Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/72055
Full metadata record
DC Field | Value | Language |
---|---|---|
dc.contributor.advisor | วรรณศิลป์ พีรพันธุ์ | - |
dc.contributor.author | พรรณนิภา จ่างวิทยา | - |
dc.contributor.other | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย | - |
dc.date.accessioned | 2021-02-03T03:40:58Z | - |
dc.date.available | 2021-02-03T03:40:58Z | - |
dc.date.issued | 2540 | - |
dc.identifier.isbn | 9746390414 | - |
dc.identifier.uri | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/72055 | - |
dc.description | วิทยานิพนธ์ (ผ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2540 | en_US |
dc.description.abstract | การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาลักษณะการเดินทางทั่วไป ลักษณะการเดินทางด้วยจักรยาน และอิทธิพลของลักษณะทางกายภาพ เศรษฐกิจและสังคมที่มีต่อรูปแบบการเดินทางของประชาชนในพื้นที่ศึกษา และเพื่อเสนอโครงข่ายทางจักรยานและสิ่งอำนวยความสะดวกสำหรับจักรยานตลอดจนมาตรการที่สนับสนุนให้เกิดการเดินทางด้วยจักรยานในพื้นที่ศึกษา จากการศึกษาพบว่า แหล่งกำเนิดการเดินทางส่วนใหญ่อยู่ในตำบลพระปฐมเจดีย์ ซึ่งเป็นย่านชุมชนมีประชาชนอาศัยอยู่หนาแน่น และมีการใช้ที่ดินแบบผสม การเดินทางส่วนใหญ่เป็นการเดินทางระยะสั้น โดยประมาณ 72% เป็นการเดินทางระยะทางไม่เกิน 5 กิโลเมตร ส่วนใหญ่เป็นการเดินทางไปทำงาน รองลงมาคือไปเรียนหนังสือ ซื้อของและพักผ่อนหย่อนใจตามลำดับ รูปแบบการเดินทางที่นิยมคือ รถมอเตอร์ไซค์ และสำหรับกลุ่มที่มีรายได้สูงโดยเฉพาะกลุ่มผู้ประกอบธุรกิจส่วนตัวและข้าราชการจะนิยมใช้รถยนต์ ในขณะที่จักรยานใช้มากในกลุ่มนักเรียนนักศึกษาและกลุ่มผู้มีรายได้น้อย สำหรับการศึกษาลักษณะการเดินทางด้วยจักรยานพบว่า กลุ่มตัวอย่างประมาณ 20% ใช้จักรยานอย่างสม่ำเสมอหรือค่อนข้างสม่ำเสมอ วัยเด็กใช้จักรยานมากกว่าวัยผู้ใหญ่ และจักรยานใช้มากในกลุ่มผู้ไม่มีรายได้หรือมีรายได้น้อย ได้แก่ นักเรียนนักศึกษา กลุ่มรับจ้าง ลูกจ้าง แม่บ้านและข้าราชการระดับล่าง วัตถุประสงค์การขี่จักรยานส่วนใหญ่เป็นการขี่เพื่อออกกำลังกายหรือไปซื้อของ รองลงมาคือไปเรียนหนังสือ ส่วนใหญ่ขี่ในระยะทางไม่เกิน 3 กิโลเมตร ปริมาณการใช้จักรยานเกิดขึ้นมากในแนวตะวันออก-ตะวันตก เป็นการขี่ไปยังสวนสาธารณะ ตลาด โรงเรียนและมหาวิทยาลัย ปัญหาที่พบ ได้แก่ ปัญหาด้านความปลอดภัย สภาพแวดล้อม ได้แก่ แดดร้อน ฝุ่นละออง และการขาดแคลนสิ่งอำนวยความสะดวกสำหรับจักรยาน โครงข่ายทางจักรยานที่เสนอแนะวางตัวในแนวตะวันออก-ตะวันตก ซึ่งสอดคล้องกับการเดินทางของจักรยานในปัจจุบันและความต้องการในอนาคต โดยรองรับวัตถุประสงค์ในการขี่จักรยานเพื่อพักผ่อนหย่อนใจ ซื้อของและไปโรงเรียนเชื่อมระหว่างสวนสาธารณะ ตลาดและโรงเรียน โดยเสนอให้จัดทำทางจักรยานเฉพาะ (Bike lane) บนถนนราชดำเนินและถนนหน้าพระ และจัดทำทางจักรยานร่วม (Bike route) บนถนนราชดำเนินใน ถนนทิพากร ถนนพิพิธประสาท และถนนในองค์พระปฐมเจดีย์ ทั้งนี้โดยแบ่งการดำเนินงานเป็น 3 ระยะ คือ ระยะสั้น ได้แก่ การรณรงค์ประชาสัมพันธ์ จัดงานสัปดาห์จักรยาน และจัดทำโครงการนำร่องทดลองใช้เส้นทางจักรยานทางด้านตะวันตกของเมือง ได้แก่ ถนนราชดำเนินใน ถนนราชดำเนินและองค์พระปฐมเจดีย์ ระยะกลาง ขยายเส้นทางไปยังด้านตะวันออกของเมืองและบริเวณอื่น และระยะยาว ได้แก่ การประเมินผลทางจักรยาน การประสานการใช้จักรยานเข้ากับระบบขนส่งสาธารณะ และการสนับสนุนจากนโยบายทางด้านการคมนาคม ด้านผังเมืองและการท่องเที่ยว | en_US |
