Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/7165
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.authorวลัย พานิช-
dc.contributor.authorอรรถพล อนันตวรสกุล-
dc.contributor.authorรัชนีกร หงส์พนัส-
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะครุศาสตร์-
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะครุศาสตร์-
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะครุศาสตร์-
dc.date.accessioned2008-06-02T06:26:56Z-
dc.date.available2008-06-02T06:26:56Z-
dc.date.issued2547-
dc.identifier.isbn9741329539-
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/7165-
dc.description.abstractงานวิจัย เรื่อง การประเมินและติดตามผลหลักสูตรครุศาสตร์บัณฑิต (หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. 2538) สาขาวิชามัธยมศึกษา วิชาเอกสังคมศึกษา มีวัตถุประสงค์ในการวิจัยเพ่อศึกษาความคิดเห็นของบัณฑิตครุศาสตร์ สาขามัธยมศึกษาวิชาเอกสังคมศึกษา เกี่ยวกับความเหมาะสมของหลักสูตรและปัญหาของหลักสูตรครุศาสตร์บัณฑิต (ปรับปรุง พ.ศ. 2538) ในการนำมาใช้ในการศึกษาต่อและการประกอบอาชีพ ประชากรคือ บัณฑิตครุศาสตร์สาขาวิชามัธยมศึกษา วิชาเอกสังคมศึกษาที่สำเร็จการศึกษาในปีการศึกษา 2541 2542 และ 2543 จำนวน 20 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยมี 1 ชุด คือ แบบสอบถามที่เกี่ยวกับความเหมาะสมของหลักสูตร ปัญหาการเรียนการสอน และประโยชน์ในการนำเนื้อหาความรู้ในรายวิชาต่างๆ จากหลักสูตรไปใช้ในการศึกษาต่อและการประกอบอาชีพ วิเคราะห์ข้อมูลด้วยการหาความถี่ ร้อยละและนำเสนอด้วยตารางประกอบความเรียง ผลการวิจัย 1. บัณฑิตครุศาสตร์ สาขาวิชามัธยมศึกษา วิชาเอกสังคมศึกษามากกว่าร้อยละ 50 เห็นว่า โครงสร้างและการจัดรายวิชาในหลักสูตรมีความเหมาะสมมากที่สุดในเรื่อง การจัดรายวิชาที่เน้นการบูรณาการระหว่างการศึกษากับสังคม การจัดรายวิชาเอกครอบคลุมการเตรียมเนื้อหาเพื่อฝึกประสบการณ์วิชาชีพในโรงเรียน การจัดวิชาสัมมนาแยกตามแต่ละสาขาวิชา และการจัดหน่วยกิตในวิชาเอกสังคมศึกษาแบบเอกเดี่ยว ในด้านการจัดการเรียนการสอนบัณฑิตครุศาสตร์มากกว่าร้อยละ 60 เห็นว่า มีความเหมาะสมที่สุดในเรื่องการสร้างบรรยากาศความเป็นกัลยาณมิตรระหว่างครูกับศิษย์ การแสวงหาความรู้ด้วยตนเองและการส่งเสริมความคิดวิเคราะห์วิจารณ์ ในด้านการพัฒนาคุณลักษณะของผู้เรียน บัณฑิตครุศาสตร์มากกว่าร้อยละ 55 เห็นว่าการพัฒนาคุณลักษณะการมีคุณธรรมและจริยธรรมมีความเหมาะสมมากที่สุด สำหรับปัญหาของหลักสูตรนั้น บัณฑิตครุศาสตร์มากกว่าร้อยละ 50 เห็นว่า เนื้อหาเป็นปัญหาน้อยในเรื่องความซ้ำซ้อนของเนื้อหาในหมวดวิชาเอก ความเหมาะสมของเนื้อหากับจำนวนหน่วยกิตและความสอดคล้องกับสภาพสังคม บัณฑิตครุศาสตร์มากกว่าร้อยละ 45 เห็นว่า ผู้สอนและกิจกรรมการเรียนการสอนเป็นปัญหาน้อยที่สุด ในเรื่องของการเปิดโอกาสให้ผู้เรียนค้นคว้าด้วยตนเอง ความเชี่ยวชาญในวิชาที่สอน และการขาดกิจกรรมให้ผู้เรียนร่วมอภิปราย บัณฑิตครุศาสตร์มากกว่าร้อยละ 40 เห็นว่า สื่อการเรียนการสอนและแหล่งค้นคว้าและการวัดและประเมินผลเป็นปัญหามากในเรื่องความจำกัดของจุดบริการอินเตอร์เน็ต การขาดโอกาสร่วมในการประเมินตนเอง และบัณฑิตครุศาสตร์ร้อยละ 20 เห็นว่า หนังสือและวารสารในห้องสมุดไม่ทันสมัยและงานที่มอบหมายในแต่ละวิชามีมากเป็นปัญหามากที่สุด 2. บัณฑิตครุศาสตร์สาขาวิชามัธยมศึกษา วิชาเอกสังคมศึกษามากกว่าร้อยละ 50 เห็นว่า วิชาในหมวดวิชาครูรายวิชาบังคับ และหมวดวิชาเอกสังคมศึกษา (เอกคู่) รายวิชาบังคับที่มีประโยชน์มากที่สุด คือ วิชาประสบการณ์วิชาชีพ จิตวิทยาการศึกษา มูลสารจิตวิทยาพัฒนาการ ภูมิศาสตร์ภูมิภาคโลก 1 ประวัติศาสตร์ไทย 2 หลักภูมิศาสตร์ สำหรับหมวดวิชาเอกสังคมศึกษา (เอกเดี่ยว) รายวิชาบังคับ บัณฑิตครุศาสตร์ร้อยละ 100 เห็นว่ามีประโยชน์มากที่สุด คือ ประวัติศาสตร์อเมริกา ประวัติศาสตร์ยุโรปตั้งแต่ศตวรรษที่ 19 ถึงปัจจุบัน และหลักภูมิศาสตร์en
