Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/7082
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorชโยดม สรรพศรี-
dc.contributor.authorทศพล อภัยทาน-
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะเศรษฐศาสตร์-
dc.coverage.spatialไทย-
dc.date.accessioned2008-05-29T03:14:47Z-
dc.date.available2008-05-29T03:14:47Z-
dc.date.issued2548-
dc.identifier.isbn9741423209-
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/7082-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์(ศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2548en
dc.description.abstractศึกษาผลกระทบจากวิกฤตการณ์น้ำมันที่เกิดขึ้นกับระบบเศรษฐกิจของไทย โดยแบ่งออกเป็น 2 ส่วน ส่วนแรกคือการศึกษาผลกระทบในรายภาคการผลิต ซึ่งศึกษาการเปลี่ยนแปลงระดับราคาของภาคการผลิตต่างๆ เมื่อราคาน้ำมันเพิ่มสูงขึ้น โดยอาศัยแบบจำลองทางด้านราคาของตารางปัจจัยผลผลิตของประเทศไทย ส่วนที่สองคือการศึกษาผลกระทบตัวแปรเศรษฐกิจมหภาคที่สำคัญ และวิเคราะห์การดำเนินนโยบายทางการเงินแบบกฎของเทย์เลอร์ ในการตอบโต้กับความผันผวนของเศรษฐกิจที่เกิดจากราคาน้ำมัน โดยอาศัยแบบจำลองดุลยภาพทั่วไปเชิงพลวัตแปรผัน (Dynamic Stochastic General Equilibrium : DSGE) ที่ได้ผนวกน้ำมันเข้าเป็นส่วนหนึ่งของการผลิต ผลการศึกษาในรายภาคการผลิตพบว่า การเพิ่มขึ้นของราคาน้ำมันส่งผลกระทบต่อระดับราคาของภาคการผลิตอื่นๆ ในทางอ้อม โดยผ่านทางการเพิ่มขึ้นของราคาพลังงานสำเร็จรูป กิจกรรมที่ได้รับผลกระทบสูง ได้แก่ การทำเหมืองแร่ การประมง การผลิตเหล็ก วัสดุก่อสร้างและการก่อสร้าง และการขนส่งต่างๆ ผลการศึกษาในระดับมหภาคพบว่า การเพิ่มขึ้นของราคาน้ำมันทำให้อัตราเงินเฟ้อเพิ่มขึ้นและผลผลิตลดต่ำลง ดังนั้นในการดำเนินนโยบายทางการเงินของธนาคารกลาง โดยใช้กฎของเทย์เลอร์จะเผชิญกับปัญหาทางเลือก (Trade-off) ระหว่างความผันผวนของอัตราเงินเฟ้อและผลผลิต จากการทำประมาณการ (Simulation) โดยแบบจำลอง พบว่า ธนาคารกลางควรให้ความสำคัญกับอัตราเงินเฟ้อมากกว่าผลผลิต เมื่อระดับราคาน้ำมันมีความหนืดมากขึ้น สำหรับการศึกษาถึงการควบคุมราคาของสินค้าโดยรัฐบาล (Government price administration) พบว่าจะทำให้ผลกระทบต่อระดับอัตราเงินเฟ้อและผลผลิตลดน้อยลง และทำให้ความจำเป็นของการดำเนินนโยบายการเงินลดน้อยลงไปด้วย อย่างไรก็ตาม การควบคุมราคาจะส่งผลกระทบทางลบต่อสวัสดิการสังคม ในขณะที่การลดการพึ่งพิงน้ำมันของระบบเศรษฐกิจนั้น จะช่วยลดผลกระทบต่อระดับอัตราเงินเฟ้อและผลผลิตได้แช่นกัน และไม่เกิดผลกระทบทางลบต่อสวัสดิการสังคมen
dc.description.abstractalternativeTo examine the impacts of oil crisis to Thai economy. The study is divided into 2 parts. First part uses the input-output model to examine the change in sectoral price level when oil price increases. Second part develops a dynamic stochastic general equilibrium (DSGE) model to analyze the impacts on macroeconomic variables and the response by the Taylor's rule-type monetary policy. The results from the sectoral level show that an increase in oil price has an indirect effect to the price level of other sectors via fabricated energy. Those highly effected sectors include mining, fishering, metal, construction material, construction and transportations. At the macroeconomic level, it is found that an increase in oil price gives rise to higher inflation and lower economic output. So the use of the Taylor's rule-type of monetary policy to reduce the economic fluctuation will have to face a trade-off between inflation and output volatility. Specifically, the model indicates that the central bank should put more concern on inflation when rising oil price becomes more persistent. In addition, government price administration will not only reduce the effects on inflation and output but also the needs for monetary policy adjustment. However, such price administration has an adverse effect on social welfare. While the policy of decreasing the level of oil dependency gives the same results as price administration, it leads to smaller negative effect on social welfare.en
dc.format.extent7304137 bytes-
dc.format.mimetypeapplication/pdf-
dc.language.isothes
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.relation.urihttp://doi.org/10.14457/CU.the.2005.436-
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.subjectอุตสาหกรรมปิโตรเลียม -- ไทยen
dc.subjectปิโตรเลียม -- ราคาen
dc.subjectปัจจัยการผลิตen
dc.subjectกฎของเทย์เลอร์en
dc.subjectนโยบายการเงินen
dc.titleผลกระทบจากวิกฤตการณ์น้ำมันและนโยบายการเงินแบบกฎของเทย์เลอร์ในประเทศไทยen
dc.title.alternativeThe impacts of oil crisis and Taylor's rule-type monetary policy in Thailanden
dc.typeThesises
dc.degree.nameเศรษฐศาสตรมหาบัณฑิตes
dc.degree.levelปริญญาโทes
dc.degree.disciplineเศรษฐศาสตร์es
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.email.advisorchayodom.s@chula.ac.th-
dc.identifier.DOI10.14457/CU.the.2005.436-
Appears in Collections:Econ - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Tosapol_Ap.pdf7.13 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.