Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/70968
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorบุษบง ตันติวงศ์-
dc.contributor.authorปัทมศิริ ธีรานุรักษ์-
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย-
dc.date.accessioned2020-11-24T09:10:10Z-
dc.date.available2020-11-24T09:10:10Z-
dc.date.issued2539-
dc.identifier.isbn9746352024-
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/70968-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2539en_US
dc.description.abstractการวิจัยนี้วัตถุประสงค์ เพื่อสร้างและพัฒนาโปรแกรมการมีส่วนร่วมของผู้ปกครองเพื่อส่งเสริมการรู้หนังสือขั้นต้นของเด็กวัยอนุบาล ตัวอย่างประชากรประกอบด้วย ผู้ปกครองนักเรียนชั้นอนุบาล 1-3 ที่มีอายุ 3-6 ปี จำนวน 31 คน จากโรงเรียนเกษมพิทยา แผนกอนุบาล แบ่งเป็นกลุ่มทดลอง 16 คน และกลุ่มควบคุม 15 คน ขั้นตอนในการพัฒนาโปรแกรมฯ มีดังนี้ ขั้นที่ 1 สร้างโปรแกรมการมีส่วนร่วมของผู้ปกครองเพื่อส่งเสริมการรู้หนังสือขั้นต้นของเด็กวัยอนุบาล ขั้นที่ 2 ทดลองใช้โปรแกรมการมีส่วนร่วมของผู้ปกครองเพื่อส่งเสริมการรู้หนังสือขั้นต้นของเด็กวัยอนุบาล และขั้นที่ 3 ปรับปรุงโปรแกรมการมีส่วนร่วมของผู้ปกครองเพื่อส่งเสริมการรู้หนังสือขั้นต้นของเด็กวัยอนุบาล ผลการวิจัยมีดังนี้ 1) หลังการทดลองใช้โปรแกรมฯ ผู้ปกครองกลุ่มทดลองมีคะแนนความรู้ความเข้าใจในการส่งเสริมการรู้หนังสือขั้นต้นสูงกว่าผู้ปกครองกลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญหางสถิติที่ระดับ .01 2) ผู้ปกครองกลุ่มทดลองมีคะแนนความรู้ความเข้าใจในการส่งเสริมการรู้หนังสือขั้นต้นหลังการทดลองใช้โปรแกรมฯ สูงกว่าก่อนการทดลองใช้โปรแกรมฯ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 3) ผู้ปกครองที่เข้าร่วมโปรแกรมฯ ส่วนมากมีความคิดเห็นเกี่ยวกับความเหมาะสมของการดำเนินการใช้โปรแกรมอยู่ในระดับมากที่สุด- และ 4) ครูประจำชั้นอนุบาลที่ผู้ปกครองเป็นตัวอย่าง ประชากรส่วนมากมีความคิดเห็นเกี่ยวกับความเหมาะสมของการดำเนินการใช้โปรแกรมอยู่ในระดับมาก โปรแกรมฯ ที่ปรับปรุงแล้วประกอบด้วย หลักการ วัตถุประสงค์ ลักษณะของโปรแกรมฯ เนื้อหา การดำเนินการใช้โปรแกรมฯ และการประเมินผล ลักษณะของโปรแกรมฯ เป็นการทำร่วมกันระหว่างผู้ดำเนินการใช้โปรแกรมฯ ผู้ปกครองกับครูที่โรงเรียบ และระหว่างผู้ปกครองกับลูกที่บ้าน ประกอบด้วย 4 กิจกรรม ได้แก่ กิจกรรมการประชุม กิจกรรมทำกิจกรรมร่วมกับลูก กิจกรรมการบันทึกพฤติกรรมการรู้หนังสือ และกิจกรรมการรายงานความก้าวหน้ารายบุคคล เนื้อหาในโปรแกรมฯ ประกอบด้วย การรู้หนังสือขั้นต้นของเด็กวัยอนุบาล และแนวทางในการส่งเสริมการรู้หนังสือขั้นต้น แบ่งการดำเนินการออกเป็น 3 ขั้นตอน ได้แก่ การสร้างความเข้าใจ การปฏิบัติการ และการสรุปผลงานมีระยะเวลาในการดำเนินการใช้โปรแกรมฯ ไม่ต่ำกว่า 10 สัปดาห์ ผลผลิตของการวิจัยครั้งนี้ได้แก่ คู่มือโปรแกรมการมีส่วนร่วมของผู้ปกครองเพื่อส่งเสริมการรู้หนังสือขั้นต้นของเด็กวัยอนุบาล แฟ้มสื่อต้นแบบ และวีดิทัศน์-
dc.description.abstractalternativeThe purpose of this research was to construct and develop a Parental Participation Program for Promoting! Early Literacy for Preschool Children. The subjects were thirty-one parents of preschool children ages three to six from Kaseam Pittaya School. Sixteen parents were assigned to an experimental group and fifteen were assigned to a control group. The method of study consisted of 3 phases, namely, construction, field test and revision of the program. The research results were as follows: 1) after the field test, the knowledge scores of the experimental parents were significantly higher than that of the control parents at .01 level; 2 ) after the field test the knowledge scores of the experimental parents were significantly higher at .01 level; 3) most parents viewed the program as most appropriate; 4) most teachers viewed the program as highly appropriate. The program was made up of principles, objectives, features, content, implementation procedure and evaluation. Two collaborative features of the program were: 1) school-based collaboration which required partnership between a program coordinator and users, i.e. parents and teachers: 2) home-based collaboration which required joint action between parents and children. Four activities representing the features include: 1) school meeting; 2) home learning together; 3) monitoring child’s literacy; 4) sharing child’s progress. The content was preschoolers’ early literacy and ways to promote early literacy. Implementation procedure was orientation, workshop, and, reflection and conclusion. Time requirement of the procedure was no less than 10 weeks. The product of this study consisted of a Handbook of a Parental Participation Program for Promoting Early Literacy for Preschool Children, a folder of copymasters and a videocassette.-
dc.language.isothen_US
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.subjectการศึกษาปฐมวัย -- การมีส่วนร่วมของบิดามารดา-
dc.subjectการรู้หนังสือ-
dc.subjectนักเรียนอนุบาล-
dc.subjectEarly childhood education -- Parent participation-
dc.subjectLiteracy-
dc.titleการพัฒนาโปรแกรมการมีส่วนร่วมของผู้ปกครองเพื่อส่งเสริมการรู้หนังสือขั้นต้นของเด็กวัยอนุบาลen_US
dc.title.alternativeThe development of a parental participation program for promoting early literacy for preschool childrenen_US
dc.typeThesisen_US
dc.degree.nameครุศาสตรมหาบัณฑิตen_US
dc.degree.levelปริญญาโทen_US
dc.degree.disciplineการศึกษาปฐมวัยen_US
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.email.advisorBoosbong.T@Chula.ac.th-
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Pattamasiri_te_front_p.pdf1.03 MBAdobe PDFView/Open
Pattamasiri_te_ch1_p.pdf1.16 MBAdobe PDFView/Open
Pattamasiri_te_ch2_p.pdf1.43 MBAdobe PDFView/Open
Pattamasiri_te_ch3_p.pdf2.26 MBAdobe PDFView/Open
Pattamasiri_te_ch4_p.pdf4.25 MBAdobe PDFView/Open
Pattamasiri_te_ch5_p.pdf1.83 MBAdobe PDFView/Open
Pattamasiri_te_back_p.pdf3.07 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.