Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/7102
Full metadata record
DC Field | Value | Language |
---|---|---|
dc.contributor.author | นงลักษณ์ วิรัชชัย | - |
dc.contributor.author | สุวิมล ว่องวาณิช | - |
dc.contributor.other | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะครุศาสตร์ | - |
dc.contributor.other | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะครุศาสตร์ | - |
dc.date.accessioned | 2008-05-29T06:30:24Z | - |
dc.date.available | 2008-05-29T06:30:24Z | - |
dc.date.issued | 2541 | - |
dc.identifier.uri | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/7102 | - |
dc.description.abstract | การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อสังเคราะห์รายงานการวิจัยทางการศึกษาและที่เกี่ยวข้องกัยการศึกษา จำนวน 323 เรื่องที่เสนอในการประชุมทางวิชาการครั้งที่ 9 ของสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ การสังเคราะห์งานวิจัยครั้งนี้ ประกอบด้วยการสังเคราะห์ด้วยการวิเคราะห์อภิมานงานวิจัยเชิงปริมาณที่ใช้แบบการวิจัยเชิงทดลอง แบบการวิจัยเชิงสหสัมพันธ์ และการเปรียบเทียบ จำนวน 144 เรื่อง และการสังเคราะห์งานวิจัยด้วยการวิเคราะห์เนื้อหางานวิจัยที่เป็นการวิจัยเชิงคุณลักษณะและการวิจัยแบบบรรยาย จำนวน 179 เรื่อง ในการวิเคราะห์อภิมานเป็นการเก็บรวบรวม และวิเคราะห์ฐานข้อมูล 2 ชุด การวิเคราะห์ชุดแรกใช้งานวิจัยแต่ละเรื่องทั้ง 323 เรื่องเป็นหน่วยในการวิเคราะห์ และมีการกำหนดรหัสตัวแปร 50 ตัวแปร แทนลักษณะจุดมุ่งหมาย เนื้อหาสาระ วิธีวิทยา สภาพ ประวัติการ พิมพ์งานวิจัย และภูมิหลัวของผู้ทำวิจัย ในการวิเคราะห์ชุดที่สองมีการให้รหัสตัวแปรเพิ่มอีก 15 ตัวแปร เพื่อแทนประเภท จำนวนหน่วย และคุณภาพของกลุ่มตัวอย่าง ประเภท และความเที่ยงของเครื่องมือวิจัย ประเภทของตัวแปรอิสระและตัวแปรตาม วิธีการวิเคราะห์และผลการวิเคราะห์ เนื่องจากงานวิจัยบางเรื่องมีการรายงานข้อค้นพบมากกว่าหนึ่งประเด็น ดังนั้นหน่วยการวิเคราะห์ชุดที่สองจึงประกอบด้วยค่าขนาดอิทธิพล 208 ค่า และ ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ 336 ค่าจากงานวิจัย 144 เรื่อง ผู้วิจัยทั้งสองคนแยกกันทำประเมิน และลงรหัสรายงานวิจัยแต่ละเรื่อง เมื่อเสร็จแล้วจึงร่วมกันพิจารณาทบทวนผลการประเมินและแบบการให้รหัส โดยมีการอภิปรายและตรวจสอบซ้ำเมื่อมีผลงานต่างกันเพื่อให้ได้ผลสรุปตรงกัน วิธีการวิเคราะห์ข้อมูลประกอบด้วยการประมาณค่าดัชนีมาตรฐาน 2 ดัชนี (ขนาดอิทธิพล และสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์) การตรวจสอบการแจกแจงของค่าประมาณดัชนีมาตรฐาน การบูรณาการค่าประมาณดัชนีมาตรฐาน และการวิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างคุณลักษณะงานวิจัยกับดัชนีมาตรฐาน โดยใช้วิธีการที่เสนอโดย กลาส และคณะ, ฮันเตอร์ และคณะ, เฮดเจส และออลคิน และโรเซนทาล สำหรับการวิเคราะห์เนื้อหา ผู้วิจัยทั้งสองคนแยกกันศึกษางานวิจัยทั้ง 179 เรื่อง แล้วทำสรุปย่อ และจัดกลุ่มตามเนื้อหาสาระ จากนั้นจึงร่วมกันพิจารณาทบทวนการจัดกลุ่ม และจัดทำโครงร่างการวิเคราะห์เนื้อหาร่วมกัน ผลการวิเคราะห์ชุดแรกในการวิเคราะห์อภินานแสดงว่ามีการทำวิจัยตามแนวนโยบายในแผนพัฒนาการศึกษาแห่งชาติฉบับที่ 7 และแผนการศึกษาชาติ พ.ศ. 2535 แต่ละด้านไม่สมดุล งานวิจัยส่วนใหญ่ศึกษาด้านการเรียนการสอน การบริหารการศึกษา การศึกษาเพื่อพัฒนาบุคคล และการศึกษาภาคบังคับ แต่มีงานวิจัยน้อยมากเกี่ยวกับการศึกษาเอกชน การศึกษาสำหรับกลุ่มผู้ด้อยโอกาส มีงานวิจัยประมาณครึ่งหนึ่ง เป็นงานที่ทำเป็นวิทยานิพนธ์ เป็นงานที่ดำโดยครูอาจารย์ และผู้ทำวิจัยส่วนใหญ่มีวุฒิปริญญาโท ประมาณร้อยละ 57 ของงานวิจัยทั้งหมดได้รับทุนสนับสนุนการวิจัย แต่มีงานวิจัยเพียงร้อยละ 12 และ 8 ทีมีการการลงพิมพ์ในวารสาร และเสนอในที่ประชุมวิชาการตามลำดับ ด้านวิธีวิทยาการวิจัยพบว่ามีงานวิจัยร้อยละ 37, 19, 12 และ 8 ของงานวิจัยที่ใช้แบบการวิจัยเชิงบรรยาย