dc.description.abstractalternativeThe purposes of the study were to study the opinions of the graduates in the field of secondary education, majoring in social studies concerning the appropriateness and problems of the curriculum and their opinions concerning the benefits from the courses for further education and career. The informants were twenty graduates majoring in social studies at secondary educational level. The instrument was a set of questionnaire. The obtained data were analyzed by means of frequencies and percentage and then were presented in tables with the explanation. The findings were as follows: 1. More than 50% of the graduates majoring in social studies expressed that the aspect of structure and course organization was the most appropriate in the items of th emphasis on integration of education and society, courses in major area covering the subject content to be taught in schools, seminar curses being organized in each specific field. More than 60% of the graduated expressed that the aspect of instructional management was the most appropriate in the items of creating friendship atmosphere among staff and students, knowledge self-acquisition, and promoting students' critical thinking. More than 55% of the graduates expressed that the aspect of student characteristic development was the most appropriate in the items of the development of morality and ethics. Regarding to the problems, more than 50% of the graduates expressed that there were little problems in the content aspect relating to the issues of redundancy of content in the major program, numbers of credits connecting with the quantity of content and connection with society. More than 45% of the graduates expressed that there were least problems in the instructor and instructional activities aspects relating to the issues of offering the students' chance to acquire knowledge, participation in discussion and specialists of instructors. More than 40% of the graduates expressed that there were problems in the instructional media and learning resources and measurement andevaluation aspects relating to the issues of internet service and the lack of selfevaluation. More than 20% of the graduates expressed that the lack of new editions of books and journals in the library and heavy loads of assignments were the most problems. 2. More than 50% of graduates expressed that the required courses in teacher education area and social studies as a double major program which they gained the best benefits were Professional Experience, Educational Psychology, Fundamentals of Developmental Psychology, World Regional Geography 1, Thai History 2 and Principles of Geography. 100% of the graduates majoring in social studies as a single major expressed that the courses which they gained the best benefits were American History, European History since 19th century to the present and Principles of Geography.en
dc.description.sponsorshipเงินทุนเพื่อการวิจัยคณะครุศาสตร์ พ.ศ.2545en
dc.format.extent8396939 bytes-
dc.format.mimetypeapplication/pdf-
dc.language.isothes
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.subjectจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. ครุศาสตร์ -- บัณฑิตen
dc.subjectครุศาสตร์ -- หลักสูตรen
dc.subjectครุศาสตร์ -- การศึกษาและการสอนen
dc.subjectการประเมินหลักสูตรen
dc.subjectสังคมศึกษา -- หลักสูตรen
dc.subjectสังคมศึกษา -- การศึกษาและการสอนen
dc.titleการประเมินและติดตามผลหลักสูตรครุศาสตรบัณฑิต (หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. 2538) สาขามัธยมศึกษา วิชาเอกสังคมศึกษา : รายงานการวิจัยen
dc.title.alternativeAn evaluation and a follow-up study of bachelor's degree of education curriculum (revised B.E. 2538) in the field of secondary education, social studies major programen
dc.typeTechnical Reportes
dc.email.authorWalai.P@chula.ac.th-
dc.email.authorไม่มีข้อมูล-
dc.email.authorKeng.hon@liberlysurf.fe-
Appears in Collections:Edu - Research Reports

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
walai(eva).pdf8.2 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.