Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/71661
Full metadata record
DC Field | Value | Language |
---|---|---|
dc.contributor.advisor | ประวิตร นิลสุวรรณากุล | - |
dc.contributor.advisor | สรชัย พิศาลกุล | - |
dc.contributor.author | มนตรี ช่วยชู | - |
dc.contributor.other | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย | - |
dc.date.accessioned | 2020-12-21T13:16:43Z | - |
dc.date.available | 2020-12-21T13:16:43Z | - |
dc.date.issued | 2539 | - |
dc.identifier.isbn | 9746368729 | - |
dc.identifier.uri | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/71661 | - |
dc.description | วิทยานิพนธ์ (บช.ด.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2539 | - |
dc.description.abstract | วิทยานิพนธ์นี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพิจารณาเสนอรูปแบบรายงาน เนื้อหา วิธีการวัดค่า และวิธีการเปิดเผยข้อมูล การบัญชีความรับผิดชอบต่อสังคมที่เหมาะสมสำหรับประเทศไทย เพื่อใช้เป็นแนวทางสำหรับบริษัทในประเทศไทยที่ต้องการจัดทำรายงานและเปิดเผยข้อมูลการบัญชีความรับผิดชอบต่อสังคมด้วยกวามสมัครใจ วิธีการศึกษา ดำเนินการวิจัยโดยใช้วิธีการวิจัยสองวิธี คือ การวิจัยเชิงสำรวจและการวิจัยเชิงประจักษ์ โดยมีขั้นตอนการวิจัยสามขั้นตอน ได้แก่ ขั้นแรก การวิจัยเชิงสำรวจ โดยการสำรวจข้อมูลการบัญชีความรับผิดชอบต่อสังกมจากรายงานประจำปี 2538 ของบริษัทมหาชนทุกบริษัทที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย รวม 402 บริษัท ขั้นที่สอง การศึกษาวิเคราะห์และออกแบบรูปแบบรายงานการบัญชีความรับผิดชอบต่อสังคม และขั้นที่สาม การวิจัยเชิงประจักษ์ เพื่อรวบรวมความคิดเห็นและทดสอบการตอบสนองของนักบัญชี ผู้จัดทำและผู้ใช้ประโยชน์จากรายงานการบัญชี ความรับผิดชอบต่อสังคมตามรูปแบบรายงานที่เสนอ พร้อมทั้งปรับปรุงแก้ไขให้เหมาะสมตามหลักการบัญชี สอดคล้องกับต่างประเทศ และตรงกับความต้องการของผู้ที่เกี่ยวข้องทุกฝ่ายมากที่สุด และเพื่อทดสอบสมมุติฐานที่ผู้วิจัยตั้งไว้รวมเจ็ดข้อ การวิเคราะห์และทดสอบสมมุติฐาน ใช้วิธีการทางสถิติด้วยโปรแกรม SPSS PC+ เช่น หาค่า Mean, Z-test วิเคราะห์ความแปรปรวน(ANOVA) และ Chi-square test (X2) เป็นต้น | - |
dc.description.abstract | ผลการวิจัย การวิจัยขั้นแรก พบว่าในจำนวน 402 บริษัท มีการเปิดเผยข้อมูลการบัญชีความรับผิดชอบต่อสังคม รวม 339 บริษัท หรือร้อยละ 84.3 มีจำนวนรายงานที่เปิดเผยรวม 753 รายงาน เฉลี่ยบริษัทละ 2.2 รายงาน มีจำนวนบรรทัดที่เปิดเผยรวม 5,853 บรรทัด เฉลี่ยบริษัทละ 17.3 บรรทัด เป็นข้อมูลเชิงคุณภาพ 433 รายงาน หรือร้อยละ 57.5 เป็นข้อมูลเชิงปริมาณที่ไม่มีหน่วยวัดเป็นเงินดรา 225 รายงาน หริอร้อยละ 29.9 และเป็นข้อบุลเชิงปริมาณ ที่มีหน่วยวัดเป็นเงินตรา 95 รายงาน หรือร้อยละ 12.6 การวิจัยขั้นที่สอง ได้ลอกแบบรูปแบบรายงานรวม 5 รายงาน ประกอบด้วยงบแสดงมูลค่าเพิ่ม รายงานเกี่ยวกับส่วนของชุมชน รายงานเกี่ยวกับรัฐบาล รายงานเกี่ยวกับพนักงาน และรายงานเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์ และบริการ การวิจัยขั้นที่สาม พบว่า 1) ในประเทศไทย ความรู้และความเข้าใจเกี่ยวกับการบัญชีความรับผิดชอบต่อสังคม ของผู้ที่เกี่ยวข้องทุกฝ่ายโดยเฉลี่ยน้อยกว่า 5 2) ขนาดของบริษัทไม่มีความสัมพันธ์กับปริมาณการเปิดเผยข้อมูล 3) บริษัท ไม่ได้ใช้ปริมาณการเปิดเผยข้อมูลเพี่อสร้างภาพลักษณ์ 4) สาเหตุของการเปิดเผยข้อมูลน้อย เกิดจากการไม่มีรูปแบบรายงานที่เป็นมาตรฐานเพื่อใช้เป็นแนวทาง 5) ความคิดเห็นโดยเฉลี่ยของผู้ที่เกี่ยวข้องทุกฝ่ายต้องการให้มีการพัฒนาระบบ การบัญชีความรับผิดชอบต่อสังคมเป็นมาตรฐานมากกว่า 5 6) ปริมาณการเปิดเผยข้อมูลของบริษัทในแต่ละอุตสาหกรรมเท่ากันและแตกต่างกันในบางเรื่อง และ 7) อัตราส่วนการเปิดเผยข้อมูลแต่ละขนาดบริษัทเท่ากันและแตกต่างกันในบางเรื่อง และบริษัทขนาดใหญ่กว่าเปิดเผยข้อมูลในระดับที่นำไปใช้ประโยชน์ได้มากกว่าบริษัทขนาดเล็กกว่า | - |