การวิจัยเชิงทดลอง การศึกษาเปรียบเทียบ และ การวิจัยเชิงสหสัมพันธ์ตามลำดับ แต่มีงานวิจัยเพียงร้อยละ 21, 23, 6 และ 8 ของงานวิจัยที่ใช้การทดสอบสถิติที่ การวิเคราะห์ความแปรปรวนสหสัมพันธ์แบบง่าย และการวิเคราะห์การถดถอย คุณภาพของรายงานการวิจัยค่อนข้างต่ำโดยมีคะแนนเฉลี่ยผลการประเมิน 62.98 คะแนนจากคะแนนเต็ม 100 คะแนน คุณภาพงานวิจัยแตกต่างกันตามคุณลักษณะงานวิจัย ซึ่งพบว่า งานวิจัยที่มีคุณภาพสูงได้แก่งานวิจัยที่ทำโดย ครู/อาจารย์/ศึกษานิเทศก์ เป็นงานวิจัยที่ใช้แบบการวิจัยและพัฒนา หรือการวิจัยเชิงทดลอง เป็นงานวิจัยที่ได้รับทุนสนับสนุนการวิจัย ใช้เครื่องมือวิจัยที่มีคุณภาพสูง และใช้สถิติขั้นสูงในการวิเคราะห์ข้อมูล การวิเคราะห์ชุดที่สองในการวิเคราะห์อภิมานแสดงว่าคาเฉลี่ยแบบถ่วงน้ำหนักของค่าประมาณดัชนี คือ ขนาดอิทธิพล และสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ มีค่าเท่ากับ .324 และ 215 ดัชนีมาตรฐานทั้งสองมีค่าแตกต่างกันตามตัวแปรต่อไปนี้ ก) เนื้อหาสาระของงานวิจัย โดยงานวิจัยที่มีค่าเฉลี่ยแบบถ่วงน้ำหนักของดัชนีสูง คืองานวิจัยที่ศึกษาด้านสื่อการสอน (.995 และ .413) ด้านการสอน (1.447 และ .500) ด้านการวัดและประเมินผล (.846 และ 359) ด้านหลักสูตร (.673 และ .299) ข) นโยบายที่กำหนดไว้ในแผนพัฒนาการศึกษาแห่งชาติฉบับที่ 7 โดยงานวิจัยที่มีค่าเฉลี่ยแบบถ่วงน้ำหนักของดัชนีมีค่าสูง คือ งานวิจัยด้านการศึกษาเพื่อพัฒนาบุคคล (.461 และ .222) การระดมทรัพยากรเพื่อการจัดการศึกษา (.187 และ .396) การศึกษาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (.279 และ .126) ค) นโยบายที่กำหนดตามแผนการศึกษาแห่งชาติ โดยงานวิจัยที่มีค่าเฉลี่ยแบบถ่วงน้ำหนักของดัชนีที่มีค่าสูง คือ งานวิจัยด้านการส่งเสริมการเรียนภาษาต่างประเทศ (1.148 และ .479) เทคโนโลยีการสื่อสารสำหรับการขยายบริการการศึกษา (1.111 และ 440) การส่งเสริมการวิจัยและพัฒนา ((.914 และ .358) การปฏิรูปการฝึกหัดครูและการพัฒนาครูประจำการ (.441 และ .224) การอบรมเลี้ยงดูเด็กและพัฒนาการเด็ก (.355 และ .148) ง) ระดับการศึกษา โดยงานวิจัยที่มีค่าเฉลี่ยแบบถ่วงน้ำหนักของดัชนีมีค่าสูง คืองานวิจัยดับประถมศึกษา (.957 และ .306) ระดับประถมศึกษา (.423 และ .298) การฝึกหัดครู (.750 และ .105) จ) วุฒิของผู้ทำวิจัย โดยงานวิจัยที่มีค่าเฉลี่ยแบบถาวงน้ำหนักของดัชนีมีค่าสูง คืองานวิจัยที่ผู้ทำวิจัยมีวุฒิปริญญาตรีต่างประเทศ (1.705 และ .514) ปริญญาโท (.428 และ 290) ฉ) การเผยแพร่งานวิจัย โดยงานวิจัยที่มีการเสนอในที่ประชุมสัมมนา มีค่าเฉลี่ยแบบถ่วงน้ำหนักของดัชนีสูงสุด (1.970 และ.313) ช) ประเภทตัวแปรตาม โดยงานวิจัยที่มีค่าเฉลี่ยแบบถ่วงน้ำหนักของดัชนีมีค่าสูง คืองานวิจัยที่ใช้ตัวแปรตามดังนี้ ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน (.780 และ .375) ความคิด/สติปัญญา (.740 และ .268) พฤติกรรมและสาเหตุ (.612 และ .234) ซ) ประเภทของตัวแปรอิสระ โดยงานวิจัยที่มีค่าเฉลี่ยแบบถ่วงน้ำหนักของดัชนีมีค่าสูง คืองานวิจัยที่ศึกษาตัวแปรอิสระต่อไปนี้ ภูมิหลังของครู (2.101 และ .488) รูปแบบการสอน (1.063 และ .377) การจัดกิจกรรม (.936 และ .418) การฝึกอบรมระยะสั้น 3ข5 วัน (.769 และ .291) การสอนโดยมีกิจกรรม (.722 และ .313) บทเรียนสำเร็จรูป (.873 และ .376) การสอนด้วยสื่อ (.702 และ .339) ญ) วิชาที่สอน โดยงานวิจัยที่มีค่าเฉลี่ยแบบถ่วงน้ำหนักของดัชนีมีค่าสูง คืองานวิจัยที่ศึกษาในวิชาต่อไปนี้ วิชาภาษา (1.032 และ .442) วิชารวมเป็นกลุ่ม เช่น สลน. ในระดับประถมศึกษา (.609 และ .301) คณิตศาสตร์ (.539 และ .324) วิชาครู (.791 และ .360) ฎ) วิธีวิทยาที่ใช้ในการวิจัย โดยงานวิจัยที่มีค่าเฉลี่ยแบบถ่วงน้ำหนักของดัชนีมีค่าสูง คืองานวิจัยที่เป็นการเปรียบเทียบกับเกณฑ์มาตรฐาน (1.348) และ .585) การทดลองที่มีการวัดก่อนและวัดหลัง (1.370 และ .493) การวิจัยเชิงประเมิน (.982 และ .084) แบบการวิจัยและพัฒนา (.974 และ .385) เป็นงานวิจัยที่ใช้การสังเกต (1.555 และ .441) ใช้เครื่องมือวิจัยมีคุณภาพสูง (.602 และ 172) และการวิเคราะห์ด้วยคอมพิวเตอร์ (1.989 และ .389) ผลการวิเคราะห์ความแปรปรวน และการวิเคราะห์การถดถอย พบว่า ตัวแปรคุณลักษณะงานวิจัยอธิบายความแปรปรวนในผลการวิจัยวัดในรูปค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ได้ถึง ร้อยละ 33 อิทธิพลของตัวทำนายที่ดีที่สุดเรียงจากมากไปน้อย คือ ประเภทตัวแปรอิสระ (.30) การเสนอผลงานในที่ประชุมสัมมนา (.24) ประเภทงานวิจัย (.20) คุณภาพงานวิจัย (.15) วุฒิของผู้ทำวิจัย (.15) ปีที่ทำงานวิจัยเสร็จ (1.2) และ ขนาดกลุ่มตัวอย่าง (-.17) ผลการวิเคราะห์เนื้อหางานวิจัย 10 กลุ่ม พบว่า ในจำนวนงานวิจัย 179 เรื่อง มีงานวิจัย 14 เรื่องในกลุ่มแรก ศึกษาด้านหลักสูตร และได้ผลการวิจัยเป็นหลักสูตรใหม่ที่พัฒนาขึ้น หลักสูตรที่ตรวจสอบแล้วเหมาะสม มีงานวิจัย 27 เรื่อง ศึกษาปัญหาและวิธีแก้ไขเกี่ยวกับกระบวนการเรียนรู้ ผลการวิจัยพบว่ามีปัญหาระดับปานกลาง และมีปัญหาน้อยเกี่ยวกับคุณลักษณะนักเรียนและผู้สำเร็จการศึกษา มีงานวิจัย 10 เรื่องทำการประเมินวิธีการสอน และพบว่าคุณภาพการสอนอยู่ในระดับปานกลางถึงสูง และเสนอแนะให้มีการพัฒนาบุคลากร มีงานวิจัย 58 เรื่อง ทำการวิจัยด้านการบริหารการศึกษา และให้ข้อเสนอแนะว่ายังมีความต้องการจำเป็นเรื่อง การบริหารงานบุคคล การพัฒนาศักยภาพของบุคลากร แต่การวางแผนและการบริหารจัดการโดยทั่วไปมีความเหมาะสม มีงานวิจัย 9 เรื่องรายงานว่าคุณภาพการนิเทศการศึกษามีความเหมาะสม มีปัญหาระดับน้อยถึงปานกลาง และมีรายงานการพัฒนาชุดของตัวบ่งชี้สำหรับวัดความสำเร็จของการนิเทศ มีงานวิจัย 1 เรื่อง ศึกษาด้านการแนะแนว สรุปได้ว่านักเรียน ครูและผู้บริหาร เห็นด้วยกับการใช้ระเบียบข้อบังคับเรื่องวินัย และการลงโทษ ตลอดจนกระบวนการแนะแนว มีงานวิจัย 27 เรื่อง ทำการวิจัยและพัฒนาด้านการวัดและประเมินผลการศึกษา ได้แบบสอบ/เครื่องมือวัด วิธีการวินิจฉัย/แบบประเมิน รวมกัน 20 รายการ และได้โปรแกรมคอมพิวเตอร์สำหรับสร้างธนาคารข้อสอบสองโปรแกรม มีงานวิจัย 6 เรื่อง ทำการวิจัยเกี่ยวกับวิธีวิทยาการวิจัย โดยศึกษาวิธีการวัดและประเมินผลการศึกษา และการเพิ่มอัตราตอบกลับแบบสอบถาม มีงานวิจัย 5 เรื่อง ทำการวิจัยเกี่ยวกับจิตวิทยาสังคม และพฤติกรรมศาสตร์ (แม้ว่าจะเป็นการวิจัยเชิงปริมาณ แต่ผู้ทำวิจัยเสนอรายงานในเชิงพรรณาเท่านั้น) และในกลุ่มสุดท้ายมีงานวิจัย 16 เรื่อง ศึกษาเชิงพรรณา/บรรยาย สภาวะ/วิถีชีวิต/ประเด็นสำคัญ ในชุมชน และการบริหารองค์กร จากข้อค้นพบในการวิจัย มีข้อเสนอแนะที่สำคัญ 4 ประการ ประการแรก ควรกระตุ้น และสนับสนุนให้นักการศึกษาทำการวิจัยขั้นสูงในสาขาที่มีการวิจัยน้อยให้มากขึ้น ประการที่สอง ควรมีการนำผลการวิจัยตามตัวแปรที่ให้ค่าเฉลี่ยขนาดอิทธิพลสูงไปใช้ให้เกิดผลในทางปฏิบัติ เพื่อส่งเสริมการเรียนรู้ของผู้เรียน และการขยายบริการการศึกษาสำหรับกลุ่มผู้ด้อยโอกาส ประการที่สาม องค์กรที่เกี่ยวข้องกับการวิจจัยควรได้รับการส่งเริมให้จัดกิจกรรมการฝึกอบรมทำวิจัย และจัดกิจกรรมการเผยแพร่ผลงานวิจัยย่างมีประสิทธิภาพ ตลอดจนจัดให้มีการพัฒนาระบบสารสนเทศเกี่ยวกับผลการวิจัย และประการสุดท้าย สำหรับการวิจัยต่อไปในอนาคต นักวิจัยควรต้องรายงานค่าสถิติที่เป็นผลการวิจัยเพื่อประโยชน์ในการวิเคราะห์อภิมานต่อไป ควรมีการพัฒนาเทคนิคการวิเคราะห์อภิมานให้ได้ผลการวิเคราะห์ถูกต้องและแปลความหมายได้ครอบคลุมมากยิ่งขึ้น และควรมีการนำวิธีการวิเคราะห์ทางสถิติขั้นสูง เช่น ลิสเรล เอช.แอล.เอ็ม มาใช้เพื่อให้ได้ผลการสังเคราะห์ที่ดียิ่งขึ้นกว่าเดิม | en |
