Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/70320
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorศรัณย์ เตชะเสน-
dc.contributor.authorยุทธกิจ ชูสุทธิ์-
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิศวกรรมศาสตร์-
dc.date.accessioned2020-11-11T13:53:46Z-
dc.date.available2020-11-11T13:53:46Z-
dc.date.issued2562-
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/70320-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (วศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2562-
dc.description.abstractงานวิจัยนี้ศึกษาผลของอัตราการเวียนน้ำต่อประสิทธิภาพในการกำจัดไนโตรเจนและค่าจลนพลศาสตร์ของถังกรองชีวภาพแบบเติมอากาศแยกชั้นชนิดไหลขึ้น โดยใช้ถังปฏิกิริยาทรงกระบอกปริมาตร 10 ลิตร ใส่ตัวกลางพลาสติกพื้นที่ผิวจำเพาะ 859 ตร.ม.ต่อลบ.ม.เต็มปริมาตรถัง ด้านบน 60% ของถังเป็นส่วนเติมอากาศและด้านล่าง 40% ของถังเป็นส่วนไม่เติมอากาศ ใช้น้ำเสียสังเคราะห์มีค่าซีโอดีและแอมโมเนียม-ไนโตรเจนเริ่มต้น 500 มก./ล. และ 50 มก.ไนโตรเจน/ล. ตามลำดับ ระยะเวลาเก็บกักน้ำเสีย 8 ชั่วโมง คิดเป็นภาระบรรทุกซีโอดี 1.58 กิโลกรัมซีโอดีต่อลูกบาศก์เมตรต่อวัน ทดลองเปลี่ยนค่าอัตราการเวียนน้ำกลับต่อน้ำเสียเข้าระบบ (MLR) อยู่ที่ 0.5:1 1:1 2:1 และ 5:1 ผลการทดลองพบว่าการบำบัดซีโอดีในทุกอัตราการเวียนน้ำมีประสิทธิภาพไม่แตกต่างกันอยู่ที่ 95.0±0.7% มีซีโอดีออกไปกับน้ำทิ้ง 26±4 มิลลิกรัมต่อลิตร ความแตกต่างอยู่ที่การกำจัดไนโตรเจนทั้งหมด ที่ MLR 0.5:1 1:1 2:1 และ 5:1 มีประสิทธิภาพในการกำจัดไนโตรเจนทั้งหมด 34.8% 47.1% 62.0% และ 76.2% มีความเข้มข้นของไนเตรต-ไนโตรเจนในน้ำทิ้ง 31.4±0.4 25.6±0.3 18.3±0.5 และ 10.6±0.2 มิลลิกรัมต่อลิตร ตามลำดับ ในการทดลองหาค่าจลนพลศาสตร์โดยเปลี่ยนความเข้มข้นของน้ำเสียเข้า ใช้ระยะเวลาเก็บกักน้ำเสีย 8 ชั่วโมง MLR 2:1 โดยความเข้มข้นซีโอดีต่อแอมโมเนียม-ไนโตรเจนในน้ำเสียขาเข้าเป็น 100:10 200:20 500:50 1000:100 และ 1500:150 มิลลิกรัมต่อลิตร พบว่าปฏิกิริยาที่เกิดขึ้นเป็นอันดับที่ 1 ทั้งหมด โดยช่วงที่ไม่มีการเติมอากาศ (แอนอกซิก) มีค่าคงที่ของปฏิกิริยา (k1) สำหรับการบำบัดซีโอดีอยู่ที่ 0.842 ชั่วโมง-1 และค่า k1 สำหรับการกำจัดไนเตรต-ไนโตรเจนอยู่ที่ 2.07 ชั่วโมง-1 ขณะเดียวกันช่วงที่มีการเติมอากาศ (ออกซิก) มีค่า k1 สำหรับการบำบัดซีโอดีอยู่ที่ 2.41 ชั่วโมง-1 และค่า k1 การเกิดไนเตรต-ไนโตรเจนอยู่ที่ 0.194 ชั่วโมง-1 ดังนั้นสามารถสรุปได้ว่าถังกรองชีวภาพแบบเติมอากาศแยกชั้นชนิดไหลขึ้นสามารถบำบัดซีโอดีให้มีความเข้มข้นต่ำกว่าค่ามาตรฐานน้ำทิ้งและยังสามารถกำจัดไนโตรเจนออกจากน้ำทิ้งได้ดี โดยไม่ต้องมีการเวียนตะกอนและควบคุมอายุตะกอน-
dc.description.abstractalternativeThis research studied the effect of recirculation rate to nitrogen removal and kinetic of Upflow Partially Aerated Biofilm reactor. The reactor was 10 L of transparent cylinder filled with 859 m2/m3 plastic media. 60% upper part was aerated and 40% bottom part was not. Synthesized wastewater was prepared having COD and ammonia-nitrogen of 500 mg/L and 50 mg.N/L, respectively. Hydraulic retention time was 8 hrs HRT, resulted in organic loading rate of 1.58 kgCOD/m3-d. Mixed liquor return ratio (MLR) was varied at 0.5:1, 1:1, 2:1, and 5:1.  All ratios were found achieving similar COD removal efficiencies of 95.0±0.7%, and COD effluents were 26±4 mg/L.  These ratios resulted in different nitrogen removals, MLR of 0.5:1, 1:1, 2:1, and 5:1 resulted in total nitrogen removal of 34.8%, 47.1%, 62.0% and 76.2%, with effluent NO3--N of 31.4±0.4, 25.6±0.3, 18.3±0.5, and 10.6±0.2 as mgN/L, respectively. Kinetic experiments were performed using MLR of 2:1 and HRT 8 hrs by varying COD : Ammonia-N influent concentrations of 100:10, 200:20, 500:50, 1000:100, and 1500:150 mg/L.  All reactions were followed kinetic of 1st-order reaction rate.  In unaerated (anoxic) zone, the first-order constant (k1) of COD and NO3- removals were 0.842 hr-1 and 2.07 hr-1, whereas in aerated (aerobic) zone, k1 of COD removal and NO3- production were 2.41 and 0.194 hr-1.  Results showed that an Upflow Partially Aerated Biofilm reactor can achieve the COD effluent standard and nitrogen removal without sludge recirculation and sludge age control.-
dc.language.isoth-
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย-
dc.relation.urihttp://doi.org/10.58837/CHULA.THE.2019.1297-
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย-
dc.subjectน้ำเสีย -- การบำบัด -- การกำจัดไนโตรเจน-
dc.subjectน้ำเสีย -- การบำบัด -- วิธีทางชีวภาพ-
dc.subjectSewage -- Purification -- Nitrogen removal-
dc.subjectSewage -- Purification -- Biological treatment-
dc.subject.classificationEnvironmental Science-
dc.titleผลของความเข้มข้นน้ำเข้าและอัตราการเวียนน้ำในการบำบัดซีโอดีและไนโตรเจน ด้วยถังกรองชีวภาพแบบเติมอากาศแยกชั้นชนิดไหลขึ้น-
dc.title.alternativeEffects of concentrations influent and recirculation rates in COD and nitrogen removalby upflow partially aerated biofilm reactor-
dc.typeThesis-
dc.degree.nameวิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต-
dc.degree.levelปริญญาโท-
dc.degree.disciplineวิศวกรรมสิ่งแวดล้อม-
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย-
dc.email.advisorSarun.T@Chula.ac.th-
dc.identifier.DOI10.58837/CHULA.THE.2019.1297-
Appears in Collections:Eng - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
6170249221.pdf8.98 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.