Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/7126
Full metadata record
DC Field | Value | Language |
---|---|---|
dc.contributor.advisor | ศิริมา เพ็ชรดาชัย | - |
dc.contributor.author | มงคล แตปรเมศามัย | - |
dc.contributor.other | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะทันตแพทยศาสตร์ | - |
dc.date.accessioned | 2008-05-30T04:19:27Z | - |
dc.date.available | 2008-05-30T04:19:27Z | - |
dc.date.issued | 2548 | - |
dc.identifier.isbn | 9741419546 | - |
dc.identifier.uri | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/7126 | - |
dc.description | วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2548 | en |
dc.description.abstract | การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบและหาช่วงความแตกตางของค่าระยะทางและมุม จากภาพรังสีกะโหลกศีรษะด้านข้างของโครงสร้างกระดูกและฟัน ระหว่างก่อนและหลังการจัดฟัน ในผู้ป่วยคนไทยที่มีโครงสร้างใบหน้าคลาสทรี ที่ได้รับการรักษาทางทันตกรรมจัดฟันโดยไม่มีการผ่าตัด กลุ่มตัวอย่างได้จากการคัดเลือกผู้ป่วยแบบเฉพาะเจาะจงที่มีโครงสร้างใบหน้าคลาสทรี โดยจุด B อยู่หน้า จุด A มากกว่า 3 มม. จำนวน 34 คน แบ่งเป็น 2 กลุ่ม คือ กลุ่มที่ไม่มีการถอนฟัน 16 คน มีช่วงอายุที่เริ่ม ทำการรักษา คือ 11-30 ปี ช่วงอายุที่ทำการรักษาเสร็จคือ 16-32 ปี อายุเฉลี่ยที่เริ่มทำการรักษา คือ 18.07 + - 5.37 ปี และอายุเฉลี่ยที่ทำการรักษาเสร็จคือ 21.32 + - 4.74 ปี ส่วนกลุ่มที่มีการถอนฟัน 18 คน มีช่วงอายุที่ เริ่มทำการรักษาคือ คือ 12-32 ปี ช่วงอายุที่ทำการรักษาเสร็จคือ 16-34.3 ปี อายุเฉลี่ยที่เริ่มทำการรักษาคือ 22.97+-6.18 ปี และอายุเฉลี่ยที่ทำการรักษาเสร็จคือ 26.22+5.17 ปี และภายหลังการจัดฟันมีระยะเหลื่อม แนวราบและแนวดิ่งไม่น้อยกว่า 1 มม. โดยทำการวัดค่าตัวแปรต่างๆของโครงสร้างกระดูกและฟัน จากภาพรังสีกะโหลกศีรษะด้านข้างก่อนและหลังการจัดฟัน หาค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานของ ค่าตัวแปรต่างๆ ก่อนและหลังการจัดฟัน แล้วเปรียบเทียบค่าเฉลี่ยดังกล่าวในแต่ละกลุ่ม และหาช่วง ความแตกต่างของค่าตัวแปรต่างๆเมื่อทำการจัดฟันเสร็จเพื่อดูการเปลี่ยนแปลงของส่วนต่างๆของ โครงสร้างกระดูกและฟันภายหลังการจัดฟัน ผลการวิจัยพบว่า มีความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญ (p<0.05) ระหว่างค่าเฉลี่ยของค่าระยะทางและมุม ก่อนและหลังการจัดฟันในกลุ่มตัวอย่างทั้ง 2 สองกลุ่ม ได้แก่ ในกลุ่มที่ไม่ถอนฟัน พบว่า มีค่าตัวแปรที่มีความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญ ระหว่างก่อนและหลังการจัดฟัน โดยมีค่าที่เพิ่มขึ้นได้แก่ S-N, S-Ar, Wits appraisal, U1-APog, U6-PP, L6-MP, PP-Me, มุม U1/APog และ มุม ANB และค่าที่ลดลงได้แก่ L1-APog ในกลุ่มที่มีการถอนฟัน พบว่า มีค่าตัวแปรที่มีความแตกต่างอย่าง มีนัยสำคัญ ระหว่างก่อนและหลังการจัดฟัน โดยมีค่าเพิ่มขึ้นได้แก่ s-Ar, Wits appraisal และ N-PP และค่า ที่ลดลงได้แก่ L1-APog และมุม O1/Pog ส่วนของความแตกต่างของแต่ละตัวแปรในกลุ่มตัวอย่างมีทั้งค่า บวกและลบ ค่าเฉลี่ยที่ได้จะถูกหักลบกันบางส่วน ทำให้ค่าที่ได้ไม่เหมาะสมที่จะใช้เป็นตัวแทนของช่วง ความแตกต่าง | en |
