Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/7089
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorพรรณชลัท สุริโยธิน-
dc.contributor.advisorสุนทร บุญญาธิการ-
dc.contributor.advisorวรสัณฑ์ บูรณากาญจน์-
dc.contributor.authorเอกนรินทร์ อ่อนนุช-
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์-
dc.date.accessioned2008-05-29T03:51:42Z-
dc.date.available2008-05-29T03:51:42Z-
dc.date.issued2548-
dc.identifier.isbn9741752563-
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/7089-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (สถ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2548en
dc.description.abstractการวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการออกแบบระบบส่องสว่างภายในอาคารเพื่อการใช้พลังงานอย่างมี ประสิทธิภาพ โดยมีขั้นตอนการวิจัยคือ 1. ศึกษาระบบส่องสว่างจากดวงโคม ได้แก่ โคมไฟ หลอดไฟ บัลลาสต์และอุปกรณ์ที่เกี่ยวข้อง 2. ศึกษาการออกแบบสภาพกายในอาคารที่สามารถเพิ่มประสิทธิภาพ ของระบบส่องสว่างจากดวงโคม 3. ศึกษาอิทธิพลของการเพิ่มประสิทธิภาพระบบส่องสว่างจากดวงโคม ทีมีผลต่อผู้ใช้อาคาร ผลการวิจัยพบว่า 1. การศึกษาระบบส่องสว่างจากดวงโคมและอุปกรณ์ที่เกี่ยวข้อง เมื่อใช้อุปกรณ์ที่มีประสิทธิภาพสูงสุดในปัจจุบันและไม่คิดค่าการ สะท้อนแสงของพื้นผิวภายในห้อง ปริมาณพลังงานไฟฟ้าที่ใช้เท่ากับ 1.23 watt/m2/100 lux 2. การศึกษาการออกแบบสภาพภายในอาคาร เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพของระบบส่องสว่างจากดวงโคม จากการทดลองในแบบจำลอง โดยเปรียบเทียบ การคำนวณแบบ Point by Point Method อ้างอิงกล่องที่มีพื้นผนังสีเข้ม มีค่าการสะท้อนแสงเฉลี่ยต่ำสุด เท่ากับ 0.06 กับการใช้ค่าการสะท้อนแสงของพื้นผิวภายในช่วยเพิ่มประสิทธิภาพของระบบดวงโคม อ้างอิงกล่องที่มีพื้น ผนังสีอ่อนมีค่าการสะท้อนแสงเฉลี่ยสูงสุด เท่ากับ 0.84 เมื่อนำกล่องที่มีค่าการสะท้อน แสงเฉลี่ยสูงสุดเทียบกับต่ำสุดมีปริมาณการส่องสว่างเพิ่มขึ้น 27.4% ปริมาณพลังงานไฟฟ้าที่ใช้เท่ากับ 0.97 watt/m2/100 lux ดังนั้นผลของการสะท้อนแสงภายในกล่องสามารถลดการใช้พลังงานไฟฟ้าได้ 0.26 watt/m2/100 lux 3. การศึกษาอิทธิพลของการเพิ่มประสิทธิภาพระบบส่องสว่างจากดวงโคมต่อผู้ใช้อาคาร การออกแบบพื้นผิวอาคารคำนึงถึงอัตราส่วนของความจ้าบนพื้นที่ใช้งานเปรียบเทียบกับความจ้าบนพื้นผิว ในทิศทางการมอง โดยอัตราส่วนของความจ้าบนพื้นที่ใช้งานเปรียบเทียบกับผนังกล่องมีค่าที่เหมาะสม ไม่เกิน 10 :1 และอัตราส่วนของความจ้าบนพื้นที่ใช้งานเปรียบเทียบกับสภาพแวดล้อมในระยะใกล้ กับพื้นที่ใช้งานมีค่าที่เหมาะสม ไม่เกิน 3: 1 ผลการวิจัยสรุปว่า การใช้ระบบส่องสว่างจากดวงโคมที่มี ประสิทธิภาพสูงเพียงอย่างเดียวโดยไม่มีอิทธิพลจากการสะท้อนแสงของพื้นผิวภายในห้อง พลังงาน ไฟฟ้าที่ใช้เท่ากับ 1.23 watt/m2/100 lux เมื่อใช้ระบบส่องสว่างจากดวงโคมที่มีประสิทธิภาพสูงร่วมกับ การออกแบบพื้นผิวภายในห้องที่มีค่าการ สะท้อนแสงสูง ใช้พลังงานไฟฟ้าในระบบส่องสว่างลดลงเหลือ 0.97 watt/m2/100 lux สามารถลดการใช้พลังงานลงได้ 21% การออกแบบพื้นผิวภายในอาคารที่มีค่า การสะท้อนแสงเฉลี่ยสูงขึ้น 10% มีผลทำให้การใช้พลังงานลดลง 0.03 watt/m2/100 lux ดังนั้นสถาปนิก มัณฑนากร และผู้ออกแบบ จึงมีบทบาทสำคัญต่อการประหยัดพลังงานในระบบส่องสว่าง โดยการออกแบบพื้นผิวภายในให้มีค่าการสะท้อนแสงสูง และสร้างสภาวะน่าสบายทางสายตาให้แก่ผู้ใช้อาคาร โดบควบคุมความเปรียบต่างของความจ้าภายในห้องให้มีอัตราส่วนที่เหมาะสมen
dc.description.abstractalternativeThe objective of this research is to develop an energy conservation index for artificial lighting in buildings. The methodology includes (1) studies of articial lighting systems and equipments, (2) studies of interior designs for maximum uses of artificial lighting systems, (3) studies of influences of high-performance artificial lighting systems on building occupants. The results indicated that (1) using high-performance lighting systems and equipments (with interior surface reflections neglected) can help reducing lighting energy consumption t the level of 1.23 watt./m2/100 lux. (2) In the study of interior designs for improving lighting performance using scale models, it was found that light-color surfaces with a surface reflection of 0,84 have a 27.4% increase of interior illuminance level as compared to dark-color surfaces with 0.06 light reflection, causing a decrease of lighting energy consumption to 0.97 watt/m2/100 lux. Additionally, at every 10% increase of interior surface reflection, an energy consumption can be reduced by 0.03 watt/m2/100 lux. (3) Various interior surface colors also lead to different light reflections, thus lighting energy consumption. In terms of visual comfort, it was found that the contrast ratio between task (working plane) and surrounding surface should not exceed 10:1, whereas the ratio of luminance level between a working plane and room surrounding surfaces should not exceed than 3:1. In conclusion, high-performance lighting systems without the influence of reflecting surface, energy consumption for lighting is 1.23 watt/m2/100 lux while high performance lighting system with high reflectance surface. Energy consumption can be reduced to 0.97 watt/m/2/100 lux or 21%. The increase of every 10% of reflecting in the interior can reduce energy consumption of 0.03 watt/m/2/100 lux. Therefore, building professionals (i.e., architects and interior designers) can be an important role on conserve energy in electric lighting systems, using high-light-reflection surfaces without compromising visual comfort of the occupants.en
dc.format.extent12793634 bytes-
dc.format.mimetypeapplication/pdf-
dc.language.isothes
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.relation.urihttp://doi.org/10.14457/CU.the.2005.100-
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.subjectอาคาร -- แสงสว่างen
dc.subjectการส่องสว่างภายในen
dc.subjectอาคาร -- การใช้พลังงานen
dc.subjectสถาปัตยกรรมกับการอนุรักษ์พลังงานen
dc.titleแนวทางการสร้างแบบประเมินการออกแบบส่องสว่างภายในอาคารเพื่อการใช้พลังงานอย่างมีประสิทธิภาพen
dc.title.alternativeAn approach to formulate energy conservation index for artificial lighting in buildingsen
dc.typeThesises
dc.degree.nameสถาปัตยกรรมศาสตรมหาบัณฑิตes
dc.degree.levelปริญญาโทes
dc.degree.disciplineสถาปัตยกรรมes
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.email.advisorsphancha@chula.ac.th-
dc.email.advisorsoontorn@asia.com, Soontorn.B@Chula.ac.th-
dc.email.advisorVorasun.b@chula.ac.th-
dc.identifier.DOI10.14457/CU.the.2005.100-
Appears in Collections:Arch - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
akenarin.pdf12.49 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.