Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/71052
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorองอาจ วิพุธศิริ-
dc.contributor.authorวินิช โสภาพล-
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย-
dc.date.accessioned2020-11-26T08:42:58Z-
dc.date.available2020-11-26T08:42:58Z-
dc.date.issued2539-
dc.identifier.isbn9746363751-
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/71052-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2539en_US
dc.description.abstractองค์การอนามัยโลก ได้ประมาณการใช้โลหิตของแต่ละประเทศไว้ประมาณร้อยละ 2 ของประชากรต่อปี จากสถิติในปี 2537 ประเทศไทยมีความต้องการโลหิตบริจาค ประมาณ 1.2 ล้านหน่วย มีการใช้โลหิตทั่วประเทศ 1.01 ล้านหน่วย มีการจำหน่ายทิ้งโลหิตประมาณ ร้อยละ 10.2 ของการใช้โลหิตทั่วประเทศ การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์แบบแผนการจัดหาโลหิต การตรวจคัดกรอง การแปรรูป การเก็บรักษา การจ่ายและการจำหน่ายทิ้งโลหิตของศูนย์บริการโลหิตแห่งชาติ โดยได้ทำการศึกษาโลหิตทุกหน่วยที่ได้จากการจัดหาของศูนย์ฯ ในช่วงระยะเวลาตั้งแต่วันที่ 6 ตุลาคม พ.ศ.2359 ถึงวันที่ 28 ธันวาคม พ.ศ.2539 รวมระยะเวลา 12 สัปดาห์ จำนวนทิ้งสิ้น 83,101 หน่วย โดยใช้แบบบันทึกข้อมูล การสัมภาษณ์ และการสังเกต ในฐานะอาสาสมัครผู้เข้าร่วมงานภายในศูนย์บริการโลหิตแห่งชาติ จากการศึกษาพบว่า การจัดหาโลหิตบริจาคส่วนใหญ่ได้จากการรับบริจาคโลหิตนอกสถานที่ ร้อยละ 63.16 ผู้บริจาคโลหิตส่วนใหญ่ อายุตํ่ากว่า 40 ปี (ร้อยละ 83.33) ประมาณครึ่งหนึ่ง (ร้อยละ 50.37) เป็นเพศชายซึ่งบริจาคโลหิตซ้ำ ส่วนใหญ่ประกอบอาชีพเป็นพนักงานบริษัท (ร้อยละ 36.94) ประชาชนทั่ว (ร้อยละ 25.05) นักเรียน นักศึกษา (ร้อยละ 19.06) การตรวจคัดกรองพบว่าอัตราการติดเชื้อในโลหิตบริจาค ของผู้บริจาคโลหิตรายใหม่สูงกว่าผู้บริจาคโลหิตซ้ำ ถึง 9.75 เท่า การติดเชื้อมากที่สุด คือ ไวรัสตับอักเสบ บี ร้อยละ 1.46 ไวรัสตับอักเสบ ซี ร้อยละ 0.48 โลหิตได้ถูกนำไปแปรรูป ร้อยละ 58.39 โดยผลิตภัณฑ์ที่ได้ส่วนใหญ่ คือ เม็ดโลหิตแดงเข้มข้น ร้อยละ 55.46 พลาสมาสดแช่แข็งร้อยละ 34.32 โลหิตและผลิตภัณฑ์ที่ได้ เก็บรักษา ร้อยละ 1.63 โลหิตครบและผลิตภัณฑ์ ได้จ่ายให้โรงพยาบาลรัฐบาล ในกรุงเทพมหานครมากที่สุด ร้อยละ 32.32 โรงพยาบาลเอกชนในกรุงเทพมหานคร ร้อยละ 28.98 โรงพยาบาลในส่วนภูมิภาค ร้อยละ 29.69 และอยู่ระหว่างการผลิตภายในศูนย์ฯ ร้อยละ 2.74 อัตราการจำหน่ายทิ้งโลหิต ร้อยละ 4.64 เนื่องจากสาเหตุการติดเชื้อ (ร้อยละ 2.30) หมดอายุ (ร้อยละ 1.50) และสาเหตุอื่น ๆ (ร้อยละ 0.84)ผลการวิจัยนับว่าเป็นประโยชน์อย่างยิ่งสำหรับศูนย์บริการโลหิตแห่งชาติ เพื่อให้ได้กระบวนการผลิตที่มีประสิทธิภาพ คุณภาพ ปลอดภัยและมีต้นทุนที่เหมาะสม โดยเฉพาะการจัดหาผู้บริจาคโลหิต การปรับปรุงพัฒนา กระบวนวิธีการปฏิบัติงานในกระบวนการผลิต การเก็บรักษาและการเบิก-จ่ายโลหิต อย่างต่อเนื่องและลดการสูญเสียโลหิต-
