Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/71034
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorกาญจนา แก้วเทพ-
dc.contributor.authorหนึ่งหทัย ขอผลกลาง-
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย-
dc.date.accessioned2020-11-26T07:08:54Z-
dc.date.available2020-11-26T07:08:54Z-
dc.date.issued2541-
dc.identifier.isbn9746398776-
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/71034-
dc.description.abstractการวิจัยครั้งนี้ มีจุดมุ่งหมายเพื่อศึกษาถึงพัฒนาการและสถานภาพปัจจุบันของการศึกษาด้านนิเทศศาสตร์ระดับปริญญาตรีในประเทศไทย ตั้งแต่เริ่มก่อตั้ง (พ.ศ.2482) จนถึง พ.ศ.2540 รวมทั้งศึกษา ปัจจัยทางสังคมที่มีผลต่อพัฒนาการของการศึกษาในสาขานี้ ตลอดจนทิศทางและแนวโน้มของการศึกษาด้านนิเทศศาสตร์ในประเทศไทย การวิจัยนี้ใช้วิธีการวิจัยเชิงคุณภาพ โดยเน้นการวิจัยเอกสารประกอบการสัมภาษณ์ ผลการวิจัย พบว่า นับแต่การกำเนิดของสาขาวิชานิเทศศาสตร์ใน พ.ศ.2482 การศึกษาด้านนี้ อาจจำแนกปัจจัยที่มีอิทธิพลได้เป็น 5 ยุค คือ ยุคการก่อตั้ง (พ.ศ.2482-2490) ที่มิอิทธิพลและแนวคิดของตะวันตกมีบทบาท ยุคที่ 2 เป็นการก่อตัวขึ้นใหม่หลังหยุดดำเนินการ (พ.ศ.2491 - 2513) โดยมีปัจจัย ด้านอุตสาหกรรมสื่อสารมวลชนแสดงบทบาทสำคัญ ยุคที่ 3 เป็นการขยายสถานภาพและขยายสาขาวิชา ใหม่ๆ (พ.ศ.2514 - 2527) ปัจจัยที่มีบทบาทเด่น คือ นโยบายการศึกษาแห่งชาติ ยุคที่ 4 (พ.ศ.2528- 2538) เป็นการขยายตัวของมหาวิทยาลัยเอกชนและสถาบันราชภัฏ ปัจจัยที่มบทบาทคือ แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ และยุคที่ 5 (พ.ศ.2539-2540) จากสื่อสู่เทคโนโลยี พบว่า การขยายตัวของเทคโนโลยีสารสนเทศเป็นปัจจัยผลักดันที่สำคัญ ลักษณะพัฒนาการของการศึกษาด้านนิเทศศาสตร์ดำเนินไปใน 2 ลักษณะ คือ ความคงที่ และการเปลี่ยนแปลง ลักษณะคงที่ซึ่งยังคงเหมือนเดิมนับแต่แรกก่อตั้ง คือ รายวิชาส่วนใหญ่ที่เปิดสอนโครงสร้าง หลักสูตร อันได้แก่ การจัดหมวดวิชาต่าง ๆ ในหลักสูตร ส่วนความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น คือ การลดรายวิชาที่ไม่สอดคล้องกับสถานการณ์ปัจจุบัน และการเพิ่ม คือ การเปิดสาขาใหม่ การขยายตัวในสถาบันอุดมศึกษา เมื่อพิจารณาจากประวัติศาสตร์ของพัฒนาการที่ผ่านมา ทิศทางและแนวโน้มการศึกษาด้านนิเทศศาสตร์ในประเทศไทย มหาวิทยาลัยเติมที่เคยเปิดสอนด้านนิเทศศาสตร์อยู่จะยังคงสอนในแนวทางเดิมที่เน้นสื่อเป็นสำคัญ จะไม่มีความเปลี่ยนแปลงในลักษณะของการยกเครื่องหลักสูตร โดยอาจมีการปรับเนื้อหาวิชา หรือเพิ่มลดรายวิชาเล็กน้อยเพื่อความเหมาะสมกับความต้องการของสังคม หากจะมีความเปลี่ยนแปลงในทิศทางใหม่จะเกิดขึ้นในมหาวิทยาลัยตั้งใหม่ เช่น มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารีซึ่งสอนนิเทศศาสตร์ที่เน้นความสำคัญของวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีสารสนเทศ-
dc.description.abstractalternativeThe aim of the research is to study the development and the present status of the education and training in the field of mass communication in Thailand in the undergraduate level since its first establishment (1939) to 1997. The studies include social factors which have influenced the development, the trend and direction of this field of education. The research method employed was qualitative emphasizing document analysis and interviewing. The research has found that the mass communication education and training, since its first establishment in the undergraduate level in 1939, have undergone five periods of changes according to different influencing factors. The first-period was the establishment period (1939-1947). The