dc.description.abstractalternative | The objective of this research was to synthesize 323 research report in education and the area related to education, presented in the Ninth Academic Symposium organized by the Office of National Education Commission. The research synthesis consisted of a meta-analysis of 144 quantitative research reports using experimental, correlational and comparative designs, and a content analysis of 179 qualitative and descriptive research reports. For the meta-analysis, two data sets were collected and analyzed. In the first analysis, each of the 323 research reports was used as a unit of analysis, and 50 variables were coded to describe objectives, content, methodologies, settings, publication histories of the research reports and the researchers' background. In the second analysis, 15 additional variables were coded to described types, numbers and qualities of the samples; types and reliabilities of the research instruments; types of independent and dependent variables; methods of analyses and the analyses results.Since some research studies reported more than one findings, therefore, the total units of analysis consisted of 208 effect size and 336 correlation coefficients from 144 research reports. The two researchers independently evaluated and coded each research report, and jointly reviewed their evaluating results and coding forms. They then discussed if there were any disagreement and reached an agreement after the discussion and reexamination. The analysis covered the estimation of standard indices (effect sizes and correlation coefficients), the correction of the estimated standard indices due to measurement crror, the examination of the distribution and the integration of the corrected estimated standard indices, and the analysis of relationships between the study features and the standard indices by using the methods proposed by Class, et al; Hunter, et al; Hedges and Olkin; and Rosenthal. In content analysis, the two researchers independently studied each of 1/9 research reports, summarized and categorizedthe reports into categories based on their content. They then jointly reviewed the categories, organized and laid down the outline of the content analysis results. The first part of the meta-analysis indicated that there were imbalanced in the research content among categories based on the Seventh Educational Development Plan and the National Education Scheme B.E. 2535. Most of the research focused on teaching and learning, educational administration, education for human development ad compulsory education; while there were only a few research on private education, while there only a few research on private education, education for the disadvantages. About half of all research were Master's degree thesis, were conducted by teachers and professors, most of who earned Master's degrees' Approximately 57 percent of the research got supporting fund, but there were only 12 percent being published in a journal and 8 percent being presented in a seminar. About 37, 19, 12, and 8 percents of the research were descriptive research, experimental research, comparative studies and correlational research respectively; but only 21, 23, 6 and 8 percents of the research employed t-test, anova, simple correlation and multiple regression respectively. The quality of the research report was rather low as indicated by an average of the evaluation scores of 62.98 out of 100. The research quality varied according to several study charactersitics: the research having higher quality were those conducted by teachers/professors/supervisors, employed research and development of experimental designs, got research funding, had high quality research instruments and used advanced statistical