dc.description.abstractalternative | The purpose of this study was to investigate the linear and angular measurements in lateral cephalograms of compromised orthodontic treatment in skeletal Class III patients, to search for the significant difference of the skeletal and dental variables before and after orthodontic treatment, and search for the pattern of change of each variables. The samples in this study were selected by purposive method. Pre- and post-treatment lateral cephalometric radiographs of 34 skeletal Class III (point B was anterior to point A greater than 3 millimeters) patients were divided into two groups (non-extraction and extraction orthodontic treatment). The non-extraction group comprised 16 patients whose age range of pre-treatment was 11 to 30 years, age range of post-treatment was 16 to 32 years, mean age of pre-treatment was 18.07+- 5.37 years and mean age of post-treatment was 21.32+4.74 years and the extraction group comprised 18 patients whose age range of pre-treatment was 12 to 32 years, age range of post-treatment was 16 to 34.3 years, mean age of pre-treatment was 22.97+6.18 years and mean age of post-treatment was 26.22+5.17 years. The overjet and overbite of post-treatment were not less than 1 mm. Thereafter linear and angular measurements were executed. Paired-sample t-test (p<0.05) was used to compare the mean difference between pre and post-treatment in both groups. Furthermore, the patterns of change of each variable in both groups were observed. The results indicate that there is statistical significance (P<0.05) for the difference of the linear and angular measurements between pre and post-treatment in both groups. In the non-extracting group, variables that increase are the distances of S-N, S-Ar, Wits appraisal, U1-APog, U6-PP, L6-MP, PP-Me and the angle of U1.APog and ANB; the variable that decreases is the distance of L1-APog. In extraction group, variables that increase are the distances of S-Ar, Wits appraisal and N-PP; variables that decrease are the distances of L1-APog and the angle of L1/APog. However, the range of change of each variable in each sample has both positive and negative values which are balanced itselfs. Further, the mean of differences cannot be used to represent the correct value. | en |
dc.format.extent | 2776223 bytes | - |
dc.format.mimetype | application/pdf | - |
dc.language.iso | th | es |
dc.publisher | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en |
dc.relation.uri | http://doi.org/10.14457/CU.the.2005.983 | - |
dc.rights | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en |
dc.subject | ทันตกรรมจัดฟัน | en |
dc.subject | การวัดกระโหลกศีรษะ | en |
dc.title | ค่าเซฟฟาโลเมตริกในผู้ป่วยไทยโครงสร้างใบหน้าคลาสทรีที่รับการจัดฟันโดยไม่มีการผ่าตัด | en |
dc.title.alternative | Cephalometric parameters of compromised orthodontic treatment in skeletal class III Thai patients | en |
dc.type | Thesis | es |
dc.degree.name | วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต | es |
dc.degree.level | ปริญญาโท | es |
dc.degree.discipline | ทันตกรรมจัดฟัน | es |
dc.degree.grantor | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en |
dc.email.advisor | Sirima.C@Chula.ac.th | - |
dc.identifier.DOI | 10.14457/CU.the.2005.983 | - |
Appears in Collections: | Dent - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
mongkol.pdf | 2.71 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.