Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/72028
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorพงศา พรชัยวิเศษกุล-
dc.contributor.authorวรวิทย์ บุญสุข-
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย-
dc.date.accessioned2021-01-28T07:15:59Z-
dc.date.available2021-01-28T07:15:59Z-
dc.date.issued2541-
dc.identifier.isbn9746399888-
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/72028-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (ศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2541en_US
dc.description.abstractการศึกษานี้มีวัตถุประสงค์หลักเพื่อวัดความได้เปรียบโดยเปรียบเทียบของการผลิตก๊าซปิโตรเลียมเหลว โดยใช้ วิธีการของต้นทุนทรัพยากรภายในประเทศ (Domestic Resource Cost : DRC) และผลได้สุทธิต่อประเทศ (Net Social Profitability : NSP) ผลการคำนวณต้นทุนทรัพยากรภายในประเทศของการผลิตก๊าซปิโตรเลียมเหลวจากโรงแยกก๊าซธรรมชาติหน่วย ที่1 และ2 ในปี 2538 มีค่าเท่ากับ 12.40 และ 7.47 บาท/ดอลลาร์ ตามลำดับ เมื่อนำมาเปรียบเทียบกับอัตราแลกเปลี่ยนที่แท้จริงในปีเดียวกัน ซึ่งมีค่าเท่ากับ 26.70 บาท/ดอลลาร์ พบว่า ต้นทุนทรัพยากรภายในประเทศที่คำนวณได้จาก โรงแยกก๊าซธรรมชาติทั้งสองโรงมีค่าต่ำกว่าอัตราแลกเปลี่ยนที่แท้จริง อันแสดงใน้เห็นถึงความได้เปรียบโดยเปรียบเทียบของการผลิตก๊าซปิโตรเลียมเหลวจากโรงแยกก๊าซทั้งสอง ส่วนการคำนวณผลได้สุทธิของการผลิตก๊าซปิโตรเลียมเหลวที่มีต่อประเทศ พบว่า การผลิตก๊าซปิโตรเลียมเหลว 1 ตัน จากโรงแยกก๊าซธรรมชาติหน่วยที่ 1 และ 2 ในปี 2538 ก่อให้เกิดผลได้สุทธิต่อประเทศโดยประมาณเท่ากับ 1,096.67 และ 1,669.16 บาท ตามลำดับ โดยในโรงแยกก๊าซธรรมชาติหน่วยที่ 1 และ 2 มีจำนวนเงินตราต่างประเทศที่หาได้สุทธิ (ผลิตเพื่อส่งออก) 76.69 และ 86.80 ดอลลาร์ต่อการผลิต 1 ตัน ซึ่งแต่ละดอลลาร์ที่หาได้สุทธิจะมีกำไรสุทธิ 14.30 และ 19.23 บาทตามลำดับ จากผลได้สุทธิที่เกิดขึ้นต่อประเทศของการผลิตก๊าซปิโตรเลียมเหลวจากโรงแยกก๊าซธรรมชาติหน่วยที่ 1 และ 2 ในปี 2538 เป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้มีการลงทุนขยายตลาดก๊าซปิโตรเลียมเหลวโดยการสร้างโรงแยกก๊าซธรรมชาติหน่วยที่ 3 และ 4 ขึ้น ประกอบกับความต้องการใช้ก๊าซปิโตรเลียมเหลวภายในประเทศขยายตัวขึ้น โดยเฉพาะในอุตสาหกรรมปิโตรเคมี ในโครงการพัฒนาชายฝั่งทะเลตะวันออก และหลังจากที่มีการเปิดดำเนินการของโรงแยกก๊าซธรรมชาติขนอม (หน่วยที่ 4) เมื่อ ต้นปี 2539 สภาพการแข่งขันในตลาดการค้าก๊าซปิโตรเลียมเหลวก็เริ่มเปลี่ยนแปลงในทางที่สูงขึ้น และมีความสอดคล้องกับ นโยบายของรัฐบาลที่จะมีการยกเลิกการควบคุมราคาก๊าซปิโตรเลียมเหลว เนื่องจากการผลิตก๊าซปิโตรเลียมเหลวมีผลได้สุทธิสูง-
dc.description.abstractalternativeThe mam objective of this study is to measure the comparative advantage of liquefied petroleum gas (LPG) production by using the domestic resource cost (DRC) and net social profitability (NSP) method. According to the analysis , the DRC values of LPG production from the Gas Separation Plant Units 1 and 2 in 1995 were found to be 12.40 and 7.47 B/$, respectively. Comparison between DRC values and shadow exchange rate in the same year (26.70 B/$) shows that DRC values from both gas separation plants had a lower magnitude than the shadow exchange rate and indicates that both gas separation plants had comparative advantage in their LPG production. As for NSP, one ton of LPG production from both gas separation plants in 1995 created net social benefit 1,096.67 baht for the Unit 1 and 1,669.16 baht for the Unit 2. The Gas Separation Plant Units 1 and 2 can earn net foreign exchanges of 76.69 and 86.80 ร per ton of LPG produced for export and for each dollar of net foreign exchange earned there were a net profit of 14.30 and 19.23 baht, respectively. Attractive NSP figures were one of reasons why more investment was made in the Construction of Gas Separation Plant Units 3 and 4 in response to a greater domestic demand for LPG and petrochemical feedstock , especially in the Eastern Seaboard Development Area. Since the Khanom Gas Separation Plant (Unit 4) was operational in January 1996 , LPG price has been deregulated and the competition in LPG market has increased in accordance with the profitability.-
dc.language.isothen_US
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.relation.urihttp://doi.org/10.14457/CU.the.1998.127-
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.subjectผลิตภัณฑ์ปิโตรเลียมen_US
dc.subjectปิโตรเลียม -- ต้นทุนและประสิทธิผลen_US
dc.subjectต้นทุนการผลิตen_US
dc.subjectPetroleum productsen_US
dc.subjectPetroleum -- Cost effectivenessen_US
dc.subjectCosten_US
dc.titleความได้เปรียบโดยเปรียบเทียบของการผลิตก๊าซปิโตรเลียมเหลว : การศึกษาต้นทุนทรัพยากรภายในประเทศen_US
dc.title.alternativeComparative advantage of liquefied petroleum gas production : a domestic resource cost studyen_US
dc.typeThesisen_US
dc.degree.nameเศรษฐศาสตรมหาบัณฑิตen_US
dc.degree.levelปริญญาโทen_US
dc.degree.disciplineเศรษฐศาสตร์en_US
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.email.advisorpongsa.p@chula.ac.th-
dc.identifier.DOI10.14457/CU.the.1998.127-
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Worawit_bo_front_p.pdfหน้าปก และบทคัดย่อ1.08 MBAdobe PDFView/Open
Worawit_bo_ch1_p.pdfบทที่ 11.36 MBAdobe PDFView/Open
Worawit_bo_ch2_p.pdfบทที่ 2963.83 kBAdobe PDFView/Open
Worawit_bo_ch3_p.pdfบทที่ 32.72 MBAdobe PDFView/Open
Worawit_bo_ch4_p.pdfบทที่ 41.3 MBAdobe PDFView/Open
Worawit_bo_ch5_p.pdfบทที่ 5717.82 kBAdobe PDFView/Open
Worawit_bo_back_p.pdfบรรณานุกรม และภาคผนวก2.66 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.