Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/7210
Title: | พัฒนาการของแนวคิดในการสร้างสรรค์มิวสิควีดิโอเพลงไทยสากล |
Other Titles: | The development of concept in the creation of Thai popular music video |
Authors: | วัลลภา อัญชลิสังกาศ |
Advisors: | สุภาพร โพธิ์แก้ว จุมพล ทองตัน |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะนิเทศศาสตร์ |
Advisor's Email: | Supaporn.Ph@chula.ac.th ไม่มีข้อมูล |
Subjects: | มิวสิกวีดีโอ -- การผลิตและการกำกับรายการ เพลงไทยสากล |
Issue Date: | 2548 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์พัฒนาการของแนวคิดในการสร้างสรรค์มิวสิควีดิโอเพลงไทย สากลและวิเคราะห์ถึงปัจจัยที่มีส่วนเกี่ยวกับพัฒนาการดังกล่าว โดยใช้กรอบแนวคิดเรื่องการสื่อความหมาย และสุนทรียะทางดนตรี แนวคิดของดนตรีในฐานะที่เป็นส่วนหนึ่งของยุคสมัย แนวคิดของธุรกิจและ อุตสาหกรรมเพลง และแนวคิดการสื่อสารการตลาด การวิจัยเชิงคุณภาพนี้ใช้การสัมภาษณ์ใช้การสัมภาษณ์ เจาะลึกกลุ่มผู้สร้างสรรค์มิวสิควีดิโอเพลงไทยสากล และศึกษาผลงานมิวสิควีดิโอตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน ผลการวิจัยพบว่า พัฒนาการของแนวคิดในการสร้างสรรค์มิวสิควีดิโอเพลงไทยสากลเป็นส่วนหนึ่งของ พัฒนาการทางธุรกิจอุตสาหกรรมเพลงไทยสากล โดยทิศทางของธุรกิจเพลงไทยสากล บทเพลงและ แนวดนตรี เทคโนโลยีการผลิตและการตัดต่อวีดิโอ และวิถึชีวิตของแต่ละยุคสมัย เป็นปัจจัยที่ส่งผลต่อ พัฒนาการของมิวสิควีดิโอในหลายๆ ด้าน ไม่ว่าจะเป็นด้านรูปแบบการนำเสนอ กระบวนการทำงาน และบทบาทหน้าที่ ซึ่งสามารถสรุปพัฒนาการของแนวคิดในการสร้างสรรค์ได้ 4 ยุคคือ 1) ยุคเริ่มแรก (พ.ศ. 2534-2538) แนวคิดสำคัญคือ เพลงเป็นเพียงแรงบันดาลใจให้เกิดการสร้างสรรค์มิวสิควีดิโอเป็น เรื่องราวแบบภาพยนตร์สร้างสรรค์ 2) ยุคเน้นภาพลักษณ์นักร้อง (พ.ศ. 2534-2538) แนวคิดสำคัญ คือ มุ่งสื่อสารอารมณ์ของเพลงโดยผ่านภาพลักษณ์ และการแสดงออกของศิลปินนักร้อง ตลอดจนจังหวะ การตัดต่อภาพให้กลมกลืนกับท่วงทำนองของเพลง 3) ยุคไร้รูปแบบ (พ.ศ. 2539-2543) แนวคิดสำคัญคือ ต้องการปลดปล่อยตนเองออกจากกระแสแนวเพลงยอดนิยม โดยสร้างสรรค์มิวสิควีดิโอ ที่เน้นความแปลก ของภาพ มุมกล้อง และเทคนิคพิเศษ 4) ยุคผสมผสาน (พ.ศ. 2544- ปัจจุบัน) แนวคิดสำคัญคือ ศิลปะการ ผสมผสานวิธีการนำเสนอของทั้ง 3 ยุค ข้างต้นให้ลงตัว และให้ครอบคลุมกลุ่มผู้ฟังให้กว้างขวางมากขึ้น พัฒนาการของมิวสิควีดิโอเพลงไทยสากลนั้น มิได้เป็นพัฒนาการที่เมื่อเกิดรูปแบบใหม่ขึ้นมาแล้ว รูปแบบเก่าที่มีมาจะหายไป เพราะพัฒนาการที่เห็นนั้นเป็นการปรับตัว การขยายตัว แต่มิได้เกิดการแทนที่ แต่อย่างใด นอกจากนี้ยังพบว่านอกจากบทบาทหน้าที่ส่งเสริมการขายเพลงมิวสิควีดิโอเพลงไทยสากล ยังได้เพิ่มบทบาทในการเป็นสื่อบันเทิงชนิดใหม่ โดยสื่อบันเทิงชนิดใหม่นี้ที่ให้ความบันเทิงกับผู้ชม เกิดกลุ่มผู้ชมที่ได้รับอิทธิพลต่อพฤติกรรมการเสพศิลปะดนตรีจากการฟังเพลงมาสู่การดูเพลง ซึ่งภาพจากมิวสิควีดิโอได้สร้างความเพลิดเพลินให้กับผู้ชมแตกต่างกันในแต่ละยุค |
Other Abstract: | The purpose of this research aims to analyze the development of concept in the creation of Thai popular music video and to analyze factors that related to this development. The studied framework bases on the integration of various approaches including Communication and Aesthetics in Music, Music as History of Social and Cultural Development, Music Industry and Marketing Communication. This qualitative research utilizes the method of in-depth interview the group of key informants and presentation analysis of music video from past to present. The results of the study are that the development of concept in the creation of Thai popular music video is the part of the development of Thai popular music industry. The related factors to this development are Thai popular music business, style of song and music, technology of video production and editing and the changing of lifestyle. The development of concept in the creation of Thai popular music video which includes form of the presentation, process of production and role and function can be divided into 4 periods: 1) The beginning period (1984-1990), the important concept: song originately inspires to the creative that affected to from of music video as a short story. 2) Focusing on singers image period (1991-1995), the important concept: to communicate emotion of song by present singers image and performance within harmonious edition of video shots and rhythm. 3) Unconventional period (1996-2000), the important concept: to escape from conventional pop music mainstream so the creation employs many special visual techniques to present the new impossible perspective vision that unfamiliar to human seeing. 4) Technique integration period (2001-present), the important concept: to integrate techniques used in the creation of these 3 former to cover the diversity of the target groups. However, the new concept of creation does not completely replace the former concepts. In other words, the creation of presentational form overlaps from time to time. The way of this development proceeds to adapt and expand their form suited to each period. In addition, the role and function of Thai popular music video which is initately promotional media is extended to be an Entertainment Media. Consequently, music video, now, comes to be the new entertainment media that are appreciated by audiences viewing. |
Description: | วิทยานิพนธ์ (นศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2548 |
Degree Name: | นิเทศศาสตรมหาบัณฑิต |
Degree Level: | ปริญญาโท |
Degree Discipline: | การสื่อสารมวลชน |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/7210 |
URI: | http://doi.org/10.14457/CU.the.2005.696 |
ISBN: | 9741432674 |
metadata.dc.identifier.DOI: | 10.14457/CU.the.2005.696 |
Type: | Thesis |
Appears in Collections: | Comm - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
wanlapa.pdf | 3.48 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.