Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/71880
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorยุบล เบ็ญจรงค์กิจ-
dc.contributor.authorอุษณีย์ ศิริสุนทรไพบูลย์-
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย-
dc.date.accessioned2021-01-21T07:46:49Z-
dc.date.available2021-01-21T07:46:49Z-
dc.date.issued2538-
dc.identifier.issn9746326856-
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/71880-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (นศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2538-
dc.description.abstractการศึกษาเรื่องแนวทางการมีส่วนร่วมของประชาชน ในโครงการพัฒนาขนาดใหญ่ของรัฐ ศึกษาเฉพาะโครงการเขื่อนหรืออ่างเก็บน้ำ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาบริบทของโครงการเขื่อนขนาดใหญ่ การเปิดโอกาสให้ประชาชนมีส่วนร่วมและปัญหาการมีส่วนร่วมของประชาชนกับโครงการเยือนขนาดใหญ่ ความคิดเห็นเกี่ยวกับการมีส่วนร่วมของประชาชนกับโครงการเขื่อนขนาดใหญ่ และเพื่อหาข้อเสนอแนะ แนวทางการมีส่วนร่วมของประชาชนกับโครงการพัฒนาขนาดใหญ่ของรัฐ เฉพาะโครงการเขื่อนหรืออ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่ เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ โดยวิธีการวิจัยเอกสารและสัมภาษณ์เชิงลึก ในการสัมภาษณ์เชิงลึกเก็บข้อมูลจากกลุ่มเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินโครงการเขื่อนขนาดใหญ่ กลุ่มนักวิชาการ เจ้าหน้าที่จากองค์กรพัฒนาเอกชน และผู้นำชาวบ้านจากพื้นที่ในกรณีตัวอย่าง 3 กรณี ได้แก่ เขื่อนปากมูล เขื่อนแก่งเสือเต้น และเขื่อนป่าสัก รวมผู้ให้สัมภาษณ์ทั้งสิ้น 31 คนผลการศึกษาปรากฎว่า บริบทของโครงการในส่วนที่ต้องใช้เทคนิควิชาการซับซ้อน และการที่ขั้นตอนส่วนใหญ่เป็นขั้นตอนในความรับผิดชอบของหน่วยงานราชการ เป็นบริบทที่เป็นอุปสรรคต่อการมีส่วนร่วมของประชาชน ส่วนบริบทของโครงการในสวนที่เป็นการพิจารณาคุณค่า โครงการมีความยืดหยุ่น และยังเป็นเรื่องโต้แย้งกันระหว่างประโยชน์และโทษ เป็นส่วนที่สนับสนุนให้บระชาชนเข้ามีส่วนร่วม-
dc.description.abstractจากการศึกษาการเปิดโอกาสให้ประชาชนมีส่วนร่วมกับโครงการเขื่อนปากมูล เขื่อนแก่งเสือเต้นและเขื่อนป่าสัก พบว่าการเปิดโอกาสให้ประชาชนมีส่วนร่วมกับโครงการมีค่อนข้างน้อย ส่วนใหญ่จะเป็นผู้มีส่วนร่วมในลักษณะได้รับผลกระทบจากโครงการ ปัญหาการมีส่วนร่วมที่ได้พบมี ดังนี้ ปัญหาเรื่องข้อมูลข่าวสาร ปัญหาในการจัดประชาพิจารณ์ ปัญหาที่เกี่ยวข้องกับเจ้าหน้าที่โครงการ และหน่วยงานราชการ ปัญหาจากตัวชาวบ้านและปัญหาอื่น ๆ และจากการสัมภาษณ์เชิงลึกผู้ให้สัมภาษณ์ทั้งสี่กลุ่ม พบว่า มีผู้เสนอความคิดเห็นเกี่ยวกับเรื่องการมีส่วนร่วมแยกเป็นแนวทางตามเป้าหมายที่ต่างกัน ทั้งนี้ในงานวิจัยครั้งนี้ได้เสนอแนวทางการมีส่วนร่วมตามแนวทางที่มีเป้าหมายเพื่อให้เกิดการใช้ทรัพยากรธรรมชาติอย่างคุ้มค่าและเกิดการพัฒนา ประชาชน โดยขั้นตอนสำคัญที่เสนอให้เข้าร่วมคือขั้นตอนการวางแผน เข้าร่วมโดยเป็นผู้ร่วมกำหนดประเด็นในการศึกษาผลกระทบสิ่งแวดล้อม และแสดงความคิดเห็นต่อโครงการเมื่อการศึกษาเสร็จเรียบร้อย ผู้ทีควรเข้าร่วมคือ บุคคลจากหลายฝ่ายแต่ควรให้ความสำคัญกับประชาชนผู้ที่ได้รับความ เสียหายจากการทำโครงการ ผู้ที่เข้าร่วมควรมีความรู้ มีคุณธรรม สิ่งที่ควรแก้ไขเพื่อให้เกิดการมีส่วนร่วมคือ เรื่องกฎหมาย หน่วยงานผู้รับผิดชอบโครงการและหน่วยงานราชการและประชาชน-
