Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/71970
Full metadata record
DC Field | Value | Language |
---|---|---|
dc.contributor.advisor | กรรณิการ์ สัจกุล | - |
dc.contributor.author | ศุภชัย จันทร์สุวรรณ์ | - |
dc.contributor.other | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย | - |
dc.date.accessioned | 2021-01-26T20:19:18Z | - |
dc.date.available | 2021-01-26T20:19:18Z | - |
dc.date.issued | 2538 | - |
dc.identifier.isbn | 9746318373 | - |
dc.identifier.uri | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/71970 | - |
dc.description | วิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2538 | en_US |
dc.description.abstract | วิทยานิพนธ์ฉบับนี้มุ่งศึกษาแนวพระราชดำริและบทบาทของพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวในการส่งเสริมการศึกษาทางด้านนาฏศิลป์และดนตรี โดยวิเคราะห์จากกรณีโรงเรียนพรานหลวง ในพระบรมราชูปถัมภ์ผลจากการศึกษาพบว่า พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงเล็งเห็นความสำคัญของการศึกษาทาง ด้านนาฏศิลป์และดนตรี และมีพระราชดำริที่จะยกฐานะของศิลปินให้เป็นผู้มีเกียรติ มีศักดิ์ศรี จึงทรงสถาปนาโรงเรียนพรานหลวง ซึ่งพัฒนามาจากโรงเรียนทหารกระบี่หลวงให้เป็นหนึ่งในสี่ของโรงเรียนในพระบรมราชูปถัมภ์ เพื่อดำเนินการจัดการศึกษาให้เป็นแบบอย่างของโรงเรียนทั้งหลายในประเทศ โดยนำความคิดมาจากโรงเรียนพับลิกสกูลในประเทศอังกฤษ การจัดการศึกษาของโรงเรียนพรานหลวงเน้นที่การสอนดนตรีไทย ดนตรีสากล และนาฏศิลป์ด้านโขน ซึ่งเป็นศิลปะที่แสดงความเป็นอารยประเทศ โดยนักเรียนพรานหลวงต้องเรียนวิชาสามัญควบคู่กันไป รวมทั้งยังได้นำเอาบทละครพระราชนิพนธ์ มาเป็นเครื่องมือในการสอนให้จงรักภักดี ต่อชาติ ศาสนา และพระมหากษัตริย์อีกด้วย จากแนวพระราชดำริดังกล่าวส่งผล ให้โรงเรียนพรานหลวงเป็นสถาบันซึ่งผลิตศิลปินให้เข้าไปรับราชการในกรมมหรสพ มีหน้าที่เป็นผู้อนุรักษ์และสืบทอดมรดก ศิลปวัฒนธรรมไทย นับว่าเป็นสถาบันสอนนาฏศิลป์ดนตรีในระบบการศึกษาตามพระราชบัญญัติแห่งแรกในประเทศไทย เป็นสถาบันสร้างศิลปะโขนและดนตรีสากลแห่งแรกให้แก่ชาติ นักเรียนโรงเรียนพรานหลวงมีสถานภาพและบทบาทเป็นนักเรียนในพระบรมราชูปถัมภ์ เป็นมหาดเล็กผู้ใกล้ชิดเบื้องพระยุคลบาท เป็นเสือป่าพรานหลวง และเป็นศิลปินในกรม มหรสพ ผู้ได้รับการพัฒนาทั้งทางด้านสติปัญญา จริยธรรม บุคลิกภาพ มีสมรรถภาพทางกายอย่างสมบูรณ์อีกด้วย นักเรียนเก่าโรงเรียนพรานหลวงได้รับการยกย่องว่า เป็นศิลปินผู้สร้างสรรค์ผลงานนาฏศิลป์และดนตรีมากมาย จากแนวพระราชดำริ ทำให้ครูโขนหรือศิลปินโขนผู้มีฝีมือได้ร่วมกันสร้างสรรค์วิธีการแสดง สืบทอดแบบแผน คงเอกลักษณ์ของนาฏศิลป์ไทยจนถึงปัจจุบัน เมื่อสิ้นสมัยรัชกาลที่ 6 ท่านเหล่านี้คือ ครูสอนวิชานาฏศิลป์โขนและวิชาดนตรีในโรงเรียนนาฏศิลป์ กรมศิลปากร ซึ่งปัจจุบันคือวิทยาลัยนาฏศิลป์ และโดยเฉพาะอย่างยิ่งผลการวิจัย พบว่า นาฏศิลป์โขนของกรมศิลปากรปัจจุบัน คือ ศิลปะที่ได้รับการสืบทอดมาจากโรงเรียนพรานหลวง ในพระบรมราชูปถัมภ์ โดยตรง | - |
dc.description.abstractalternative | The purpose of this thesis is to study King Rama Vi's thoughts and role for enhancing the dramatic and music education through an analysis of the case of the Phranluang School under the royal patronage. The findings of this study indicate that as King Rama VI perceived the importance of dramatic and music education and desired to raise the status of the artists to be honourable and dignified people, he had established the Phranluang School which had been developed from the Thaharn Krabi Luang School (the Royal Sword Soldier School), as one of the four schools under the royal patronage. The administration of these schools was to be a model for other schools in the country. Such ideas were based on those of the English public schools. The educational administration of the Phranluang School emphasized the teaching of Khon drama, Thai music and western music which were the arts displaying the state of being civilized countries. The Phranluang students had to take general education courses at the same time. In addition, the royal dramatic plays