Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/72015
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorเกษร ธิตะจารี-
dc.contributor.authorรวิช ตาแก้ว-
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย-
dc.date.accessioned2021-01-28T04:41:55Z-
dc.date.available2021-01-28T04:41:55Z-
dc.date.issued2538-
dc.identifier.isbn9746318764-
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/72015-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2538en_US
dc.description.abstractการวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาพัฒนาการหลักสูตรศิลปศึกษา ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น ตั้งแต่ พ.ศ.๒๔๓๘ ถึง ๒๕๓๕ ในด้านจุดมุ่งหมาย เนื้อหาสาระ กระบวนการเรียนการสอน และการประเมินผล โดยใช้ระเบียบวิธีการวิจัยเชิงประวัติศาสตร์ ผลการวิจัยพบว่า ๑ . จุดมุ่งหมายของหลักสูตร มีพัฒนาการดังนี้ - พ.ศ.๒๔๓๘ - ๒๔๗๔ กำหนดจุดมุ่งหมายในระดับรายวิชา เน้นด้านทักษะพิสัยและจิตพิสัย - พ.ศ.๒๔๗๕ - ๒๕๒0 กำหนดจุดมุ่งหมายในระดับหมวดวิชา และรายวิชา เน้นด้านพุทธิพิสัย จิตพิสัยและทักษะพิสัย - พ.ศ.๒๕๒๑ - ๒๕๓๕ กำหนดจุดมุ่งหมายในระดับกลุ่มวิชา และรายวิชา เน้นด้านพุทธิพิสัย จิตพิสัยและทักษะพิสัย ๒. เนื้อหาสาระของหลักสูตร มีพัฒนาการดังนี้ - พ.ศ.๒๔๓๘ - ๒๔๗๔ จัดเป็นหลักสูตรแบบแยกรายวิชา โดยจัดลำดับความยากง่าย ของ เนื้อหา ตามระดับชั้นเรียน - พ.ศ.๒๔๗๕ – ๒๕๒0 มีการจัดหลักสูตรสองรูปแบบ คือ แบบสหสัมพันธ์ โดยจัดเนื้อหา ให้มีความสัมพันธ์กัน และแบบหมวดวิชา โดยรวมเนื้อหาวิชาที่เกี่ยวข้องกันเป็นหมวดวิชา - พ.ศ. ๒๕๒๑ - ๒๕๓๕ จัดเป็นหลักสูตรแกนกลางมีวิชาบังคับและวิชาเลือกเนื้อหาแต่ละวิชามีความสมบูรณ์ในตัวเอง ๓ . กระบวนการเรียนการสอน มีพัฒนาการดังนี้ - พ.ศ.๒๔๓๘ - ๒๔๗๔ การสอนครูเป็นศูนย์กลางในการจัดการเรียนการสอน โดยยึดเนื้อหาวิชาตามหลักสูตรเป็นหลัก - พ.ศ.๒๔๗๕ - ๒๕๒0 การสอนครูเป็นศูนย์กลางในการจัดการเรียนการสอน โดยเน้นการใช้กิจกรรมทางศิลปะตามวัยของผู้เรียน - พ.ศ.๒๕๒๑ - ๒๕๓๕ การสอนใช้ครูเป็นศูนย์กลางและใช้นักเรียนเป็นศูนย์กลาง โดยนักเรียนมีอิสระในการเลือกเรียน และทำกิจกรรม ๔. การประเมินผล มีพัฒนาการดังนี้ - พ.ศ.๒๔๓๘ - ๒๔๗๔ การประเมินผลครอบคลุมด้านทักษะพิสัย และจิตพิสัย เน้นการวาดเหมือนจริง - พ.ศ.๒๔๗๕ - ๒๕๒0 การประเมินผลครอบคลุมด้านพุทธิพิสัย จิตพิสัย และทักษะพิสัย เน้นความแตกต่างระหว่างบุคคล - พ.ศ.๒๕๒๑ -๒๕๓๕การประเมินผลครอบคลุมด้านพุทธิพิสัยจิตพิสัยและทักษะพิสัย มีการกำหนดเกณฑ์การประเมินที่ชัดเจนเน้นพฤติกรรมและผลงาน-
dc.description.abstractalternativeThe purpose of this research was to study the development of Art Education Curriculum at the lower secondary education school level from B.E. 2438 to B.E. 2535 concerning objectives, contents, teaching- learning process and evaluation. The historical research was used as the methodology. The results were as follows: 1. A development of the curriculum in the aspect of objectives was as follows:- - B.E.2438 - 2474: It specified under each subject, emphasized on psychomotor and affective domains. - B.E.2475 - 2520: It specified under subject field and each subject, emphasized on cognitive, affective and psychomotor domains. - B.E.2521 - 2535: It specified under subject area and each subject, emphasized on cognitive, affective and psychomotor domains. 2. A development of the curriculum in the aspect of contents was as follows:- - B.E.2438 - 2474: It arranged as a seperate subject and the contents were in order of difficulties suitable for each educational level. - B.E.2475 - 2520: It arranged as a correlation curriculum with related contents and a broad field curriculum by combining related contents to be subject field. - B.E.2521 - 2535: It arranged as a core curriculum divided into required and optional courses, with self - comprehensive contents. 3. A development of the curriculum in the aspect of teaching - learning process was as follows:- - B.E.2438 - 2474: It emphasized on "Teacher Center" and specified on subject matter. - B.E.2475 - 2520: It emphasized on "Teacher Center" and the application of art activities suitable for learners' age. - B.E.2521 - 2535: It emphasized on "Teacher Center" and "Student Center" and the students could select subjects and activities by themseleves. 4. A development of the curriculum in the aspect of evaluation was as follows:- - B.E.2438 - 2474: It covered phsychomotor and affective domains, emphasized on realist. - B.E.2475 - 2520 : It covered cognitive, affective and psychomotor domains ,emphasized on individual differences. - B.E.2521 - 2535: It covered cognitive, affective and psychomotor domains with clear criterion on behavior and product.-
dc.language.isothen_US
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.subjectศิลปศึกษา -- การศึกษาและการสอน (มัธยมศึกษา)en_US
dc.subjectศิลปศึกษา -- หลักสูตรen_US
dc.titleพัฒนาการหลักสูตรศิลปศึกษา ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น พุทธศักราช 2438 ถึง 2535en_US
dc.title.alternativeDevelopment of the curriculum in art education at the lower secondary education school level from B.E.2438 to B.E.2535en_US
dc.typeThesisen_US
dc.degree.nameครุศาสตรมหาบัณฑิตen_US
dc.degree.levelปริญญาโทen_US
dc.degree.disciplineศิลปศึกษาen_US
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.email.advisorไม่มีข้อมูล-
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Ravich_ta_front_p.pdf964.17 kBAdobe PDFView/Open
Ravich_ta_ch1_p.pdf1.06 MBAdobe PDFView/Open
Ravich_ta_ch2_p.pdf6.42 MBAdobe PDFView/Open
Ravich_ta_ch3_p.pdf1.09 MBAdobe PDFView/Open
Ravich_ta_ch4_p.pdf2.7 MBAdobe PDFView/Open
Ravich_ta_ch5_p.pdf1.41 MBAdobe PDFView/Open
Ravich_ta_back_p.pdf1.22 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.