dc.description.abstractalternative | The purpose of this study is to propose the report form, content, measurement and disclosure method of Social Responsibility Accounting suitable for Thailand. It can be used as a guide for Thai companies that want voluntarily to report and disclose social responsibility information. The research methodology in this study employs survey investigation and an empirical test. There are three steps: step 1, survey social responsibility information from annual reports for 1995 of 402 listed Thai companies; step 2, analyse and design the reports of social responsibility accounting; step 3, employ an empirical test for ideas and reactions ol accountants and proposed social responsibility accounting reports providers arid users, adjust the proposed reports to be consistent with accounting principles, international practice, and the desire of constituent groups; and test seven hypotheses. The statistical methods used for analysis and the empirical test arc arithemetic means. Z-test, analysis of variance (ANOVA), and the Chi-square lest (X2), among others. The results of the study in step 1 found that 339 out of 402 listed Thai companies (84.3%) disclosed social responsibility information with 75.3 reports (average 2.2 reports for a company), 5,85.3 lines (average 17J3 lines per company). There were 433 qualitative information reports (57.5%), 225 non-monetary information reports (29.9%), and 95 monetary information reports (12.6%). In step 2 Five reports were designed consisting of a value added statement, a community contribution report, a government report, a human resource report, and a product and service report. In step 3 it was found that 1) in Thailand, the constituent groups' knowledge and understanding about social responsibility accounting was less than 5, 2) company! size was not associated with the volume of disclosed information, 3) companies did not use the volume of disclosed information to create their image. 4) the main reason for not fully disclosing is that there is no standard guidance form, 5) the constituent groups, on average, wanted to have standard social responsibility accounting for more than 5, 6) the information disclosed by each industrial group was equal in some tileries and at variance for other themes, and 7) the ratio of information volume disclosed by each company size was equal for some themes and varied for other themes, and the larger companies disclosed a greater level of useful information than the smaller ones. | - |
dc.language.iso | th | - |
dc.publisher | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | - |
dc.rights | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | - |
dc.subject | งบการเงิน | - |
dc.subject | ความรับผิดชอบต่อสังคมขององค์การธุรกิจ -- กฎหมายและระเบียบข้อบังคับ | - |
dc.subject | Financial statements | - |
dc.subject | Social responsibility of business -- Law and legislation | - |
dc.title | การเสนอรูปแบบรายงานการบัญชีความรับผิดชอบต่อสังคมในประเทศไทย : การวิจัยเชิงประจักษ์ | - |
dc.title.alternative | Proposed reports of social responsibility accounting in Thailand : an empirical investigation | - |
dc.type | Thesis | - |
dc.degree.name | บัญชีดุษฎีบัณฑิต | - |
dc.degree.level | ปริญญาเอก | - |
dc.degree.discipline | การบัญชี | - |
dc.degree.grantor | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | - |
Appears in Collections: | Grad - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Montree_ch_front_p.pdf | หน้าปก สารบัญและบทคัดย่อ | 1.03 MB | Adobe PDF | View/Open |
Montree_ch_ch1_p.pdf | บทที่ 1 | 1.47 MB | Adobe PDF | View/Open |
Montree_ch_ch2_p.pdf | บทที่ 2 | 2.65 MB | Adobe PDF | View/Open |
Montree_ch_ch3_p.pdf | บทที่ 3 | 3.2 MB | Adobe PDF | View/Open |
Montree_ch_ch4_p.pdf | บทที่ 4 | 3.4 MB | Adobe PDF | View/Open |
Montree_ch_ch5_p.pdf | บทที่ 5 | 2.25 MB | Adobe PDF | View/Open |
Montree_ch_back_p.pdf | บรรณานุกรมและภาคผนวก | 3.16 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.