were used as tools for teaching the students to be loyal to the nation, the religion and the king. Such royal thoughts enabled the Phranluang School to become an institute producing artists who became civil servants in the Royal Entertainment Department and whose duty was to conserve and transmit Thai arts and culture. Thus, it was the first institute which taught drama and music as formal education according to the statute in Thailand. It was the first institute which created the Khon art and western music for the nation. The Phranluang students had the status and role of the students under the royal patronage. They were the royal pages who were very close and loyal to the King. They were the Phranluang scouts and the artists of the Royal Entertainment Department. They had also shown full developments of their mind, their ethical beliefs, their personality, and their physical ability. The Phranluang alumni were recognized as being the artists who had created abundant works of drama and music. The royal thoughts enabled the Khon teachers or dextrous Khon artists to join hands in creating the performing techniques, transmitting the patterns, preserving the identity of Khon drama until the present time. After the reign of King Rama VI, these artists were the teachers of Khon and music courses in the Dramatic Arts School, the Fine Arts Department, known at present as the Dramatic Arts College. The research findings especially indicate that the present Khon drama of the Fine Arts Department is the art which has been directly transmitted from the Phranluang School under the royal patronage. | - |
dc.language.iso | th | en_US |
dc.publisher | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en_US |
dc.rights | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en_US |
dc.subject | มงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว, พระบาทสมเด็จพระ, 2423-2468 | en_US |
dc.subject | โรงเรียนพรานหลวง | en_US |
dc.subject | กรมมหรสพ | en_US |
dc.subject | วิทยาลัยนาฏศิลป | en_US |
dc.subject | วิทยาลัยนาฏศิลป | en_US |
dc.subject | ดนตรี -- การศึกษาและการสอน | en_US |
dc.subject | ตำนานเสือป่า | en_US |
dc.title | การวิเคราะห์แนวพระราชดำริและบทบาท ของพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ในการส่งเสริมการศึกษาทางด้านนาฎศิลป์และดนตรี : การศึกษาเฉพาะกรณีโรงเรียนพรานหลวง ในพระบรมราชูปถัมภ์ | en_US |
dc.title.alternative | King Rama VI's thoughts on and his role in the dramatic and music educational enhancement : a case study of the Phranluang School under the royal patronge | en_US |
dc.type | Thesis | en_US |
dc.degree.name | ครุศาสตรมหาบัณฑิต | en_US |
dc.degree.level | ปริญญาโท | en_US |
dc.degree.discipline | สารัตถศึกษา | - |
dc.degree.grantor | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en_US |
dc.email.advisor | Kanniga.S@Chula.ac.th | - |
Appears in Collections: | Grad - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Supachai_ch_front_p.pdf | 1.01 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Supachai_ch_ch1_p.pdf | 1.16 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Supachai_ch_ch2_p.pdf | 3.52 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Supachai_ch_ch3_p.pdf | 1.98 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Supachai_ch_ch4_p.pdf | 4.61 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Supachai_ch_ch5_p.pdf | 1.53 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Supachai_ch_ch6_p.pdf | 1.49 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Supachai_ch_ch7_p.pdf | 2.61 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Supachai_ch_ch8_p.pdf | 1.64 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Supachai_ch_back_p.pdf | 3.92 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.