบนพื้นผิวคอนกรีตอาจจะมีลักษณะความแตกต่างตามสาเหตุที่เกิดขึ้น หากได้มีการตรวจสอบในระดับที่ใกล้ชิดกับพื้นผิวรอยร้าว แล้วสามารถนำมาวิเคราะห์แยกลักษณะความแตกต่างของรอยร้าวตามสาเหตุที่เกิดขึ้นได้ ก็จะได้รูปแบบที่จะช่วยลดขั้นตอนการตรวจสอบและเพิ่มขีดความสามารถของบุคลากรในการตรวจสอบรอยร้าวได้ งานวิจัยนี้เป็นกรณีศึกษา โดยตั้งสมมติฐานลักษณะความแตกต่างของรอยร้าวตามสาเหตุที่ได้กำหนด จากนั้นทำการหล่อและทดสอบตัวอย่างคอนกรีตที่ได้กำหนดไว้ คือ การทดสอบแรงดัด การทดสอบแรงเฉือนและการทดสอบแรงดึง จากนั้นนำ Chula Smart Lens ที่มีกำลังขยาย 20, 40 และ 50 เท่า มาใช้งานร่วมกับโทรศัพท์มือถือ Iphone7 ในการถ่ายรูปรอยร้าวที่เกิดขึ้นบนพื้นผิวคอนกรีตและนำภาพถ่ายไปวิเคราะห์โดยการสร้างแบบจำลองและกระบวนการประมวลผลภาพ เพื่อหาลักษณะความแตกต่างและตรวจวัดรอยร้าวที่เกิดขึ้นที่พื้นผิวบนคอนกรีต ผลจากงานวิจัยลักษณะรอยร้าวบนพื้นผิวคอนกรีตจากการสร้างแบบจำลองและการประมวลผลภาพ พบว่ามีบางส่วนเป็นไปตามสมมติฐาน แต่มีบางส่วนที่ไม่เป็นไปตามสมมติฐาน ดังนั้น สมมติฐานลักษณะความแตกต่างของรอยร้าวที่ได้ตั้งไว้ตามสาเหตุที่ได้กำหนดจึงไม่เป็นจริง ส่วนการตรวจวัดรอยร้าวคอนกรีตนั้นสามารถหาค่าความกว้าง ความยาวและพื้นที่ของรอยร้าวที่เกิดขึ้นได้การการประมวลผลภาพ เมื่อรู้ค่าดังกล่าวแล้วสามารถที่จะนำไปหาวิธีในการซ่อมแซมบำรุงรักษาต่อไป
Other Abstract: Cracks in the concrete surface may differ in nature depending on the cause. If the inspection is closer to the surface of the crack. Then can be analyzed and differentiated characteristics of the cracks according to their causes. A model that simplifies the inspection process and increases the ability of personnel to investigate cracks. This research is a case study. By hypothesizing the different characteristics of the cracks according to the specified cause Then the concrete specimen was cast and tested, namely the bending test. Shear testing and tensile testing. Then the Chula Smart Lens with 20, 40 and 50x magnification was then used with the Iphone7 mobile phone to photograph cracks that arose on concrete surfaces and to analyze them. By modeling and image processing To characterize differences and detect cracks in the concrete surface. The research results of the crack characterization in concrete surface from modeling and image processing. It was found that some parts were based on the assumption. But there are some parts that are not in accordance with the assumptions, so the hypothesis of the fracture nature established for the given cause is not true. For the measurement of concrete cracks, the width, the length and area of ​​possible cracks. Image Processing When knowing such values, they can be used to find ways to repair and maintain.
Description: วิทยานิพนธ์ (วศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2562
Degree Name: วิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: วิศวกรรมและเทคโนโลยีการป้องกันประเทศ
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/70247
URI: http://doi.org/10.58837/CHULA.THE.2019.1204
metadata.dc.identifier.DOI: 10.58837/CHULA.THE.2019.1204
Type: Thesis
Appears in Collections:Eng - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
6070245621.pdf3.2 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.