Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/7076
Title: วิธีที่เหมาะสมในการขจัดเดกซ์แทรนในน้ำอ้อยจำลองโดยเดกซ์แทรนเนส
Other Titles: Suitable method for dextran removal in simulated cane juice by dextranase
Authors: ผกาแก้ว เต็มคำขวัญ
Advisors: สุเทพ ธนียวัน
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิทยาศาสตร์
Advisor's Email: fscisth@chulkn.car.chula.ac.th
Subjects: น้ำอ้อย
เดกซ์แทรน
น้ำตาลทราย
Issue Date: 2548
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: ศึกษาหาภาวะเหมาะสมในการนำเดกซ์แทรนเนสจากรา Penicillium sp. SMCU 3-14 ไปใช้ในการกำจัดเดกซ์แทรนที่ปนเปื้อนในน้ำอ้อย โดยเปรียบเทียบแอคติวิตีระหว่างเดกซ์แทรนเนสอิสระ และเดกซ์แทรนเนสตรึงรูปบนทรายที่ใช้กลูตารัลดีไฮด์ เป็นสารช่วยในการสร้างพันธ พบว่า เดกซ์แทรนเนสอิสระมีแอคติวิตีอยู่ในช่วง 250-300 หน่วยต่อมิลลิลิตร และมีอุณหภูมิ และค่าความเป็นกรดด่างที่เหมาะสมในการทำงาน คือ 55 ํC และ 4.5 ตามลำดับ ในขณะที่แอคติวิตีของเดกซ์แทรนเนสตรึงรูปอยู่ในช่วง 40-50 หน่วยต่อปริมาณทรายทั้งหมด 5 กรัมที่ใช้ตรึงอุณหภูมิและค่าความเป็นกรดด่างที่เหมาะสมในการทำงาน คือ 55 ํC และ 5.0 ตามลำดับ จากการศึกษาการทำงานของเดกซ์แทรนเนสทั้งแบบอิสระ และแบบตรึงรูปในน้ำอ้อย พบว่ามีความสามารถในการย่อยสลายเดกซ์แทรนได้ดีพอกับในบัฟเฟอร์ นั่นคือ สิ่งสกปรกที่ปนเปื้อนอยู่ในน้ำอ้อยไม่ส่งผลรบกวนการทำงานของเอนไซม์ จากการที่น้ำอ้อยจากโรงงานน้ำตาลมีปริมาณน้ำตาลรีดิวซ์มาก ซึ่งทำให้เป็นอุปสรรคต่อการวิเคราะห์แอคติวิตีของเอนไซม์ จึงทดลองต่อโดยใช้สารละลายน้ำตาลทราย 13% แทนน้ำอ้อย พบว่าเอนไซม์ที่ใช้ซึ่งนำมาจากนน้ำเลี้ยงเชื้อมีการปนเปื้อนด้วย เอนไซม์อินเวอร์เทสที่สามารถย่อยสลายน้ำตาลทรายให้น้ำตาลรีดิวซ์ขึ้น จึงทำให้เอนไซม์บริสุทธิ์บางส่วนโดยผ่านลงในคอลัมน์โครมาโทกราฟี DEAE-BioGel A ซึ่งทำให้สามารถลดการปนเปื้อนแอนไซม์อื่นได้ ส่งผลให้แอคติวิตีของแดกซ์แทรนเนสที่ได้เป็น 32,810 หน่วยต่อมิลลิลิตร ค่า Km ต่อเดกซ์แทรน ที-2000 เท่ากับ 2.6305 ไมโครโมล และ Vmax เท่ากับ 3.407 ไมโครโมลเดกซ์แทรนที-200 ต่อนาที และเมื่อนำมาหา residential time สำหรับการย่อยเดกซ์แทรน 0.1, 0.5, 1 และ 2% ในสารละลายน้ำตาลทราย 13% 1 มิลลิลิตร ได้อย่างสมบูรณ์นั้น สามารถใช้เดกซ์แทรนเนส 1 หน่วย ทำปฏิกิริยาเป็นเวลา 6,12, 16 และ 40 นาที ตามลำดับ และสำหรับเดกซ์แทรนเนสตรึงรูปให้ค่า Km ต่อเดกซ์แทรน ที-2000 เท่ากับ 1.15146 ไมโครโมล และ Vmax เท่ากับ 1.6622 ไมโครโมลเดกซ์แทรนที-2000 ต่อนาที โดย residential time ในการใช้ เดกซ์แทรนเนสตรึงรูป 1.074 หน่วย ในการย่อยเดกซ์แทรนเท่ากับ 10, 15, 30, และ 50 นาที ตามลำดับ
Other Abstract: Optimal conditions for the removal of dextran in cane juice by dextran from Penicillium sp. SMCU 3-14 were carried out. Activity comparison of free enzyme with that of glutaraldehyde covalent immobilized form on 16-20 mesh river sand was in a range of 250 to 300 unit/ml with optimum temperature and pH of 55 ํC and 4.5, respectively while that of immobilized form was in range of 40 to 50 unit/ml and optimum temperature and pH of 55 ํC and 5.0. Both free and immobilized dextranase showed ability to degrade dextran equally well in both cane juice and buffer It was further observed that impurity in cane juice tested did not interfere or inhibit action of the enzyme. However as the high level of reducing sugar in cane juice interfered with the experiment, a simulated cane juice of 13% sucrose solution was therefore employed in the later part of experiment. The high amount of reducing sugar presence in 13% sucrose was product formed by the activity of invertase contaminated in crude dextranase. Partial enzyme purification via ammonium sulfate precipitation and DEAE-BioGel A Column Chromatography gave rise of enzyme with activity of 32.810 unit/ml. The Km value of the enzyme toward its substrate dextran T-2000 was foun to be 2.6305 micromole and Vmax of 3.407 micromole/min. Residential time for the degradation of 0.1, 0.5, 1.0 and 2.0% dextran in 1 ml of 13%sugar by 1 unit of purified dextranase was 6, 12, 16 and 40 min, respectively. Km value of the immobilized purified dextranase was 1.5146 micromole and Vmax was 1.6622 micromole/min while residential time for the degradation of 0.1, 0.5, 1.0 and 2.0% dextran in 1 ml of 13% sugar by 1.074 unit of immobilized purified dextranase was 10, 15, 30 and 50 min, respectively
Description: วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2548
Degree Name: วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: จุลชีววิทยาทางอุตสาหกรรม
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/7076
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2005.1237
ISBN: 9741421532
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2005.1237
Type: Thesis
Appears in Collections:Sci - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
phakakaew.pdf1.26 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.