dc.description.abstractalternativeThe objectives of this research are to study the contexts of the government-owned large-scaled dam or resrevoir projects, to explore the extent to which government agencies allow public to participate in as well as their obstacles, to collect opinions from several related groups and to recommend how to deal with the issue. The research was conducted using documentary analysis and indepth interview of project officials, environmentalists and opinion leaders of three cases: Pak Moon dam, Kaeng Sua Ten dam and Pa Sak dam. Key findings of the study were concluded into 3 aspects. Firstly, public have difficulties learning the complication of technical knowledge and understanding bureaucracy. They participated more in some flexible projects. Value judgement and the benefit-lost controversy of the project encouraged villagers to participate. Secondly, participation in the project was mainly a passive one. The obstruction of public participation are lacks of information, the problems in conducting public hearing, and the characteristics of government officers and people. Thirdly, indepth interview reveals that respondents hold different approaches to public participation. In conclusion, respondents proposed that participation should be offered at the planning stage (Environmental Impact Assesment- EIA) through providing final comments. Public includes people from various sectors in society, however those who will be damaged are the first priority. Participants should be well educated and ethical. Finally, for the successful implementation of public participation, the appropriate changes should be applied to the laws, government agencies and public.-
dc.language.isoth-
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย-
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย-
dc.subjectการมีส่วนร่วมทางสังคม-
dc.subjectโครงการพัฒนาขนาดใหญ่ของรัฐ-
dc.subjectการสื่อสาร-
dc.subjectเขื่อนปากมูล-
dc.subjectเขื่อนแก่งเสือเต้น-
dc.subjectเขื่อนป่าสักชลสิทธิ์-
dc.titleแนวทางการมีส่วนร่วมของประชาชนในโครงการพัฒนาขนาดใหญ่ของรัฐ : ศึกษาเฉพาะโครงการเขื่อนหรืออ่างเก็บน้ำ-
dc.title.alternativePublic participation in governmental large-scaled development project : a case study of dam or reservoir project-
dc.typeThesis-
dc.degree.nameนิเทศศาสตรมหาบัณฑิต-
dc.degree.levelปริญญาโท-
dc.degree.disciplineการประชาสัมพันธ์-
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย-
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Ausanee_si_front_p.pdfหน้าปก บทคัดย่อ และสารบัญ936.04 kBAdobe PDFView/Open
Ausanee_si_ch1_p.pdfบทที่ 1964.72 kBAdobe PDFView/Open
Ausanee_si_ch2_p.pdfบทที่ 22.02 MBAdobe PDFView/Open
Ausanee_si_ch3_p.pdfบทที่ 3809.49 kBAdobe PDFView/Open
Ausanee_si_ch4_p.pdfบทที่ 46.75 MBAdobe PDFView/Open
Ausanee_si_ch5_p.pdfบทที่ 51.84 MBAdobe PDFView/Open
Ausanee_si_back_p.pdfบรรณานุกรม และภาคผนวก2.59 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.