analysis. The second part of the meta-analysis indicated that the weighted average were .324 and .215 for the two corrected estimated standard indices: effect size and correlation coefficients, respectively. The two standard indices varied according to a) research content with higher weighted average indices on instruction media (.995 and .413), teaching(1.447 and .500) measurement and evaluation (.846 and .359), curriculum (.673 and .299); b) policies stated in the Seventh Educational Development Plan with higher weighted average indices on education for human development (.461 and .222), resource gathering for educational management (.18/ and .396), sciences and technology education (.279 and .126); c) policies stated in the National Education Scheme with higher weighted average indices on promotion to foreign language learning (1.148 and .479), communication technology for educational expansion (1.111 and .440), promotion of research and development (.914 and .358) teacher education reform and in-service teacher development (.441 and .224) child rearing and child development (.355 and .148); d) educational level: with higher weighted average indices on pre-primary education (.957 and .306) primary education (.423 and .298) teacher education (.750 and .105); c) research qualification with higher weighted average indices for those conducted by researcherswho graduated with bachelor's degree from abroad (1.705 and .514) master's degree (.428 and .290): 1) research dissemination with higher weighted average indices for those being presented in a seminar (1.970 and .313); g) types if dependent variables with higher weighted average indices on learning achievement (.780 and .375) thinking/intelligence (.740 and .268); behaviors and causes (.612 and .234); h) types of independent variables with higher weighted average indicies on teacher background (2.101 and .488), teaching model (1.063 and .377), organizing activitics (.936 and .418) short course training for 335 days (.769 and .294) teaching with activities (.722 and .313), instant lesson (.873 and .376) teaching with media (.702 and .339); I) course taught with higher weighted average indices on language subject (1.032 and .442), integrated subject areas at primary education level (.609 and .301), mathematics (.357 and .324), teaching course (.791 and .360); j) research methodologies with higher weighted average indices on research employing comparison with standard criteria (13.348 and .585), pretest posttest experiment (1.370 and .493), evaluative research (.982 and .084), research and development design (.974 and .385), observation (1.555 and .441), high quality research instrument (.602 and .172), analysis by computer (1,989 and .389). The results from anova and regression analysis indicated that the study teatures accounted for 333 percent of variation in the research results measuring as correlation coefficients. The effects of the best predictors in consecutive order were types of independent variables (.30), presentation if research in a seminar (.24) types of research (.20) research quality (.15) researchers' qualification (.15) year completed (.12) and sample sizes (-.17). The results from the on categories if content analysis showed that of all 179 research reports, 14 were conducted on curriculum and yielded several developed curricula and validated curricula; 