influencing factors were western-influence and western-thoughts. The second-period was the reformation period after a short pause (1948-1970).The important influencing factor was the mass-communication industry. The third-period (1971 -1 984) was the period of the expansion of its status and its branches of knowledge. The dominant influencing factor was the national education policy. The fourth-period (1985- 1995) was the period of the expansion of private universities and Raj-Pat Institute. The important influencing factor was the national economic and social development plan. The fifth - period (1996-1997) was the period of change from media to technology. The driving influencing was the expansion of information technology. The characteristics of development in the mass communication education and training since its first establishment have been in two ways : constancy and change. The constancy part have occurred in the course structure and the groupings of subjects offered in the course. The change part have occurred in the reduction of subjects unsuited to the current social situations, the openings of new-courses more suited, and the increasing numbers of mass communication education departments in various universities. Having taken considerations of the history of the development, the direction and trend of the mass communication education and training in Thailand are still be in the same old-way emphasizing the importance of media. The drastic changes like the reformation of the courses will not occur. The small changes have occurred in the adjustment of subject content or the reduction or addition of some subjects to suit the society- needs, the change into the new direction may occur in the newly-established universities like Suranaree University of Technology now giving courses in mass communication education emphasizing the importance of science and information technology.-
dc.description.sponsorshipวิทยานิพนธ์ (นศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2541en_US
dc.language.isothen_US
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.subjectนิเทศศาสตร์ -- การศึกษาและการสอนen_US
dc.subjectการฝึกอบรมen_US
dc.subjectTrainingen_US
dc.titleพัฒนาการของการศึกษาและฝึกอบรมด้านนิเทศศาสตร์ในประเทศไทยen_US
dc.title.alternativeDevelopment of education and training in the field of communication in Thailanden_US
dc.typeThesisen_US
dc.degree.nameนิเทศศาสตรมหาบัณฑิตen_US
dc.degree.levelปริญญาโทen_US
dc.degree.disciplineการสื่อสารมวลชนen_US
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.email.advisorKanjana.Ka@Chula.ac.th-
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Neunghathal_kh_front_p.pdfหน้าปก และบทคัดย่อ958.09 kBAdobe PDFView/Open
Neunghathal_kh_ch1_p.pdfบทที่ 11.31 MBAdobe PDFView/Open
Neunghathal_kh_ch2_p.pdfบทที่ 21.53 MBAdobe PDFView/Open
Neunghathal_kh_ch3_p.pdfบทที่ 3937.98 kBAdobe PDFView/Open
Neunghathal_kh_ch4_p.pdfบทที่ 42.2 MBAdobe PDFView/Open
Neunghathal_kh_ch5_p.pdfบทที่ 53.46 MBAdobe PDFView/Open
Neunghathal_kh_ch6_p.pdfบทที่ 64.18 MBAdobe PDFView/Open
Neunghathal_kh_ch7_p.pdfบทที่ 72.24 MBAdobe PDFView/Open
Neunghathal_kh_back_p.pdfบรรณานุกรม และภาคผนวก1.41 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.