dc.description.abstractalternativeThe World Health Organization (WHO) has estimated in an adequacy of the blood supply in the countries about 2% of the population per year. เท 1994, it was estimated that about 1.2 million units of blood donation were in needed. However, nation wide blood use was about 1.0 million with 10.2% of blood wastage. The objective of this research was to study patterns of donors recruitment, screening, blood products processing, storage, blood supply and bood wastage in The National Blood Centre. Total of 83,101 blood units were collected during October 6, 1996 to December 28, 1996 (12 weeks) and studied through record, key informant interviewed and observed as a volunteer in the NBC. The result of this study showed that about 63.16% of blood units were collected via mobile service and the rest in the NBC. The majority of donors age below 40 years (83.33%), a half of them were male repeated donors (50.3เ%), occupation of donors were employee (36.94%), general donors (25.05%) and students (19.06%). From blood Screening, the ratio of infectious marker of new and repeated donors was 9.75:1, the rate of infectious marker with j Hepatitis B was 1.46% and Hepatitis c was 0.48%. Blood derivatives were produced from using 58.39% of total blood collection and major blood products were Packed Red Cells 55.46%, Fresh Frozen Plasma 34.32%. Storage of blood and blood components were 1.63%. Whole Blood donated and blood components supplied and distributed to the majority of the hospitals in Bangkok Metropolis : for public hospitals 32.32% and for private hospitals 28.98% ; and also supplied for regional hospitals 29.69% and some of blood units were in processing at various departments of the NBC 2.74%. For blood wastage, 4.64% were found and caused by infectious (2.30%), out date (1.50%) and others (0.84%). The research result should be useful for the NBC to ensure efficiency, quality, safety and cost-effectiveness of the process of blood productivity particularly in donors recruitment, blood processing, inventory management practices and reducing blood wastage.-
dc.language.isothen_US
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.subjectการบริจาคโลหิต-
dc.subjectDirected blood donations-
dc.titleการศึกษาแบบแผนการใช้โลหิต ของศูนย์บริการโลหิตแห่งชาติ สภากาชาดไทยen_US
dc.title.alternativePatterns of blood use of the national blood centre, Thai Red Cross Societyen_US
dc.typeThesisen_US
dc.degree.nameวิทยาศาสตรมหาบัณฑิตen_US
dc.degree.levelปริญญาโทen_US
dc.degree.disciplineเวชศาสตร์ชุมชน-
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.email.advisorOng-arj.V@Chula.ac.th-
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Vinit_so_front_p.pdf961.47 kBAdobe PDFView/Open
Vinit_so_ch1_p.pdf808.25 kBAdobe PDFView/Open
Vinit_so_ch2_p.pdf1.32 MBAdobe PDFView/Open
Vinit_so_ch3_p.pdf766.31 kBAdobe PDFView/Open
Vinit_so_ch4_p.pdf2.51 MBAdobe PDFView/Open
Vinit_so_ch5_p.pdf1.23 MBAdobe PDFView/Open
Vinit_so_back_p.pdf1.72 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.