27 were conducted on problems and solutions in learning process and founded that there were moderate problems, and minor problems pertaining to the characteristics of students and graduates; 10 were conducted to evaluate teaching methods and reported the quality at medium to high level, and gave suggestion for teacher development; 58 focused on educational administration and suggested the needs for personnel administration, development of personnel competency while the planning and management were appropriate; 9 studies reported that the quality of educational supervision were appropriate, the problems were at minimum or medium level, and also yielded a set of indices developed to measure success of supervision; 4 concentrated on educational guidance which showed that students, teachers and administrators agreed with discipline and punishment rules, and guidance procedure; 27 studies aimed to develop and yielded 20 tests/research instruments/diagnostic methods/evaluating forms and 2 programs for constructing item bank; 6 studies focused on research methodologies pertaining to educational measurement and evaluation, an increase of questionnaire response; 5 reports were conducted on social psychology and behavioral sciences (although they were quantitative in nature, but the report gave only qualitative findings); and the last 16 studies focused on describing and narrating the situations/ ways of life/ hot issues of the communities and the organization administration. Four important recommendations resulting from the research findings were as follows: educators should be stimulated and supported to conducted advanced research in the areas that had few studies. The variables that had high average effects should be implemented in order to promote students' learning and to expand education especially for the disadvantages. There should be an encouragement for the related organizations to arrange effective activities for research training and research dissemmination, and to develop the information system pertaining to the research results. For further research, researchers should always report statistical results for the sake of meta-analysis of research in the future; the meta-analysis procedure should be modified for more accurate results and comprehensive interpretation; other advanced statistical analyses such as LISREL and HLM should be employed for better results. | en |
dc.format.extent | 16334082 bytes | - |
dc.format.mimetype | application/pdf | - |
dc.language.iso | th | es |
dc.publisher | สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ ; จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en |
dc.rights | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en |
dc.subject | การศึกษา--วิจัย | en |
dc.subject | การวิเคราะห์เนื้อหา | en |
dc.subject | การวิเคราะห์อภิมาน | en |
dc.title | การสังเคราะห์งานวิจัยทางการศึกษาด้วยการวิเคราะห์อภิมาน และการวิเคราะห์เนื้อหา : รายงานการวิจัย | en |
dc.title.alternative | A synthesis of research in education using meta-analysis and content analysis | en |
dc.type | Technical Report | es |
dc.email.author | Nonglak.W@chula.ac.th | - |
dc.email.author | wsuwimon@chula.ac.th | - |
Appears in Collections: | Edu - Research Reports |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Synthesis(Nonglak).pdf | 15.95 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.