dc.description.abstractalternative | This thesis is aimed at studying general and bicycle trip characteristics; the influence of physical, economical, and social aspects on modal choice; as well as proposing a cycling network, bicycle facilities, and measures to promote bicycle use in the study area. According to the study origins are mostly located in Phra Pathomjedi Subdistrict, a high-density downtown area with mixed land use. The average trip length is rather short. Approximately 72% of the trips are less than 5 kilometers in length. The main purpose of the trips is for workig, following by going to school, shopping and relaxation. Motorcycle is the most popular mode of transportation. Car is preferable among the high income group, especially businessmen and government officials whereas bicycle is popular among students and low income groups. Regarding to bicycle trip characteristics, it is found that 20% of the people in the sampling group use bicycle frequently. Bicycle is popular among children, incomeless and low income groups—students, workers, employees and low positioned government officials. The major purpose of bicycle use is for exercising or shopping, following by going to school. Most of the trips are less than 3 kilometers in length, and in the east-west direction. Bicycle is used for traveling to parks markets, schools, and the university. Problems relating to the use of bicycle are unsafety, uncomfortable environment, and the lack of bicycle facilities. The proposed cycling network is aligned in the east-west direction to cope with the current trip demand and future needs. It is aimed at serving trips to recreation areas, shopping areas, and schools. Links between parks, markets, and schools are also established. Bike lanes are proposed along Rachadamnern and Na Phra Roads, while bike routes are proposed along Rachasamnern Nai, Tipakorn, Pipitprasa roads, and around Phra Pathomjedi Temple. These can be implemented in 3 phases. The first and short-term plan includes public relation activities, bicycle week promotion, and the implementation of a pilot bike lane project in the western part of the city along Rachadamnern Nai and Rachadamnern Roads, and around Phra Pathomjedi Temple. The second and intermediate-term plan includes the expansion of the bike lane to the eastern part of the city and other areas. The final and long-term plan includes the evaluation of the plan already implemented, the integration of bike lane into public transportation, and the implementation of support policies relating to transportation, city planning, and tourism. | en_US |
dc.language.iso | th | en_US |
dc.publisher | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en_US |
dc.rights | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en_US |
dc.subject | ทางจักรยาน | - |
dc.subject | การท่องเที่ยวทางจักรยาน | - |
dc.subject | Bicycle trails | - |
dc.subject | Bicycle touring | - |
dc.title | การพัฒนาโครงข่ายทางจักรยานในเทศบาลเมืองนครปฐม | en_US |
dc.title.alternative | Development of cycling network in Nakhon Pathom municipality | en_US |
dc.type | Thesis | en_US |
dc.degree.name | การวางแผนภาคและเมืองมหาบัณฑิต | en_US |
dc.degree.level | ปริญญาโท | en_US |
dc.degree.discipline | การวางผังเมือง | en_US |
dc.degree.grantor | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en_US |
Appears in Collections: | Grad - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Pannipa_ja_front_p.pdf | หน้าปก สารบัญและบทคัดย่อ | 902.96 kB | Adobe PDF | View/Open |
Pannipa_ja_ch1_p.pdf | บทที่ 1 | 417.01 kB | Adobe PDF | View/Open |
Pannipa_ja_ch2_p.pdf | บทที่ 2 | 1.85 MB | Adobe PDF | View/Open |
Pannipa_ja_ch3_p.pdf | บทที่ 3 | 4.83 MB | Adobe PDF | View/Open |
Pannipa_ja_ch4_p.pdf | บทที่ 4 | 3.41 MB | Adobe PDF | View/Open |
Pannipa_ja_ch5_p.pdf | บทที่ 5 | 1.8 MB | Adobe PDF | View/Open |
Pannipa_ja_ch6_p.pdf | บทที่ 6 | 2.02 MB | Adobe PDF | View/Open |
Pannipa_ja_back_p.pdf | บรรณานุกรมและภาคผนวก | 1.61 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.