Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/70267
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorอรทัย ชวาลภาฤทธิ์-
dc.contributor.authorณัฐวดี ปลื้มชิงชัย-
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิศวกรรมศาสตร์-
dc.date.accessioned2020-11-11T13:52:19Z-
dc.date.available2020-11-11T13:52:19Z-
dc.date.issued2562-
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/70267-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (วศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2562-
dc.description.abstractอาคารศูนย์การค้าเป็นหนึ่งในอาคารพาณิชย์ที่มีการปล่อยก๊าซเรือนกระจกในปริมาณที่สูงมากต่อปี ทุกกิจกรรมในอาคารสามารถเป็นแหล่งกำเนิดของการปล่อยก๊าซเรือนกระจก ทั้งการใช้พลังงานและการเกิดขยะมูลฝอย งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการใช้พลังงานและการจัดการขยะมูลฝอยในอาคาร โดยใช้การประเมินคาร์บอนฟุตปริ้นท์องค์กร เพื่อลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกจากมาตรการอนุรักษ์พลังงาน และการจัดการขยะมูลฝอยจากข้อเสนอแนะ ทั้งนี้ ได้ทำการศึกษากิจกรรม จากอาคารศูนย์การค้าในเขตเทศบาลนครนครราชสีมาจำนวน 5 อาคาร ใช้ระยะเวลาศึกษาและรวบรวมข้อมูลเป็นระยะเวลา 1 ปี (ตั้งแต่เดือนมกราคมถึงธันวาคม พ.ศ.2561) จากการศึกษาพบว่ากิจกรรมหลักที่ปล่อยก๊าซเรือนกระจกในทุกอาคารคือการใช้พลังงานไฟฟ้า โดยปริมาณการใช้พลังงานมีความสอดคล้องกับขนาดของพื้นที่ เช่นเดียวกับการปล่อยก๊าซเรือนกระจกเพิ่มขึ้นตามขนาดพื้นที่อาคารอย่างมีนัยสำคัญ และเศษอาหารเป็นสัดส่วนที่พบมากที่สุดในสัดส่วนของขยะมูลฝอยที่จะถูกส่งกำจัดยังหลุมฝังกลบ จากการศึกษามาตรการอนุรักษ์พลังงานและวิเคราะห์ MAC จะแสดงผลประโยชน์การลงทุนของมาตรการอนุรักษ์พลังงานดังกล่าว ทั้งประโยชน์ในแง่สิ่งแวดล้อมที่จะสามารถลดก๊าซเรือนกระจกและในแง่ทางเศรษฐศาตร์ที่จะลดต้นทุนในการดำเนินกิจการ การศึกษาทั้งหมดไม่ว่าจะเป็นแนวทางการประเมินคาร์บอนฟุตปริ้นท์องค์กร (CFO), การวิเคราะห์ Marginal Abatement Cost (MAC), การวิเคราะห์มาตรการอนุรักษ์พลังงาน และแนวทางการจัดการขยะมูลฝอย จะเป็นข้อมูลตัวอย่างที่อาคารศูนย์การค้าทั่วไปสามารถนำไปปฏิบัติเพื่อช่วยลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกในอาคารได้เช่นเดียวกัน  -
dc.description.abstractalternativeShopping center buildings are one of the commercial buildings that have discharged a high quantity of greenhouse gas emissions per year. Every activity in the building has released GHG, such as energy consumption and waste generation. This research aimed to study energy consumption and waste management in buildings that evaluated the organization's carbon footprint for reducing GHG from the conservation measures and waste management from suggestion. The author has studied and collected data of the activities from five shopping center buildings in Nakhon Ratchasima Municipality for a period of one year (from January to December 2018). The research has found that the GHG in all buildings came from electrical energy consumption. The energy consumption and GHG are consistent with the size of the area increased significantly. Moreover, food waste is the most common proportion of waste. The study of energy conservation measured and analyzed the MAC could exemplify the investment benefits of such measures in terms of environmental benefits which can reduce greenhouse gases and economical benefits that will reduce operating costs. Therefore, this research can be guidelines for CFO assessments, MAC analysis, energy conservation measures, and solid waste management which were examples their general department stores could also implement to help reduce GHG in the buildings.-
dc.language.isoth-
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย-
dc.relation.urihttp://doi.org/10.58837/CHULA.THE.2019.1293-
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย-
dc.subject.classificationEnvironmental Science-
dc.titleการลดก๊าซเรือนกระจกจากการอนุรักษ์พลังงานและการจัดการขยะมูลฝอยของอาคาร : กรณีศึกษาอาคารศูนย์การค้า-
dc.title.alternativeGreenhouse gases reduction from energy conservation and solid waste management with in building : Case study shopping centre building-
dc.typeThesis-
dc.degree.nameวิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต-
dc.degree.levelปริญญาโท-
dc.degree.disciplineวิศวกรรมสิ่งแวดล้อม-
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย-
dc.email.advisorOrathai.C@Chula.ac.th-
dc.identifier.DOI10.58837/CHULA.THE.2019.1293-
Appears in Collections:Eng - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
6070392121.pdf3.15 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.