Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/71064
Title: | การเข้าพักรักษาในโรงพยาบาลพระจอมเกล้าของผู้ป่วย ที่มีสาเหตุเนื่องมาจากยา |
Other Titles: | Drug-related hospital admission at Prachomklao Hospital |
Authors: | พิจิตรา รัตนไพบูลย์ |
Advisors: | อัจฉรา อุทิศวรรณกุล |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย |
Subjects: | ผู้ป่วย |
Issue Date: | 2539 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | การวิจัยนี้เป็นการศึกษาอุบัติการณ์ของการเข้าพักรักษาในโรงพยาบาลพระจอมเกล้าที่น่าจะมีสาเหตุเนื่องมาจากยา ระหว่างเดือนกรกฎาคม 2539 ถึงเดือน มกราคม 2540 เป็นการเก็บข้อมูลโดยวิธีสัมภาษณ์ผู้ป่วยที่เคยมีการใช้ยาอย่างต่อเนื่องมาก่อนหรือมีการใช้ยามาก่อนหน้าการเข้ารักษาในโรงพยาบาล 14 วัน จำนวน 481 ราย และพบผู้ป่วยที่เข้าพักรักษาในโรงพยาบาลโดยน่าจะมีสาเหตุเนื่องมาจากยา 197 ราย (ร้อยละ 40.96) หรืออุบัติการณ์ของการเข้าพักรักษาในโรงพยาบาลที่มีสาเหตุเนื่องมาจากยา พบร้อยละ 6.96 จากผู้ป่วยทั้งหมด 2,829 ราย เมื่อจัดแบ่งสาเหตุของการเข้าพักรักษาในโรงพยาบาลเนื่องมาจากยา เป็น 2 ประเภท คือ 1. อาการไม่พึงประสงค์จากยา พบ 31 ราย (ร้อยละ 6.44) และ 2. ความล้มเหลวของการรักษาที่สัมพันธ์กับขนาดยาพบ 66 ราย (ร้อยละ 34.51) และเมื่อพิจารณาจากเกณฑ์การประเมิน “ความมีนัยสำคัญของอาการ” พบว่ากลุ่มผู้ป่วยที่แสดงอาการอันเนื่องจากยา ซึ่งเป็นเหตุผลสำคัญของการเข้าพักรักษาใน โรงพยาบาลครั้งนี้คือ 146ราย (ร้อยละ 30.35) การวิเคราะห์หาปัจจัยที่ส่งผลให้ผู้ป่วยเข้าพักรักษาในโรงพยาบาล พบว่าจำนวนแห่งของสถานพยาบาลที่ผู้ป่วยเข้ารับการรักษา มีความสัมพันธ์กับการเข้าพักรักษาในโรงพยาบาลที่มีสาเหตุเนื่องมาจากยาอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p< 0.05) โดยใช้ Multiple Regression ผลการศึกษาพบว่ากลุ่มอาการที่ผู้ป่วยเข้าพักรักษาในโรงพยาบาลที่มีสาเหตุเนื่องมาจากยา ที่พบมากคือ ระบบการหายใจ, ระบบหัวใจ, ความดันโลหิตสูง และเบาหวาน ตามลำดับ ลักษณะของการไม่ใช้ยาตามสั่งที่พบมาก คือ การขาดยา หรือหยุดยาโดยแพทย์ไม่ได้สั่ง (ร้อยละ 76.77), การใช้ยาจำนวนครั้งน้อยกว่าที่แพทย์สั่ง (ร้อยละ 11.68) และ ผู้ป่วยที่ใช้ยาอื่นนอกเหนือจากแพทย์สั่ง (ร้อยละ 9.35) โดยเหตุผลของการไม่ใช้ยาตามสั่งที่พบมากคือ ผู้ป่วยเข้าใจว่าไม่จำเป็นต้องใช้ยานี้ระยะนาน (ร้อยละ 34.80), ผู้ป่วยได้รับคำแนะนำเรื่องยาและการรักษาไม่เพียงพอ (ร้อยละ 19.38) แนวทางในการแก้ไขและป้องกันปัญหาของการเข้าพักรักษาในโรงพยาบาลของผู้ป่วย ที่มีสาเหตุเนื่องมาจากยาที่สามารถปฏิบัติได้โดยง่าย วิธีหนึ่งก็คือ วิธีการให้ความรู้ คำแนะนำในเรื่องแนวทางการรักษาและการใช้ยาแก่ผู้ป่วยจากบุคลากรการแพทย์ที่เกี่ยวข้อง เช่น แพทย์ เภสัชกร เป็นต้น |
Other Abstract: | Incidence of drug-related hospital admission (DRH) was studied in patients at Prachomklao Hospital between July 1996 and January 1997 by interviewing the patients received long-term drug therapy or received at least one drug during 14 days period before this admission. Of the 481 patients, a drug event (Adverse drug reaction (ADR) or Dose-related therapeutic failure (DTF)) was found in 197 cases (40.96%) or incidence of DRH was 6.96% of all 2,829 patients. The drug events were classified as ADR, (31 cases, 6.44%) and DTF (166 cases, 34.51%). Following evaluation of the suspected symptoms “significance for the hospital admission”, 146 cases (30.35%) were a “dominant” cause of admission. Analysis of the factors influencing the DRH, numbers of hospitals or clinics that the patients received medical services was related to DRH (Multiple Regression, p<0.05). The common symptoms of patients’ admission were the respiratory tract system, the cardiovascular system, hypertension and Diabetes Mellitus, respectively. The types of medication non-compliance were missing doses or discontinuance of therapy (76.77%), less frequently drug use (11.68%) and usage of other drugs (9.35%). The common reasons for medication non-compliance were feeling the medicine was no longer needed (34.80%), inadequate instruction (19.38%). One of strategies for resolution and preventing recurrence of DRH was patient education especially therapeutic regimen and drug regimen by physician and pharmacist. |
Description: | วิทยานิพนธ์ (ภ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2539 |
Degree Name: | เภสัชศาสตรมหาบัณฑิต |
Degree Level: | ปริญญาโท |
Degree Discipline: | เภสัชกรรม |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/71064 |
ISBN: | 9746356909 |
Type: | Thesis |
Appears in Collections: | Grad - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Pigitra_ra_front_p.pdf | 1.03 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Pigitra_ra_ch1_p.pdf | 777.06 kB | Adobe PDF | View/Open | |
Pigitra_ra_ch2_p.pdf | 921.24 kB | Adobe PDF | View/Open | |
Pigitra_ra_ch3_p.pdf | 901.73 kB | Adobe PDF | View/Open | |
Pigitra_ra_ch4_p.pdf | 2.92 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Pigitra_ra_ch5_p.pdf | 676.63 kB | Adobe PDF | View/Open | |
Pigitra_ra_back_p.pdf | 1.15 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.